กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
พฤษภาคม 2565
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
5 พฤษภาคม 2565
space
space
space

สมมุตินามตามท้องเรื่อง



235  เพจพุทธที่แท้ถาม 450 เกี่ยวกับสมมุติว่านั่นนี่โน่น  


> ขออนุญาตสอบถามครับ

   คำว่า สมมุติสงฆ์ ที่เขาฮิตใช้กันเสมือนเป็นข้ออ้างให้ตัวเองไม่ผิดที่ไม่เดินตามคำสอนในสมณเพศนั้น มีอยู่ในพุทธวจนหรือไม่ครับ

https://www.facebook.com/groups/934684070024209/user/100003210730139

    แสดงถึงความไม่เข้าใจสมมุติ  (สมมติ) บัญญัติ  เราชอบพูดหลักธรรมระดับสูงตามภาษาไทยที่เขาแปลให้แล้วในพระไตรปิฎก  เราอ่านแล้วพอจับความได้แล้วก็ลอกตรงนั้นมาแล้วก็ว่านี่พุทธที่แท้     110  
 
    ลิเกก่อนที่จะเล่นให้คนดู  จะสมมุติตัวเองก่อน  สมมุตินามตามท้องเรื่อง  ข้าพเจ้าเป็นพระราชามีนามว่า  สุทธิสาร  ทำการปกครองแคว้นเชเชนสืบมาหลายชั่วอายุคนแล้ว ... เออ นี่ก็สายมากแล้ว จำเราจะต้องไปเยี่ยมพสกนิกรที่รอรับเสด็จเห็นท่าจะดีเป็นแน่ทีเดียว  ว่าแล้วก็ลุกขึ้นรำไปตามบทบาทที่สมมุติว่าเป็นเจ้าเมือง  .... นั่นเรื่องสมมุติขึ้น  จริงๆตัวเขาเองไม่ได้เป็นพระราชา  แต่ในเรื่องสมมุติว่าเป็นพระราชาปกครองบ้านเมือง 

  สงฆ์โดยสมมุติ  สมมุติสงฆ์ก็ทำนองนั้น   ที่เห็นๆกันในปัจจุบัน  เราเรียกว่าสมมุติสงฆ์  ซึ่งไม่ใช่สงฆ์ที่เราสวดสรรเสริญคุณ  ซึ่งได้แก่  บุคคลสี่  แปดจำพวก  คือ โสดาปัตติมรรค   สกทาคามิมรรค  อนาคามิมรรค  อรหัตตมรรค  (สี่บุคคล)   แปดจำพวก  ก็เติมผลเข้าไปอีกสี่  โสดาปัตติผล  สกทาคามิผล  อนาคามิผล  อรหัตตผล  เรียกว่า อริยสงฆ์ 



235 สมมุติ, สมมติ    การรู้ร่วมกัน,  การตกลงกัน,   การมีมติร่วมกัน หรือ ยอมรับร่วมกัน;  การที่สงฆ์ประชุมกันตกลงมอบหมายหรือแต่งตั้งภิกษุให้ทำกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่ในเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น  สมมติภิกษุเป็นผู้ให้โอวาทภิกษุณี   สมมติภิกษุเป็นภัตตุตเทศน์ เป็นต้น  ในภาษาไทย ใช้ในความหมายว่า  ตกลงกันว่า    ต่างว่า

  บัญญัติ    การตั้งขึ้น,  ข้อที่ตั้งขึ้น,  การกำหนดเรียก,  การเรียกชื่อ,  การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ

235 “มุติ”   ในสมมุติ   (เขียน “มติ” เป็นสมมติ ก็ได้)   แปลว่า  ความรู้ เมื่อใส่ “สํ=>สม” เข้าข้างหน้า เป็นสมมุติ  หรือ สมมติ  (คัมภีร์บาลีของไทย นิยมเขียน สมฺมติ  แต่ของพม่านิยมใช้  สมฺมุติ)  ก็แปลว่า  รู้ร่วมกัน  ยอมรับ หรือตกลงกัน  คือรู้กัน  ตกลงกันว่า อันนั้นอันนี้  คนนั้นคนนี้  เรียกชื่อว่าอย่างนั้นอย่างนี้  จนกระทั่งว่า  สภาวะ นี้ เรียกว่า จิต ธรรมนี้ เรียกว่า ฌาน ตลอดจนในเชิงสังคม หรือในการอยู่ร่วมกัน  เราจะทำเรื่องนี้กันอย่างนี้ๆ ให้ของ  ให้คน ให้หมู่ชนนั้นๆ  ได้ชื่อ  ได้สถานะเป็นอย่างนี้ๆ  เป็นต้น
      
   เมื่อสมมุติ  คือรู้กัน หรือตกลงกันว่าอย่างไรแล้ว ก็บัญญัติจัดตั้งวางตราลงไปอย่างนั้น   ไปๆมาๆ  สองคำนี้  คือ สมมุติ  และบัญญัติ เลยบางทีกลายเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ใช้คู่เคียงกันไป หรือปนๆกันไป (แต่ที่จริง สมมุติเน้นด้านความหมายเชิงสังคม)
 
  การที่เราสื่อสารกันได้   และพูดกันรู้เรื่อง  มีเครื่องกำหนดหมายในการคิด  พูด  และทำการต่างๆ ก็เพราะสมมุตินี่แหละ
 
  สมมุตินั้น  มันไม่ใช่ของจริงอยู่แล้ว   คือ  คนตกลงกันเรียกขาน  หรือ ให้เป็นอย่างนั้นขึ้นมา จะสมมุติบนสิ่งที่มีจริงก็ได้  บนสิ่งที่ไม่มีจริงก็ได้  แต่เมื่อสมมุติแล้ว  คนส่วนใหญ่ก็ไปติดอยู่ที่สมมุตินั้นเสีย หลงเอาสมมติเป็นตัวของจริงไป  เลยอยู่กันแค่สมมุติ  แล้วก็คิดปรุงแต่งไปบนฐานแห่งสมมติ   เลยวิจิตรพิสดารไปกันใหญ่   ลืมมองของจริงที่เหมือนกับว่าอยู่ข้างหลังสมมุตินั้น
 
  พูดสำนวนอุปมาว่า  เอาสมมุติมาบังตาตัวเอง  หรือหลงสมมุติไป  ทั้งที่ของจริงมันก็อยู่ของมันอย่างนั้น

  พูดให้ง่ายๆสะดวกๆว่า สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ก็แค่รูปธรรมและนามธรรม  แล้วบนรูปธรรมและนามธรรมนั้นๆ  เช่น  ที่ประกอบกันเข้าเป็นสัดส่วนในลักษณะอาการที่มีความเป็นไปอย่างนี้ๆ  เราก็สมมุติเรียกว่าเป็น “สัตว์”  เป็น “คน” เป็น  “บุคคล”  เป็น  “ตัว”  “ตน”  หรือ “ตัวตน”  (อัตตา, อาตุมา, อาตมา)     เป็น  “เรา”  เป็น “เขา”  เป็น “ท่าน”   ฯลฯ
 
  “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน” “เราเขา” เป็นต้น ที่สมมุติขึ้นมานี้ ไม่มีจริง เมื่อเอาชื่อหรือคำเรียกออกไป หรือมองผ่านทะลุคำเรียกชื่อนั้นไป ก็มีเพียงรูปธรรมและนามธรรม  (ที่จัดแยกเป็นประเภทหรือเป็นพวกๆ  เรียกว่า  ขันธ์  ๕  หรือ จะแยกแยะละเอียดลงไปกว่านั้นก็ได้) 
 
  “รูปธรรม-นามธรรม”แม้จะเป็นคำเรียกที่บัญญัติขึ้นมา  แต่ก็เป็นคำที่สื่อถึงสิ่งที่มีอยู่จริง (ใช้คำอย่างบาลีว่า “สภาวะ”  หรือ  “สภาวธรรม”  คือสิ่งที่มีภาวะของมันเอง   หรือสิ่งที่มีความเป็นจริงของมัน) ดังเช่น“เตโชธาตุ” “ชีวิตินทรีย์” “จักขุวิญญาณ” “ผัสสะ”“สุข” “ทุกข์” "โทสะ” “เมตตา” “สมาธิ” “ปัญญา” ฯลฯ จนถึง “วิมุตติ” “สันติ” “นิพพาน” เป็นต้น 
 
  ส่วน “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน/อัตตา/อาตมา/อาตมัน” “เรา” “เขา”เป็นต้น  ไม่สื่อถึงสภาวะ คือ สิ่งที่มีอยู่จริงนั้น   แต่เป็นชื่อที่สมมุติซ้อนขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง    บนของจริงที่เป็นสภาวะของมัน   ที่สัมพันธ์กันอยู่  เช่น  เป็นเหตุปัจจัยแก่กันในลักษณะอาการต่างๆ  พอระบบสัมพันธ์นั้นแปรหรือสลาย  องค์ประกอบวิบัติกระจัดกระจาย “สัตว์” “บุคคล” “ตัวตน,อัตตา,อาตมา,อาตมัน” ฯลฯ นั้นๆ  ก็หายไป  มีแต่สภาวธรรมทั้งหลายที่เป็นไปตามวิถีทางของมัน
 
   เหมือนอย่างเมื่อองค์ย่อยหรือชิ้นส่วนหลากหลายที่เขาสร้าง หรือจัดรูปแต่งร่างขึ้น   ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันให้ปรากฏในรูปลักษณ์ที่จะใช้ทำการสนองความมุ่งหมายแห่งเจตจำนงในการขนส่งเดินทาง   ก็เกิดเป็นสิ่งที่มีชื่อเรียกว่า  “รถ” 366 
    
 ในตัวอย่างนี้   “รถ”   เป็นสมมุติ   ที่เป็นเพียงการประกอบกันเข้าของชิ้นส่วนทั้งหลาย   ไม่มีรถที่เป็นตัวของมันต่างหากจากชิ้นส่วนเหล่านั้น   ที่เรียกว่าเป็นส่วนประกอบของมัน
 
  ไม่มีตัว  “รถ” ที่เป็นเจ้าของส่วนประกอบเหล่านั้นจริง  พอชิ้นส่วนที่ประกอบกันนั้นสลายแยกกระจายออกไป   สมมุติที่เรียกว่า “รถ”   ก็หายไปเอง
 
  ที่ว่าไม่มีอัตตา  ไม่เป็นอัตตา  ก็มองได้จากอุปมาอย่างนี้
 
   นอกจากสมมุติที่ไม่มีจริงซ้อนขึ้นมาบนสภาวะที่เป็นของจริงแล้ว   มนุษย์ยังสมมุติชนิดไม่มีจริงซ้อนสมมุติที่ไม่มีจริงนั้นต่อขึ้นไปอีกๆ   บางทีมากมายหลายชั้น   เช่น  จากสมมติว่า “คน” ก็สมมุติว่า  คนนั้นเป็น “นายมี” “นายหมด” “รถของนายมี” “รถยี่ห้อมิลเลียนของคนไทยที่เป็นเศรษฐีใหญ่ชื่อว่านายมี”   ฯลฯ
 
   ทีนี้   หันไปทางด้านสภาวะ   หรือสภาวธรรม   ที่เป็นสิ่งมีอยู่จริง   สภาวธรรมก็มีมากมาย และมีภาวะ  มีคุณสมบัติ   มีอาการในการสัมพันธ์กับสภาวะอย่างอื่น   เป็นต้น   ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวบ้าง   เหมือนกันหรือร่วมกันเป็นพวกๆ  หรือ เป็นประเภทๆ บ้าง   ดังที่สื่อโดยบัญญัติเรียกให้มีชื่อต่างๆ  เช่น  เป็นรูปธรรม หรือเป็นนามธรรม  อย่างที่พูดถึงมาแล้วบ้าง    เป็นโลกียธรรม หรือเป็นโลกุตรธรรมบ้าง   เป็นสังขตธรรม  หรืออสังขตธรรมบ้าง เป็นต้น
 
   ยกนิพพานเป็นตัวอย่าง    นิพพานเป็นนามธรรม  แต่ก็ต่างจากนามธรรมส่วนมากในแง่ที่ว่านิพพานเป็นโลกุตรธรรม   และพร้อมกันนั้นนิพพานก็ต่างจากโลกุตรธรรมอื่นทั้งหมด  ในแง่ที่นิพพานเป็นอสังขตธรรม  ไม่ขึ้นต่อเหตุปัจจัยในระบบสัมพันธ์
 


Create Date : 05 พฤษภาคม 2565
Last Update : 18 มกราคม 2567 17:30:50 น. 0 comments
Counter : 338 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space