happy memories
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
21 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 

ชิโน-โปรตุกี-สีแบบตรัง





ชื่อภาพ : หัวกบและอาคารแบบชิโนโปรตุกี สีเยลโล่กรีน

สถานที่ : อ.เมือง จ.ตรัง

เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ

ขนาด : ๒๘ x ๓๘ เซนติเมตร



ชิโน-โปรตุกี-สีแบบตรัง



โปรตุเกสครองเมืองมะละกา

ศิลปะวิทยาตามมาด้วย

โปรตุกีส-สถาปัตยกรรม อำนวย

แบบบ้านสวยช่างปีนังข้ามฝั่งไทย

เกิดแบบอย่าง ‘ชิโน-โปรตุกีส’

จารีตจีนช่างผสมนิยมสมัย

สู่ภูเก็ต ตะกั่วป่า พังงาไก
ล
ระนอง-ตรังหลั่งไหลสายสัมพันธ์


Sino หมายถึงจีน (ไชนิส) ส่วน Portuguese ก็หมายถึง ‘โปรตุเกส’ เจ้าอาณานิคม ที่มาครอบครองคาบสมุทรมลายู ดินแดนแห่งเครื่องเทศดีบุกและยางพารา

ชาวโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและทำการค้าบริเวณเมืองท่ามะละกา ช่องแคบสำคัญ-ที่เป็นทางผ่าน ด่านสินค้า เมืองท่าใหญ่ ที่ เรือพ่อค้าวานิชต้องมาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า และได้นำเอาศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนวิทยาการตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ ได้สร้างบ้านแปลงเมืองตามแบบบ้านเกิดเมืองนอนของตน แผ่อิทธิพลไปถึงชาวพื้นเมือง


ช่างชาวจีนมลายูได้นำผังการก่อสร้างไปดำเนินการ แต่ลักษณะของสถาปัตยกรรมได้เพี้ยนไปจากเดิม มีการผสมผสานคตินิยมแบบจีนลงไปด้วยเกิดเป็นเอกลักษณ์สามเชื้อชาติ อันได้แก่โปรตุเกสจีน และมาเลย์ในแหลมมลายู ที่เรียกว่า แบบชิโนโปรตุกีส

ต่อมาอังกฤษและดัตช์เข้ามามีอิทธิพลในแหลมมลายู (ทำสงครามชิงมะละกา ผลัดกันครอบครอง) มีการผสมผสานศิลปะของตนเข้าไปในยุคหลังด้วยก็ตามก็ยังเรียกรวมกันว่า ชิโน-โปรตุเกส

บางท่านก็เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบเจ้าอาณานิคม หรือ แบบโคโลเนียล (Colonial Style) ถ้าเป็นอาคารสองชั้นกึ่งร้านค้ากึ่งที่อยู่อาศัย (shop-house or semi-residential) จะมีด้านหน้าอาคารที่ชั้นล่างมีช่องโค้ง (arch)ต่อเนื่องกันเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เกิดการเดินเท้า ที่ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า อาเขต (arcade) หรือที่ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า หง่อคาขี่ ซึ่งมีความหมายว่า ทางเดินกว้างห้าฟุต ในภาษามาลายูแปลว่าทางเดินเท้า (กากี่แปลว่าเท้า)

นอกจาก ‘หง่อคาขี่’ แล้ว อาคารแบบโคโลเนียลมีการนำลวดลายศิลปะตะวันตกแบบกรีกและโรมันยุคคลาสสิกเข้ามาด้วยเช่น หน้าต่างวงโค้งเกือกม้า หรือหัวเสาแบบโยนิก หรือไอโอนิก(แบบม้วนก้นหอย) และคอรินเทียน(มีใบไม้ขนาดใหญ่ประดับ) เป็นต้น ซึ่งนักวิชาการบางท่านเรียกสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่า ‘นีโอคลาสสิก’

สิ่งที่ผสมผสานศิลปะจีนคือ สี (สีจะจัดจ้านมาก แดง เหลือง ทองและเขียวสด)และลวดลายการตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นภาพประติมากรรมนูนต่ำหรือนูนสูง ทำด้วยปูนปั้นระบายสีของช่างฝีมือจีนประดับอยู่บนโครงสร้างอาคารแบบโปรตุเกส บานประตูหน้าต่าง ตลอดจนการตกแต่งภายในที่มีลักษณะเป็นศิลปะแบบจีน

ในประเทศไทยเราสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีสพบมากสุดที่จังหวัดภูเก็ต(บูกิ๊ต) เพราะภูเก็ตในสมัยนั้นมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับปีนัง อาคารแบบจีน-โปรตุเกสได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก ต่อมาก็แพร่ไประนอง ตะกั่วป่า พังงา กระบี่ และตรัง ซึ่งอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยของ พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลภูเก็ตในช่วงปีพ.ศ.๒๔๔๔-๒๔๕๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๕



เรื่องและภาพ โดย พิบูลศักดิ์ ละครพล
จากคอลัมน์ "ผ่านตามาตรึงใจ" นสพ.กรุงเทพธุรกิจวันอาทิตย์ ๑๑ ต.ค. ๒๕๕๘
เฟซบุคกรุงเทพธุรกิจวันอทิตย์







บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ



บีจีจากคุณเนยสีฟ้า กรอบจากคุณsomjaidean100

Free TextEditor




 

Create Date : 21 ตุลาคม 2558
0 comments
Last Update : 21 ตุลาคม 2558 23:41:39 น.
Counter : 1533 Pageviews.


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 161 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.