ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 190" " ควรมีใครสักคน" - ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการผ่าตัด
ตะพาบประจำหลักกิโลเมตรที่ 190" " ควรมีใครสักคน" "การตัดสินใจเกี่ยวกับการผ่าตัด"
"ควรมีใครสักคน......" โจทย์โดยคุณต่อ(toor 36)
"ควรมีใครสักคน" สุภาษิตที่ว่าคนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย... ก็ยังใช้ได้จนปัจจุบันแน่นอน บางคนชอบอยู่คนเดียว ทำอะไรคนเดียว เรียกว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนเต็มร้อย แต่พออายุมากๆ การจะอยู่คนเดียว ทำอะไรคนเดียวก็จะทำได้อยู่ระยะหนี่ง ถ้าสุขภาพดีก็ไม่มีปัญหา แต่พออายุเข้าสว. ปัญหาสุขภาพ ก็ตามมาทั้งทางสุขภาพทั่วไป ทุกอย่างทรุดโทรม ความจำก็จะเลอะเลือน ถ้าอยู่คนเดียวไม่มีใครเลย ก็จะลำบากเหมือนกัน ไปไหนก็ไม่สะดวกแม้แต่เรื่องหาอาหารประจำวัน แถมบางที่จะถูกทำร้ายหรือถูกหลอกด้วย เพราะคนร้าย เห็นอยู่คนเดียว เป็นโอกาสอย่างดี คนเมืองไทยระยะนี้ก็ยังดีอยู่กับลูกหลาน แต่ก็เริ่ม จะอยู่เองกันบ้างแล้วเหมือนกัน ยังไงๆการมีใครสักคนที่สนิทไว้ใจได้ก็เป็นการดีแน่นอน
วันนี้ขอพูดเรื่องสุขภาพ การตัดสินใจเลือกวิธีรักษาโรคต่างๆที่เกิดขี้น ตามที่แพทย์แนะนำบางท่านก็คิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัวไม่อยากให้ใครรู้เรื่อง เจ็บป่วยของตัว คิดเอง ตัดสินใจเอง ไม่มีใครปรีกษาหรือไม่อยากปรีกษาใคร บางทีก็เป็นการตัดสินใจที่ไม่ใช่ดีที่สุดก็ได้ และจิตใจก็ทุกข์คนเดียว การเจ็บ ป่วยก็จะหายยาก เพราะจิตใจทุกข์ ไม่มีเพื่อนที่จะไว้ใจระบายความทุกข์ให้ฟัง
คนที่อเมริกาส่วนมาก จะพูดกันว่าว่าเวลาไปหาหมอควรมีเพื่อนไปด้วย เราจะได้ช่วยกันซักถามต่างๆ และยังแนะนำว่าเราควรจดคำถามต่างๆ ที่อยากถามไว้ด้วย เวลาไปหาหมอจะได้ไม่ลืมเดี่ยว เพราะบางทีกลับมาบ้าน แล้วก็เสียดายว่าไมได้ถามเรื่องนั้นเรื่องนี้
สำหรบการผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน บางอย่างที่เป็นเรื่องที่ผลออกมาอาจจะอันตราย ควรปรีกษาแพทย์คนอื่นอีกด้วย เรียกว่า Second Opion ซี่งบริษัทประกันสุขภาพก็สนับสนุนให้คนไข้ทำ เพื่อจะได้เป็นการแน่นอนว่าการผ่าตัดที่แพทย์แนะนำ จำเป็นจริงๆ การผ่าตัดใหญ่ๆเช่นผ่าตัดสันหลัง ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดเข่า .... การผ่าตัดแต่ละอย่าง ไม่ใช่ว่าผ่าตัดแล้วจะหายเลย เช่นการผ่าตัดหลัง หลังผ่าตัดก็ต้องทำกายบำบัด และต้อง รู้ด้วยว่าผลเสียจากการผ่าตัดเป็นอย่างไร อาจจะดีขี้นหรือเลวลง และผลที่ได้ดีกว่าเสีย กี่เปอร์เซ็นต์
ถ้าไปคุยกับแพทย์โดยไม่มีใครไปด้วย แพทย์บอกอะไรก็รับไปเรื่อยๆ พอกลับมาบ้าน ก็กลุ้มใจว่า เอ ทำดีไหม ทำแเล้วเป็นไง คิดไปสารพัด และก็เสียดายว่าอ้าวไม่ได้ถามแล้ว ก็ตกลงจะทำผ่าตัดไปแล้ว...
ฉนั้นการมีเพื่อนไปเป็นการดีเป็นทั้งกำลังใจและที่ปรีกษา ช่วยซักถามแพทย์และยังช่วยจำ ได้ด้วยว่าเวลาแพทย์อธิบาย ตอนนั้นกำลังกังวลก็ฟังๆไป จำได้บ้างจำไม่ได้บ้าง และยิ่งตัดสินใจว่าตกลงทำผ่าตัดแล้ว ก็ควรมีเพื่อนไปส่งและรอด้วย อย่างน้อยก็เป็น กำลังใจอีกด้วย
วันนี้จขบ.(เจ้าของบล็อก)ได้มีโอกาสไปเป็นเพื่อน เพื่อนทำผ่าตัด ฃหลังจากที่ผ่านการปรีกษาแพทย์และฟังแพทย์อธิบายจนเข้าใจและพร้อมที่จะทำการผ่าตัด การมีเพื่อนไปวันที่ทำผ่าตัดเป็นกำลังใจที่สำคัญมากทีเดียว จขบ.ไปเป็นเพื่อนเพื่อนก่อนเข้าห้องผ่าตัดจนออกจากห้องผ่าตัดและแวะไปเยี่ยมเพื่อนทุกวันจน เพื่อนกลับบ้านปลอดภัยและพักฟื้นอย่างดี
วันผ่าตัดจขบ.ไปกับเพื่อนอีกสองคน เป็นกำลังใจกันอย่างเต็มที่

เพื่อนมีปัญหาทางระบบลำไส้ ( เป็นกฎของที่นี่ เรื่องสุขภาพ เป็นความลับส่วนบุคคล) หลังจากที่ลุ้นว่าไม่อยากทำผ่าตัดมาสองสามอาทิตย์ คุณหมอพยายามดูอาการ จาก CT scan หลายครั้ง สรุปผลจากการตรวจหลายครั้ง คุณหมอบอกว่าต้องทำผ่าตัด
***การตรวจ CT scan (Computerized Tomography) หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจหาความผิดปกติอวัยวะต่างๆ ในร่างกายด้วยลำแสงเอกซ์ โดยฉายลำแสงเอกซ์ผ่านอวัยวะที่ต้องการตรวจในแนวตัดขวาง และให้คอมพิวเตอร์สร้างภาพ ภาพที่ได้จึงเป็นภาพตัดขวาง ส่วนที่ต้องการตรวจอย่างละเอียด

จขบ.กราบขอพรพระก่อนออกจากบ้าน ขอให้เพื่อนผ่านการผ่าตัดปลอดภัย ถ่ายรูปไว้ให้เพื่อนดูที่รพ.ด้วย ไปถึงรพ.ก็บอกเพื่อนว่าไหว้พระให้แล้ว เพื่อนดูรูปและไหว้พระด้วย เพื่อนก็ไหว้พระด้วย (เพื่อนมาอยู่รพ.ก่อน หนี่งคืน) เพื่อนกังวลถึงการผ่าตัดอย่างหนี่งคือกลัวจะเป็นมะเร็งลำไส้ (คุณหมอไม่ได้บอกว่าเป็น แต่ก็กลัวอยู่ดี ) และกลัวต้องที่ต้องทำผ่าตัดcolostomy (โคลอสโตมี หมายถึง การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ออกมา เปิดทางหน้าท้องเพื่อเป็นทางออกของอุจจาระ โดยมีรูเปิดบริเวณหน้าท้องเรียกว่า stoma)
คุณหมออธิบายวันก่อนผ่าตัดว่า อาจจะต้องทำผ่าตัดและอาจจะต้องทำ โคลอสโตมีภายใต้การการดมยาแบบ Epidural Anesthesia ( Anesthesia, Epidural ความหมายคือ ระงับความรู้สึกทางไขสันหลังชั้นนอก) และต้องอยู่ห้อง SICU ( ห้องไอ ซี ยู สำหรับคนหลังผ่าตัด) ก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากทีเดียวถ้าไม่มีเพื่อนให้กำลังใจบ้าง ก็คงทุกข์ไม่น้อยที่เดียว
จขบ.ทำงานที่รพ.นี้ก่อนเกษียณ แต่ทำแผนกห้องคลอด วันนี้ไปเป็นเพื่อน เพื่อนก็ยังได้พบกับคนที่รู้จักอยู่บ้าง โดยเฉพาะคุณหมอดมยา ที่จะมาดูแลเพื่อน คุณหมอจำ จขบ.ได้ด้วย และทักทายกันอย่างสนิทสนม ทำให้เพื่อนและเราอุ่นใจมากขี้น
จขบ.ไปถึงห้องที่เพื่อนอยู่ประมาณ 8.30 น บอกเพื่อนว่าไหว้พระที่บ้านและขอให้ท่านคุ้มครองให้เพื่อนปลอดภัย มีเพื่อนสนิทของเพื่อนอีกสองคน เป็นเพื่อนที่ทำงานพยาบาลด้วยกัน เรานั่งคุยกับเพื่อนไปเรื่อยๆเผื่อเพื่อนจะได้ไม่กังวล
ประมาณ 9.30 น. พยาบาลมาบอกว่าทางห้องผ่าตัดมารับแล้ว เราเก็บของทุกอย่างออกหมด ย้ายออกจากห้องนี้เลย
เราสามคน เดินตามไปกับเพื่อนนอนไปกับเตียงเข็น(stretcher) ไปห้องก่อนเข้าห้องผ่าตัดเพื่อนเริ่มกลัว(เป็นเราก็กลัว) เราก็พลอยใจไม่ดีไปด้วยบอกเพื่อนว่าทำใจสบายๆ สวดมนต์ไปเรื่อยๆจะได้ไม่คิดมาก
ห้องเตรียมก่อนเข้าห้องผ่าตัด พยาบาลมาแนะนำตัวว่าเป็นพยาบาลที่จะดูแล คุณหมอดมยา เคยทำงานด้วยกันกับจขบ. ทักทายกันอย่างดี และแนะนำตัวกับเพื่อน ซักประวัติสำคัญๆ ว่าแพ้ยาอะไรไหม ถามว่า เพื่อนเข้าใจและยอมรับ การผ่าตัดครั้งนี้แล้วใช่ไหม คุณหมออธิบายถึงการให้ยาทางน้ำเกลือ จะให้ยาชาทางสายที่ใส่ไว้ข้างหลัง เรียก Epidural และจะให้ยาแก้ปวดทางนี้ด้วย ,จะมีน้ำเกลือ ,มีสายปัสสาวะ มีสายสำหรับอ่านคลื่นหัวใจ EKG หลังผ่าตัดจะอยู่ห้อง ไอ ซี ยู ตามคุณหมอ ที่ผ่าตัดบอก ให้โอกาสเพื่อนถามคำถามที่ข้องใจ จนเป็นที่พอใจ แล้วก็ให้เพื่อนเซ็นต์ใบอนุญาติให้คุณหมอเป็นหมอ ดมยาในการผ่าตัดครั้งนี้
คุณหมอที่ทำผ่าตัด มาข้างเตียง อธิบายถึงการผ่าตัดอีกครั้งและบอกว่า ใช้เวลาประมาณสองชั่วโมง ให้ถามข้อสงสัยต่างๆ และเซ็นต์ใบอนุญาติให้คุณหมอทำผ่าตัด คุณหมอให้ความมั่นใจว่าจะดูแลคนไข้อย่างดีที่สุด เราและเพื่อนรออยู่อีกที่หนี่ง ขณะที่คุณหมอดมยาทำ Epidural เตรียมเข้าห้องผ่าตัด เสร็จเรียบร้อย ได้เวลาจะเข้าห้องผ่าตัด พยาบาลที่ห้องผ่าตัดมาแนะนำต้วว่าจะเป็นพยาบาลในห้องผ่าตัด เราเริ่มใจไม่ดี น้ำตาคลอกันทุกคน คุณพยาบาลก็พลอยน้ำตาคลอได้ด้วย บอกพวกเราว่าไม่ต้องกังวลจะดูแลเพื่อนให้ดีที่สุด ฟังแล้วเรารู้สีกสบายใจ
คุณหมอพยาบาลและบุคคลากรทุกท่าน ยิ้มแย้มต้อนรับอย่างอบอุ่น ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นสบายใจ คลายความกังวล เพื่อนเข้าห้องผ่าตัด พยาบาลอีกท่านพาเราไปรอ ห้องสำหรับญาติรอคนไข้ขณะที่อยู่ห้องผ่าตัด (Surgical Waiting Room) หลังผ่าตัดคุณหมอจะมาพบญาติ อธิบายถึงอาการคนไข้และผลการผ่าตัดให้ญาติรับทราบ
บรรยากาศที่เรารอเพื่อนขณะที่เข้าห้องผ่าตัด และออกจากห้องผ่าตัดกันค่ะ

เพื่อนเข้าห้องผ่าตัด เราสามคนรอที่ห้องรอคนไข้เข้าห้องผ่าตัด ที่โต้ะมีผู้ต้อนรับ(ส่วนมากเป็นจิตอาสาที่เคยทำงานรพ.และมา เป็นจิตอาสา) จะจดชื่อคนไข้ลงสมุดบันทึก และให้เบอร์เคส (case number ) ให้เราจำไว้จะได้เห็นที่บอร์ด จะไม่เขียนชื่อคนไข้บนบอร์ด และอธิบายให้ดู case number ที่บอร์ด จะได้รู้ว่าขณะนี้คนไข้ กำลังอยู่ที่ไหน
นับว่าเป็นการดีมาก เราจะได้ไม่ต้องกังวลว่าเอ ทำไมเข้าห้องผ่าตัด ตั้งนานยังไม่ออกมาสักที และก็จะไปคอยถามคนที่โต๊ะ คราวนี้เราดูได้ที่บอร์ดเลย เป็นพัฒนาการใหม่ที่เพิ่มขี้น เพื่อความสะดวกสำหรับญาติด้วย ช่วยคลายกังวล

บอร์ดจะขี้นให้เห็นว่า case number แต่ละ caseกำลังอยู่ที่ไหน และมีชื่อหมอผู้ทำผ่าตัดให้เห็น ขณะนี้ เพื่อนเราอยู่ Pre - Op - ห้องรอเข้าห้องผ่าตัด

Pre Op ยังรอเข้าห้องผ่าตัด ดูจากเลข case และชื่อคุณหมอที่ทำผ่าตัด Intra Op ( Operation room) อยู่ห้องผ่าตัด PACU (Recovery Room) SASU (Same day Sergery)

เรานั่งรอเกือบครี่งช้่วโมงจึงเห็น case number เพื่อนเรากำลังอยู่ห้องผ่าตัด การเข้าในห้องผ่าตัด สมัยก่อนไม่มีบอร์ดให้เราดู เราคิดว่าเข้าไปข้างในแล้ว ก็เข้าห้องผ่าตัดเลย ทำให้กังวลว่าทำไมเข้าห้องผ่าตัดตั้งนานยังไม่เสร็จอีก ที่จริงคนไข้ต้องเข้าไปรอที่ห้องผ่าตัด เพื่อเตรียมพร้อมก่อน บางทีก็รอนาน กว่าจะเข้าห้องผ่าตัด เพราะอาจจะมีเคสฉุกเฉินมา ก็ทำให้เคสเราช้าลงได้

ห้องสำหรับให้คนไปสวดมนต์ด้วย พอเพื่อนเข้าห้องผ่าตัด เราสามคนคิดว่าต้องรออีกตั้งนาน เราไปขอพรให้เพื่อน แล้วไปทานอาหารที่ห้องอาหารของรพ. เสร็จแล้วกลับมารอที่ห้องเดิม มี TV ให้ดู หนังสือต่างๆให้อ่าน

*********
เรารอไม่นาน รวมเวลาผ่าตัดประมาณหนี่งชั่วโมง ยี่สิบนาที่ คุณหมอออกมาบอกว่าการผ่าตัดผ่านไปด้วยดี เพื่อนไม่เสียเลือดมากจากการผ่าตัดและข่าวดีที่สุดไม่ต้องทำ Colostomy เราสามคนดีใจกันมาก คุณหมอบอกว่าตอนนี้เพื่อนอยู่ห้องไอซียูแล้ว เดี่ยวพยาบาลดูให้เพื่อนเข้าที่เรียบร้อย จะมาพาเราไปเยียมเพื่อน

พยาบาลมาพาเราสามคนไปเยี่ยมเพื่อน เพื่อนนอนหลับๆตื่นๆ ถามว่าหมอทำ Colostomy เปล่า เราบอกว่าไม่ได้ทำ และการผ่าตัดผ่านไปอย่างดี เสร็จเร็วใช้เวลา แค่ชั่วโมงกว่าๆเอง เพื่อนดีใจมากยิ้มด้วยน้ำตา เรานั่งข้างๆเตียง ให้บอกให้เพื่อนพักผ่อน ไม่ต้องกังวลอะไรแล้ว พยาบาลแนะนำตัวว่าเป็นพยาบาลดูแลเพื่อน เล่าถึงอาการของเพื่อน ว่าการผ่าตัดเรียบร้อย ไม่เสียเลือดมาก ตอนนี้ให้ยาแก้ปวด ให้น้ำเกลือ มีสายปัสสาวะ มีสาย Epidural สำหรับให้ยาแก้ปวดทางเครื่อง Pump ซี่งตั้งไว้ตามคุณหมอดมยากำหนดไว้ การให้ยาทางเครื่อง Pump เป็นการควบคุมให้ยาได้ตามที่คุณหมอสั่ง
คุณหมอดมยาแวะมาเยี่ยมถามถึงอาการเจ็บแผลว่าเป็นอย่างไรบ้าง มาดูว่ายาที่ให้พอสำหรับคนไข้ไหม คนไข้แพ้ยาหรือเปล่า

เครื่องปั้มสีฟ้าใหญ่ต่อด้วยท่อสีขาวใหญ่ๆ ต่อไปที่ผ้าห่มพลาสติก เป่าลมอุ่นห่มคนไข้ต่อจากผ้าห่มและมีผ้าห่มอีกหนี่ง หรือสองผืนวางข้างบน เพื่อให้ความอุ่นแต่คนไข้ ตั้งอุณหภูมิให้อุ่นเป่าลมไปที่ผ้าห่มพาสติก พอคนไข้อุ่นพอแล้วก็ดับเครื่องหรือ ลดอุณหภูมิลง
เครื่องสีฟ้าเล็กเป็นเครื่องปั้มสำหรับต่อกับที่หุ้มข้อเท้าถึงเข่า จะเป็นเครื่องปั้มผ้าที่หุ้มแน่นและปล่อยออก เป็นการกระตุ้นให้เลือดเดิน
ขณะที่คนไข้อยู่บนเตียงไม่ได้เดิน มีเครื่องนี้ให้การเดินของเลือด เพราะเครื่องจะปั้มบีบให้แน่นไม่มากและก็คลายออก เป็นจังหวะ อัตโนมัติ คนไข้จะมีเครื่องนี้จนคนไข้ออกจากเตียงเริ่มเดินได้

ผนังทางปลายเท้าเคนไข้ มีนาฬิกา TV และเครี่องคอมพิวเตอร์สำหรับให้พยาบาล เขียนบันทึกการพยาบาล การให้ยา และสิ่งต่างๆสำหรับคนไข้
 ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้งาน ก็จะมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพสลับกันขี้นมาให้คนไข้และญาติอ่าน เปลี่ยนไปเรื่อยๆ


บอร์ดสีฟ้าเล็กๆ จะเขียนย่อๆให้พยาบาล คุณหมอเข้ามาจะได้ รู้เรื่องเกี่ยวกับคนไข้ย่อๆ ชื่อพยาบาล และผู้ช่วยพยาบาลของคนไข้ คนไข้ทานอาหารหรือ ห้ามทานอาหาร คนไข้ออกจากเตียงได้หรือยัง?
วันที่สองเราไปเยี่ยมเพื่อน(คนไข้) ที่ห้องไอซี ยู เพื่อนดูดีขี้นมากหน้าตาสดใส่ ตอนเช้าพยาบาลเช็ดตัว และช่วยคนไข้ลุกมานั่งเก้าอี้ คุณหมอที่ทำผ่าตัดแวะมาเยี่ยมและอธิบายถึงการผ่าตัด เช็คคนไข้ และบอกว่าจะให้ยาแก้ปวดทาง Epidural อีกหนี่งวัน คนไข้ต้องอยู่ ไอ ซี ยู อีกหนี่งวัน เราดีใจกันมาก เพราะที่นี่ไม่อนุญาติให้อยู่กับคนไข้ ญาติสามารถโทรศัพท์มาถามอาการคนไข้ได้ตลอดเวลา แต่เฉพาะญาติที่คนไข้อนุญาติ ให้รับรู้เรื่องการป่วยของคนไข้เท่านั้น
เพื่อนอยู่ไอ ซี่ ยู สามวัน ตอนบ่ายวันที่สาม ย้ายไปเข้าห้องคนไข้แผนกศัลยกรรมหนี่งคืน เช้าวันรุ่งขี้น หมอให้กลับบ้านได้ เพื่อนไปพักผ่อนต่อที่บ้าน อาการทั่วไปดีขี้นมาก ระยะนี้ คุณหมอให้ทานอาหารอ่อนๆ และ นัดไปพบหมออีกสามวัน ที่คลีนิคอีกครั้ง
สรุปประสบการณ์ การผ่าตัดของเพื่อนครั้งนี้ เพื่อนสองคน ขื่นชมและพอใจกับการรักษาพยาบาลของคนไข้ บอกว่าทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใสดูแลคนไข้ด้วยความเมตตากรุณา และทำด้วยความเต็มใจ และคุณหมอเมตตาน่ารักมา อธิบายทุกอย่างไม่รีบเร่ง เปิดโอกาสถามข้อสงสัยต่างๆด้วย
ระยะนี้เพื่อนหายเกือบปกติแล้ว การผ่าตัดได้ผลดี ไม่เป็นมะเร็งและไม่ต้องผ่าตัดโครอสโตมี เพื่อนดีใจมากๆ


สาขา Klaibann Blog
ขอขอบคุณ ภาพจากอินเทอร์เนต
newyorknurse 
Create Date : 19 ตุลาคม 2560 |
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2560 3:07:28 น. |
|
24 comments
|
Counter : 2136 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณข้ามขอบฟ้า, คุณSweet_pills, คุณmambymam, คุณกะว่าก๋า, คุณโอพีย์, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณTurtle Came to See Me, คุณหงต้าหยา, คุณtuk-tuk@korat, คุณดาวริมทะเล, คุณJinnyTent, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณเริงฤดีนะ, คุณhaiku, คุณKavanich96, คุณThe Kop Civil, คุณเกศสุริยง, คุณALDI, คุณInsignia_Museum, คุณRinsa Yoyolive |
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2560 เวลา:5:58:34 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 4 พฤศจิกายน 2560 เวลา:8:50:07 น. |
|
|
|
โดย: mambymam วันที่: 4 พฤศจิกายน 2560 เวลา:9:18:25 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2560 เวลา:9:47:38 น. |
|
|
|
โดย: เมษาโชดดี วันที่: 4 พฤศจิกายน 2560 เวลา:10:22:20 น. |
|
|
|
โดย: หมุยจุ๋ย วันที่: 5 พฤศจิกายน 2560 เวลา:5:57:41 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 5 พฤศจิกายน 2560 เวลา:6:38:13 น. |
|
|
|
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 5 พฤศจิกายน 2560 เวลา:14:45:24 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 5 พฤศจิกายน 2560 เวลา:19:28:17 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 5 พฤศจิกายน 2560 เวลา:20:47:04 น. |
|
|
|
โดย: Kavanich96 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา:4:45:08 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา:6:39:54 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา:10:06:31 น. |
|
|
|
โดย: JinnyTent วันที่: 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา:11:18:25 น. |
|
|
|
โดย: ALDI วันที่: 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา:19:06:21 น. |
|
|
|
โดย: kae+aoe วันที่: 7 พฤศจิกายน 2560 เวลา:8:44:01 น. |
|
|
|
|
|
|
|
ก็จริงนะคะ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนถ้ายังอายุน้อยและสุขภาพแข็งแรง
แต่พออายุมากขึ้น และยิ่งสุขภาพไม่ดีด้วย
อะไรหลายอย่างก็ตามมา มีใครสักคนอยู่เป็นเพื่อนจะได้ช่วยกันปรึกษาเวลามีปัญหา
newyorknurse Klaibann Blog