กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
29 มิถุนายน 2565
space
space
space

วิธีแก้โทสะ




    ทีนี้ โทสะ ใจร้อน ใจเร็ว แก้อย่างไร ?    (๑)     ต้องมีสติคอยควบคุมตัวเรา   เอาสติมาก่อน สติเป็นเบรกห้ามล้อ   ห้ามมันไว้ก่อน พอจะเกิดห้ามปุ๊บ  เหยียบลงไปทันที หยุดไว้ก่อน ตัวสติต้องใช้ก่อน เราต้องฝีกสติ ที่ไปนั่งภาวนาก็เพื่อให้ไปนั่งฝึกสติ  เดินจงกรม ซ้าย ย่าง ขวา ย่าง กำหนดรู้ เพื่อเจริญสติในการเดิน การนั่ง เช่น นั่ง จะลุกขึ้นก็กำหนดรู้ จะลุกขึ้นก็กำหนดรู้ก่อนว่าเราจะลุกขึ้น จนจิตกำหนดรู้ในทุกอย่าง เราจะลุกขึ้น เราจะไปหยิบนี้ หยิบนั้น หยิบก็ให้รู้ ยื่นมือออกไปก็ต้องรู้ ไม่รู้ไม่ได้ ต้องมีสติรู้ว่า มือที่ยื่นออกไปทำอะไร ยื่นไปเอาเข้ามาวางลง นี้จะไม่มีอะไรเกิดขลุกขลักขึ้นได้เลย ที่เราแกว่งแขนโดนเหยือกน้ำ เดินเตะไอ้นั่นไอ้นี่ ก็เพราะไม่ได้กำหนดรู้ ไม่มีสติ


   คนที่มีสติกำหนดรู้ที่จะทำอะไร เขาเรียกว่า เป็นผู้ดี ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผู้ดีจะเดิน จะยืน จะนั่ง จะทำอะไรมันเรียบร้อย ไม่มีที่ติ  ที่เป็นเช่นนั้น ไม่ใช่เกิดในสกุลผู้ดี แต่เกิดจากอบรมมาในเรื่องความเป็นผู้ดี เห็นตัวอย่างจากบิดามารดา คนนั้นคนนี้  ถ้าเราไม่ได้เห็นตัวอย่างอย่างนั้นมาก่อน เราก็ต้องมาฝึก ฝึกให้มีสติ จะเดิน จะปิดหน้าต่าง ให้ถือว่าปิดหน้าต่าง กำหนดรู้ปิดเบาๆ กำลังดึงเข้ามา ดึงค่อยๆก็ไม่ดัง ถ้ากระชากเข้ามาโครม ก็แสดงว่าไม่มีสติ กูจะรีบไป กูปิดละ มันก็โครมครามละซิ ถ้าเรารู้ตัวว่าจะทำอะไรทุกครั้งมันก็มีความยับยั้งชั่งใจ อันนี้มันยับยั้งโทสะ โทสะมันร้อน มันแรง เราคอยคุมสติ  ตอนเป็นพระไม่ยุ่ง  ไม่มีใครมารบกวนเรา  ฝึกได้ง่าย เราจะเดิน จะนั่ง ทำอะไรก็ตาม คอยกำหนดสติทุกอย่าง ทุกอิริยาบถ ต่อไปก็คุมตัวเองได้


    (๒) ต่อไปใช้ปัญญา.   สติ ปัญญา  เขามักจะมาคู่กัน  สติหยุดไว้ก่อน  เอาปัญญามาคิดค้น ว่า ทำไมจึงโกรธเขา  ทำไมจึงเกลียดเขา ทำไมจึงร้อนอกร้อนใจ เรื่องอะไรเอามาพินิจพิจารณาทบทวนสืบสาวหาเรื่องหาเหตุ มีอะไรเป็นเหตุเป็นตัวการให้เกิดเรื่องนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร พิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ  พิจารณาไป  ต้องมีสติควบคุมเบื้องต้น  แล้วจึงใช้ปัญญา
ปัญญาก็คือการสืบสวนสอบสวนให้ละเอียด  มันมาอย่างไร  มันไปอย่างไร มันดีอย่างไร มันชั่วอย่างไร มันเกิดแล้วทำให้เสียชื่อเสียง ให้พิจารณาค้นคว้าหาเหตุหาผลมันทุกเรื่อง นั้นถูกต้องในสภาพที่เป็นจริง   เช่น   เราโกรธ   เราก็หยุดมันก่อน  พอมีสติมันก็หยุด รู้สึกตัวมันก็หยุด จิตเรามันคิดได้ทีละเรื่อง จะไปทีละ ๒ เรื่องได้เมื่อไหร่

พอเรารู้ตัวปั๊บมันเบา  หยุดได้ แล้วนึกว่า  เมื่อกี้นี้โกรธใคร  โกรธคนที่มันด่า  มันด่าว่าอย่างไร มันด่าว่าไอ้ชาติชั่ว เอ แล้วเราชั่วจริงหรือเปล่า เราก็ต้องถามตัวเอง เขาว่าไอ้ชาติชั่ว แล้วเราชั่วแค่ไหน เราก็ต้องคิด
ถ้าคิดไปคิดมาเราไม่ได้ชั่ว แล้วคนนั้นมันพูดโกหก มันว่าเราชั่ว แต่เราไม่ชั่ว แล้วจะไปโกรธมันทำไม มันคงพูดตามเรื่องของมัน แล้วไปหลงโกรธ เขาใจผิด แล้วมันด่าเราแล้วมันก็ไปแล้ว เรายังอุตส่าห์เก็บเอาไว้เป็นหนามยอกอก มันเรื่องอะไร ไม่เข้าท่า ทีนี้เราก็เพลาความโกรธลงไปได้ มองเห็นว่ามันไม่ได้เรื่อง.  แต่ถ้าหากจริงตามเขาว่า ก็คิดว่าเราชั่วจริงว่ะ เขาว่าถูก ไม่ควรจะไปโกรธเขา เขาช่วยบอกหนทางให้ คนเราน่ะโทษของตัวมองไม่เห็น หัวตัวเองแตกไม่รู้ ต้องเอากระจกส่อง เขาอุตส่าห์เตือนเรานะ วันหลังต้องขอบใจเขา วันนี้ เราไม่โกรธไม่เคือง เราสบายใจ มันก็สบาย

   คนเรามันต้องมีเหตุผล  ต้องใช้ปัญญา  พิจารณาไม่ว่าเรื่องอะไร  เรื่องโกรธ  เรื่องรัก  เรื่องริษยา ไม่ว่าเรื่องอะไร  ที่มันเกิดขึ้นในใจต้องพิจารณาให้ละเอียด  รักทำไม  เกลียดทำไม  โกรธทำไม ไปริษยาเขาทำไม  แล้วมันได้อะไรขึ้นแก่ตัวเราบ้าง  ให้ใช้ปัญญาพิจารณา  ถ้าเราใช้สติพิจารณาในกรณีทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวิถีชีวิตของเรา  นั่นเราจะฉลาดขึ้นทุกวัน
เปลี่ยนเรื่องอะไรๆ มันไม่เท่ากับเปลี่ยนเรื่องนี้ดอก จบปริญญาก็เท่านั้น เรียนมาก็เท่านั้น แต่เราเปลี่ยนเรื่องกับตัวเรา ให้มันเข้าใจแจ่มแจ้ง สิ่งทั้งหลายจะดีขึ้น มีความสุขมีความสงบขึ้น อยู่ในโลกอย่างชนิดที่เรียกว่า “ไม่ถูกใครถอง” ต่อไป ถ้าไม่อย่างนั้น มันถูก เจ็บทุกที ช้ำใน ต้องกินยาดำกันแล้ว


   อารมณ์มันคิดไปคิดมาเหมือนลูกฟุตบอลในสนาม เตะไปเตะมา ไม่ได้หยุดได้หย่อน เราก็อย่างนั้น ถูกอารมณ์ต่างๆมันเตะ มันถองเอาแย่ไปตามๆกัน เพราะเราไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้น จะต้องพิจารณาไว้ด้วยสติด้วยปัญญา   สองตัวนี้   เขาเรียกว่า สติ สัมปชัญญะ เป็นธรรมมีอุปการะมาก   อุปการะเรื่องอะไร เรื่องโกรธ เรื่องเกลียด เรื่องริษยา เรื่องความชัง เรื่องอารมณ์ต่างๆ ให้เราเอามาคิดเอามาพิจารณาว่ามีอะไรที่น่ารัก มีอะไรที่น่าโกรธ มีอะไรที่น่าริษยา แล้วเมื่อคิดอย่างนั้น จิตใจเรามันเป็นอย่างไรมองให้ชัด ดูให้ละเอียด เราก็จะเข้าใจทุกอย่าง ตามสภาพที่เป็นจริง ตามสภาพที่มันเป็นของมัน  ตัวโลภ  ตัวโกรธ  ตัวหลง  มันก็จะเบา ทั้ง ๓ ตัวมันเบาไปด้วยวิธีนี้ เพราะวิธีนี้  เพราะวิธีคิดอย่างนี้  แล้วก้าวหลัง  ก้าวสุดท้ายที่จะไม่หลงเพราะมีปัญญา


  เพราะฉะนั้น ต้องศึกษา คนศึกษาก็คือคนค้นคว้าในเรื่องนั้นๆ ตามสภาพที่มันเป็นอยู่จริงๆ วิธีที่เล่ามานี้ ไปค้นคว้าให้มันละเอียดอีกครั้ง โลภ โกรธ หลง  มันก็จะเบาไปจากเรา  นี่คือวิธีปฏิบัติ เราต้องรู้จักปฏิบัติด้วยและต้องใช้ด้วย  เรียนธรรมะไม่ใช้ก็ไม่ได้เรื่องอะไร  ต้องเอาไปใช้แก้ปัญหาชีวิตด้วยวิธีที่กล่าวมา โลภ โกรธ หลง ก็เบาไป.

 




 

Create Date : 29 มิถุนายน 2565
0 comments
Last Update : 22 มกราคม 2567 9:26:14 น.
Counter : 384 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space