กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
17 มิถุนายน 2565
space
space
space

ตัวเราคืออะไร (ต่อ) สังขาร



   ทีนี้  “สังขาร”  นี่ยุ่งหน่อย อะไรๆ มันก็เป็นสังขารทั้งนั้น เช่น เก้าอี้ ก็เป็นสังขาร ไอ้นี่ก็เป็นสังขาร อาสนะ นาฬิกา โรงเรียน ผ้าผ่อน ท่อนไม้ ตัวเรา ก็เป็นสังขารทั้งนั้น

   สังขาร นี้ หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากเครื่องปรุงแต่ง เกิดขึ้นจากเครื่องปรุงแต่ง ฝรั่งเรียกว่า Compounding ไอ้สิ่งที่มารวมกันเข้า อะไรๆ ก็ไม่รู้ เรียกว่าเป็นสังขาร

  สังขารนี้ มี ๒ ประเภท เรียกว่า สังขารมีใจครอง กับ สังขารไม่มีใจครอง

   สังขารที่มีใจครอง  ได้แก่  มนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน  มีใจรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ได้

   สังขารที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ ที่คนปรุงแต่งขึ้น แม้แต่ต้นไม้ก็ไม่มีใจครอง แต่นักวิทยาศาสตร์เขาบอกว่า ต้นไม้ก็มีรักมีชังด้วย บางทีเราไปสีซอให้มันฟังบ่อยๆ มันโตแล้ว ชักจะมากไปแล้ว ต้นไม้ชอบเสียง และบอกว่าถ้าทำไปคลำบ่อยๆมันโตไว มันรู้สึกชื่นอกชื่นใจ  ไม่ใช่อะไรดอก ไปดูมันบ่อยๆ เห็นหนอนเห็นใบมันเน่าเปื่อย ก็จับมันทิ้งเสียบ้าง มันเฉาก็ใส่ปุ๋ย รดน้ำ มันก็เจริญไว ไม่ใช่ไปดูมันบ่อยๆ แล้วต้นไม้มันยินดีว่า นี่มาดูฉันบ่อยๆ ไม่ใช่อย่างนั้น  แต่ว่า เขาเที่ยวคิดไปในรูปอย่างนั้น เป็นเรื่องนักวิทยาศาสตร์ ต้นไม้นั้นมันไม่มีใจครอง

   สังขารที่มีใจครอง   เขาเรียกว่า   อุปาทินนกสังขาร สังขารที่ไม่มีใจครอง เรียกว่า อนุปาทินนกสังขาร เขาเรียกกันอย่างนั้น มันเป็นสังขารประเภทหนึ่ง เช่น ร่างกายก็เป็นสังขาร จีวรก็เป็นสังขาร สังขารทั้งนั้นแหละ อะไรๆ ในโลกนี้ ก็คือสังขาร  เพราะฉะนั้น เราสวดมนต์ว่า สัพเพ สังขารา อะนิจจา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง สัพเพ สังขารา ทุกขา - สังขารทั้งหลายทั้งปวงเป็นทุกข์ แต่พอมาสวดว่า สัพเพ ธัมมา อะนัตตา ไม่พูดว่า สังขาร ใช้คำว่า ธัมมา ซึ่งมันแตกต่างไปจากคำว่าสังขาร

   สังขารในกรณีนั้น  หมายถึงสังขารทั่วไป  แต่ว่าสังขารในบท ที่เรียกว่า ในตัวขันธ์ ๕ ที่ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  สังขารในขันธ์ ๕ นั้น  มันหมายถึงจิตที่ถูกปรุงแต่งให้เป็นไปในรูปต่างๆ เช่น ปรุงแต่งให้เป็น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความริษยา ความพอใจ อยากได้ อยากมีอะไรต่างๆ เป็นบุญ ก็ได้ เป็นบาป ก็ได้ สังขารแบบนี้ มันเป็นบุญ ก็ได้ เป็นบาป ก็ได้ ปรุงไปในทางบุญก็มี เช่น เห็นพระพุทธรูปก็รู้สึกชื่นใจ นึกไปถึงพระพุทธเจ้า สังขารนั้นเป็นบุญ  ถ้าเราไปเห็นอะไร ไม่เหมาะไม่ควร สังขารนั้นเป็นอกุศล เป็นบาป นี่คือสังขารที่เกิดขึ้นในใจ มันก็สืบเนื่องมาจากอันอื่นด้วย คือ จากเวทนา จากสัญญา และก็เป็นสังขาร เป็นเครื่องแต่งใจให้เป็นไปในรูปต่างๆ ให้รัก ให้โกรธ ให้ชัง ให้ยินดียินร้าย นั่นเป็นเรื่องของสังขาร ให้เข้าใจอย่างนี้
 




 



Create Date : 17 มิถุนายน 2565
Last Update : 20 มกราคม 2567 16:30:18 น. 0 comments
Counter : 380 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space