กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2565
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
1 ตุลาคม 2565
space
space
space

ปัญญากับสัญญาต่างกันอย่างไร
 

 

227สัญญา - วิญญาณ - ปัญญา 
     
     สัญญา วิญญาณ ปัญญา  เป็นเรื่องของความรู้ทั้ง ๓ อย่าง  แต่เป็นองค์ธรรมต่างข้อกัน และอยู่คนละขันธ์  สัญญาเป็นขันธ์หนึ่ง  วิญญาณเป็นขันธ์หนึ่ง  ปัญญาอยู่ในสังขารก็อีกขันธ์หนึ่ง สัญญา และวิญญาณได้พูดมาแล้วพอเป็นพื้นความเข้าใจ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=samathijit&month=04-2021&date=09&group=7&gblog=2
   
     ปัญญา (ปัญญา มักแปลกันว่า wisdom หรือ understanding)  แปลกันว่า ความรอบรู้ เติมเข้าอีกว่า ความรู้ทั่ว ความรู้ชัด คือ รู้ทั่วถึงความจริง หรือรู้ตรงตามความเป็นจริง  ท่านอธิบายขยายความกันออกไปต่างๆ เช่นว่า รู้เหตุรู้ผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้ถูกรู้ผิด รู้ควรไม่ควร รู้คุณรู้โทษ รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์    รู้เท่าทันสังขาร รู้องค์ประกอบ รู้เหตุปัจจัย รู้ที่ไปที่มา รู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งทั้งหลาย     รู้ตามความเป็นจริง รู้ถ่องแท้    เข้าใจถ่องแท้    รู้เข้าใจสภาวะ รู้คิด รู้พินิจพิจารณา รู้วินิจฉัย   รู้ที่จะจัดแจงจัดการ  หรือดำเนินการอย่างไรๆ

     แปลกันอย่างง่ายๆ พื้นๆ ปัญญา คือความเข้าใจ (หมายถึง เข้าใจถูก เข้าใจชัด หรือเข้าใจถ่องแท้)  เป็นการมองทะลุสภาวะ  หรือมองทะลุปัญหา  ปัญญาช่วยเสริมสัญญาและวิญญาณ  ช่วยขยายขอบเขตของวิญญาณให้กว้างขวางออกไป และลึกซึ้งยิ่งขึ้น ส่องทางให้สัญญามีสิ่งกำหนดหมายรวมเก็บได้มากขึ้น เพราะเมื่อเข้าใจเพียงใด   ก็รับรู้และกำหนดหมายในวิสัยแห่งความเข้าใจเพียงนั้น    เหมือนคิดโจทย์เลขคณิตข้อหนึ่ง    เมื่อยังคิดไม่ออก ก็ไม่มีอะไรให้รับรู้และกำหนดหมายต่อไปได้    ต่อเมื่อเข้าใจ คิดแก้ปัญหาได้แล้ว    ก็มีเรื่องให้รับรู้ และกำหนดหมายต่อไปอีก

      ปัญญาตรงข้ามกับโมหะ ซึ่งแปลว่าความหลง    ความไม่รู้   ความเข้าใจผิด    สัญญาและวิญญาณหาตรงข้ามกับโมหะไม่      อาจกลายเป็นเหยื่อของโมหะไปด้วยซ้ำ    เพราะเมื่อหลง    เข้าใจผิดไปอย่างใดก็รับรู้และกำหนดหมายเอาไว้ผิดๆอย่างนั้น    ปัญญาช่วยแก้ไขให้วิญญาณ    และสัญญาเดินถูกทาง

       สัญญา และ วิญญาณ  อาศัยอารมณ์ที่ปรากฏอยู่จึงทำงานไปได้  สร้างภาพเห็นภาพขึ้นไปจากอารมณ์นั้น  แต่ปัญญาเป็นฝ่ายจำนงต่ออารมณ์  ริเริ่มกระทำต่ออารมณ์ (เพราะอยู่ในหมวดสังขาร) เชื่อมโยงอารมณ์นั้น กับ อารมณ์นี้ กับ อารมณ์โน้นบ้าง  พิเคราะห์ส่วนนั้นกับส่วนนี้กับส่วนโน้นของอารมณ์บ้าง   เอาสัญญาอย่างโน้นอย่างนี้มาเชื่อมโยงกันหรือพิเคราะห์ออกไปบ้าง  มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นความสัมพันธ์ ตลอดถึงว่าจะเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไร หาเรื่องมาให้วิญญาณ และสัญญารับรู้ และกำหนดหมายเอาไว้อีก
     
      พระสารีบุตร  เคยตอบคำถามเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างวิญญาณ กับ ปัญญาว่า คนมีปัญญา รู้ (= รู้ชัด, เข้าใจ) ว่านี้ทุกข์  นี้เหตุให้เกิดทุกข์  นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ ส่วนวิญญาณรู้ (= รู้แยกต่าง) ว่าเป็นสุข  รู้ว่าเป็นทุกข์   รู้ว่าไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์   แต่ทั้งปัญญาและวิญญาณนั้น  ก็เป็นองค์ธรรมที่ปนเคล้า  หรือระคนกันอยู่ ไม่อาจแยกออกบัญญัติข้อแตกต่างกันได้   กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างก็มีอยู่ในแง่ที่ว่า ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น  ส่วนวิญญาณเป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ  รู้เท่าทันสภาวะ และลักษณะของมันตามความเป็นจริง (ม.มู.๑๒/๔๙๔/๕๓๖)
   
      ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น  อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้    วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย    ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย  (คือ เข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแห่งมรรค  (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้)  ส่วนปัญญาทั้งรู้อารมณ์   ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค
 
   227ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์  สัญญาเปรียบเหมือนเด็กยังไม่เดียงสา  มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย   วิญญาณเปรียบเหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน  ปัญญาเปรียบเหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ

     อนึ่ง  ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป  บางทีมีแต่สัญญา และวิญญาณ  หาได้มีปัญญาด้วยไม่   แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ  คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน
 
      เมื่อชาลี และกัณหา   เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ   ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ   ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา    ต่อมาเมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว  ก็รู้ทันทีว่าลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า   ความรู้เท่าทันนี้   ก็เรียกว่าเป็นปัญญา ในสองกรณีนี้จะเห็นได้ว่า  ปัญญามีความรอบคอบ และลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย
   
       การที่เจ้าชายสิทธัตถะ  ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปร และสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย   ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา  เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน   พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้น  ก็เรียกว่าเป็นปัญญา

      ปัญญาเป็นคำกลาง  สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น  มีคำศัพท์หลายคำ  ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง  ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง   แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง  เช่น  วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา ปฏิสัมภิทาเป็นต้น  
 
175 174 175
 
     ปัญญาเป็นภาเวตัพพธรรม   เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรมทำให้เจริญขึ้น ให้เพิ่มพูนแก่กล้าขึ้น  

     วิญญาณเป็นปริญไญยธรรม  เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ หรือทำความรู้จักให้เข้าใจ  รู้เท่าทันสภาวะ และลักษณะของมันตามความเป็นจริง 
 

 


Create Date : 01 ตุลาคม 2565
Last Update : 2 ตุลาคม 2565 7:07:15 น. 0 comments
Counter : 615 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space