กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
 
เมษายน 2565
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
space
space
29 เมษายน 2565
space
space
space

สามัญ-(ต่อ)


   มีโยมคนหนึ่ง คือ คุณหญิง โยมหญิงก็มีเรื่องกระทบใจอยู่ไม่น้อย  ครอบครัวต้องสูญเสียอะไรมาก  ลูกเป็นใหญ่เป็นโต  มีหน้ามีตามีชื่อเสียง  เพราะเหตุการณ์บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไป ลูกก็ต้องหลุดออกไปจากตำแหน่ง ยังไม่พอ ทรัพย์สมบัติถูกริบไปจนหมดจนสิ้น แต่ว่าดูสภาพคุณโยมนี่แกเฉยๆ แกก็ทำบุญเลี้ยงพระไปตามเรื่อง เวลานิมนต์พระมาเลี้ยงก็ดูครึกครื้นดี พูดจาหัวเราะไม่เห็นว่าจะเป็นทุกข์เป็นร้อน
พระก็เลยถามว่า คุณโยมไม่เห็นเป็นทุกข์เป็นร้อนอะไรเลย ท่านกล่าวว่า จะไปเสียใจอะไร มันไม่ใช่ของเรา แสดงว่า ปลงตก เข้าใจซึ้งในหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็ว่าจะไปทุกข์ร้อนอะไร ลูกเขาจะมียศถาบรรดาศักดิ์ฉันก็เฉยๆ เสื่อมยศถาบรรดาศักดิ์ฉันก็เฉยๆ ได้เงินหรือสูญเสียไปมันก็เท่ากัน ถ้าเมื่อได้ไม่ดีใจ เมื่อเสียมันจะเสียใจอย่างไร
ถ้าได้ก็ดีใจมาก เมื่อเสียก็เสียใจมาก คล้ายกับเราขึ้นต้นไม้ เมื่อเราขึ้น ๑๐ เมตร ก็ต้องลง๑๐ เมตร ถ้าลงตามระเบียบก็ไม่เป็นไร  แต่ถ้าตกลงมาก็ซี่โครงหักเลย รักร้อยก็เสียใจร้อย ปริมาณขึ้นกับลงมันเท่ากัน เพราะฉะนั้น เขาจึงว่า อย่ายินดียินร้ายมาก
การอยู่อย่างไม่ยินดียินร้าย  ก็ต้องนึกถึงกฎเกณฑ์ว่ามันไม่เที่ยง  พูดเตือนตัวเองไว้บ่อยๆ บอกตัวเองบ่อยๆ ว่าไม่เที่ยงเว้ย เห็นอะไรได้มาก็บอกตัวเองว่าไม่เที่ยง พูดไว้บ่อยๆ เตือนไว้บ่อยๆ ใจเราก็จะมีปัญญาคิดในเรื่องนั้น เรียกว่าเอาอนิจจัง มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ทุกขัง อนัตตา ก็แบบเดียวกัน ทีนี้ สามัญลักษณะข้อต่อไปที่เรียกว่า ทุกขัง อนัตตา

   ทุกขตา ความเป็นทุกข์ ในความหมายของสามัญลักษณะทั่วไป มันมีทุกข์ทั้งนั้น ต้นไม้ก็มีทุกข์ ก้อนหินก็มีทุกข์ มันก็เป็นทุกข์โดยธรรมชาติ  คนเรามันเป็นทุกข์มากกว่าสัตว์หรือต้นไม้ เป็นเพราะมีสมองคิดได้มาก จึงเป็นทุกข์มาก สุนัขมันทุกข์น้อยกว่าเรา ต้นไม้มันก็ทุกข์ตามธรรมชาติ  คำว่า “ทุกข์” หมายความว่า ทนอยู่ไม่ได้ ก็ได้ ไม่น่าดู ก็ได้ หรือมันทนอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ก็เรียกว่า เป็นทุกข์ตามธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้น  ร่างกายของเราก็เป็นทุกข์ตามแบบธรรมชาติ  แล้วมันก็ไม่อยู่ในสภาพเช่นนั้น  ต้นหมากรากไม้ในสนาม   มันก็เป็นทุกข์ตามธรรมชาติแบบสามัญลักษณะ


   ส่วนความทุกข์อีกแบบในใจคนเรา นั้น เรียกว่า ทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น คืออุปาทาน พอมีอุปาทานในสิ่งใดก็เป็นทุกข์ในสิ่งนั้น คนเราเป็นทุกข์อยู่แล้ว ไอ้สิ่งที่เราไปยึดมันก็เป็นทุกข์ แต่เราก็ยังกล้าไปยึดถือ เท่ากับว่าเอามือไปแหย่ไฟ มนุษย์นี่เขาว่าไม่รู้จักเข็ดไม่รู้จักหลาบ ไม่รู้จักกลัวในสิ่งที่ควรกลัว กล้าเข้าไปเสี่ยงกับสิ่งที่ทำให้ตนเดือดร้อน จึงเกิดความทุกข์ความไม่สบายใจในลักษณะต่างๆ เราต้องคิดไว้บ่อยๆ ว่าสิ่งทั้งหลายเราไม่ควรไปยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนของเรา


   คำพูดง่ายๆ  เจ้าคุณพุทธทาสท่านพูดบ่อยๆว่า “ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น”  นี่แหละการแก้ปัญหาในเรื่องความทุกข์   ให้พูดไว้บ่อยๆว่าไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น ให้พิจารณาในแง่ใด ไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น แม้เราจะต้องทำสิ่งนั้น ก็เรียกว่า ทำไปตามหน้าที่ แต่ใจอย่าไปยึดถือเข้าว่า ไม่น่าเอาน่าเป็น ให้เอา “เป็น” ให้เป็น “เป็น” ถ้าเอา “เป็น” มันก็ไม่ทุกข์ ถ้าเป็น “เป็น” มันก็ไม่ทุกข์ เรื่องได้ เรื่องดี เรื่องเป็น นี่ต้องฉลาด ท่านเขียนเป็นกลอน

ยามจะได้ ได้ให้เป็น ไม่เป็นทุกข์
ยามจะเป็น เป็นให้ถูก ตามวิถี
ยามจะตาย ตายให้เป็น เห็นสุดดี
ถ้าเช่นนี้ ไม่มีทุกข์ ทุกวันเอย.

   เรียกว่า  ให้รู้จักว่า  มันไม่เที่ยงนี้เป็นทุกข์  เอาหลักนี้ไว้แล้ว  ความหลงใหลมันก็ไม่เกิดในสิ่งนั้นๆ เราก็สบายใจ 


Create Date : 29 เมษายน 2565
Last Update : 29 เมษายน 2565 12:50:25 น. 0 comments
Counter : 177 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space