กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2565
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
10 ตุลาคม 2565
space
space
space

สาระของปวารณา



   คนเราตามปกตินั้นไม่มองตัวเอง ไม่เห็นโทษของตัวเอง ไม่ว่าใคร ไม่ว่าผู้ใหญ่ ผู้น้อย มันก็คล้ายๆกัน คือ ไม่เห็นโทษของตัวเอง มองตัวเองไม่ค่อยเห็น คล้ายกับตามองริมฝีปากบนไม่เห็น อะไรอย่างนั้น
ที่ไม่เห็นก็เพราะว่าเราหลงผิด เราเข้าข้างตัว นึกว่าเรื่องที่ตัวทำนั้นถูกหมด  ดีหมด  อย่างนี้เป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้รู้ว่าไอ้สิ่งที่เราทำนั้นมันไม่ถูก เรามองไม่เห็น   โทษของตัวมองไม่เห็น ต้องให้คนอื่นช่วยมองให้  แล้วช่วยบอกให้ด้วยว่าได้มีอะไรอย่างนั้นอย่างนี้   เพราะฉะนั้น   จึงได้ขอร้องกัน ในเวลาปวารณาว่าช่วยมองผมหน่อยเถอะ ผมมันมีอะไรบ้าง ท่านได้ยินความเสียหาย ท่านได้เห็นความเสียหาย หรือแม้ว่านึกรังเกียจในใจ ในเรื่องไม่เหมาะไม่ควรอยู่บ้าง จะได้แก้ไขกันต่อไป อันนี้ เป็นเรื่องที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทางจิตใจ เพราะว่าเรายอมรับคำแนะนำของคนอื่น


  อันคน ที่ยอมรับคำแนะนำของคนอื่นนั้น มันเป็นการลดอัตตาลงไปแล้ว อัตตาตัวตนที่เรายึดมั่นถือมั่น ถ้าเรายอมรับคำแนะนำตักเตือนของคนอื่น ความยึดมั่นถือมั่นมันลดลงไป เปอร์เซ็นต์มันลดลงไป
แต่ถ้าเราไม่ยอมรับเช่นว่า  “สู่รู้จะมาสอนข้า แกมันขนาดไหนเชียวละ”  นี่แสดงว่าอัตตามันยิ่งใหญ่ ยิ่งมาก ปริมาณไม่ได้ลดลงเลย แล้วก็มีแต่ว่าจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อาการที่อัตตาตัวตนมันเพิ่มขึ้นอย่างนี้ เป็นการตัดความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรมของเรามันไม่ก้าวหน้า เพราะว่าเราเพิ่มอัตตามากขึ้น แต่ถ้าเรายอมรับคำแนะนำ คำตักเตือนของเพื่อนด้วยความเต็มใจแล้วก็ไปปรับปรุงแก้ไข มันได้ประโยชน์ตรงที่เราลดความเห็นแก่ตัวลง ลดความยึดมั่นในตัวลง

   เรื่อง การลดความยึดมั่น มันเป็นเรื่องใหญ่ในการปฏิบัติธรรมในทางพระพุทธศาสนา เพราะมีข้อปฏิบัติไม่ว่าเรื่องทาน เรื่องศีล เรื่องการภาวนา ก็มีจุดหมายอยู่ที่การลดการยึดมั่นถือมั่น
การกระทำอันใดที่ทำให้ลดสิ่งนั้นลงไป  การกระทำนั้นเป็นเรื่องที่ดีที่เหมาะ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านจึงวางหลักนี้ไว้ สำหรับภิกษุผู้จะจากกันในวันออกพรรษา ทำปวารณา

   ปกติก็ทำปวารณากันในวันเพ็ญเดือน ๑๑ แต่ถ้ายังไมอยากจะจากกัน ก็ไปทำปวารณากันในวันหลังก็ได้ มันมีข้อแม้อยู่เหมือนกัน แต่โดยมากก็ทำตามธรรมเนียม วันเพ็ญกลางเดือน ๑๑ แล้ววันแรมค่ำหนึ่งก็เป็นวันออกพรรษาไป ออกพรรษาแล้วต่างคนต่างไป แต่ถ้าไม่ไปก็อยู่วัด สำหรับที่จะทำกิจอย่างอื่นต่อไป

   เรื่องปวารณามีจุดหมายอย่างนั้น เราควรจะรู้ความหมาย ควรจะนำเอาหลักการนี้ไปใช้ด้วยเหมือนกัน แม้เราไปอยู่บ้านก็เอาหลักการปวารณาไปใช้ได้  เช่นว่า  อยู่กันในครอบครัวเราก็ปวารณากัน สามีภรรยาก็ปวารณากัน คือ ให้เตือนกัน คือสามีทำอะไรบกพร่องให้ภรรยาเตือนได้ ภรรยาบกพร่องให้สามีเตือนได้ ลูกบกพร่อง นี่เป็นหน้าที่แท้ๆ ที่พ่อแม่ต้องเตือนเพราะเป็นความบกพร่อง ถ้าพ่อแม่บกพร่องล่ะ ลูกก็ควรจะเตือนได้เหมือนกัน ในเมื่อมีความรู้ มีความคิดที่จะเตือนพ่อแม่ได้


   เมื่อตะกี้ฟังคำบรรยายของคุณประภาส อวยชัย มีตอนหนึ่งว่า ในครอบครัวหนึ่งเขาประพฤติธรรม พ่อแม่กับลูกนี่ได้ปวารณากันไว้ คือ ถ้าหากว่าลูกเหลวไหลด้วยไม่เรียนหนังสือ ขี้เกียจประพฤติเกเร พ่อแม่จะอดข้าว คือจะไม่กินข้าว
ถ้าหากว่าพ่อแม่ทำผิดล่ะ   ลูกควรจะทำอย่างไร  ลูกก็บอกว่าถ้าพ่อแม่ทะเลาะกัน ทำอะไรเสียหายลูกไม่ไปเรียน หยุดไม่ไปโรงเรียน  เรียกว่ามีข้อแม้กัน
ทีนี้   ถ้าลูกมีอะไรไม่ดี  พ่อแม่ไม่ทานข้าว  ลูกก็ไม่กล้าทำผิดกลัวพ่อแม่จะอดข้าว เลยเรียบร้อย พ่อแม่ก็เหมือนกันถ้าเกิดพูดดังๆ ขึ้นมา ลูกก็เรียกคุณพ่อคุณแม่ เพียงแต่เรียกเท่านั้นแหละ พ่อแม่นึกได้ทันทีหยุดเลย หยุดเลยไม่ได้เถียงกันอีกต่อไป อันนี้ มันก็เป็นประโยชน์จากการที่ว่าปวารณากันไว้ ข้อให้บอกให้เตือนกัน


   เช่นเราทำงานอยู่ในสำนักงานร่วมกันหลายๆคนแล้ว เราก็พูดกันไว้ว่าในพวกเราที่อยู่ร่วมกันนี้ ถือว่าอยู่ในครอบครัวเดียวกัน ทำงานด้วยกันก็เหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน เราควรจะรักกันในทางที่ถูกที่ชอบ  รักกันในทางที่ถูกที่ชอบ ก็หมายความว่า คอยเตือนกันเป็นหูเป็นตา เป็นสติเป็นปัญญาให้แก่กัน
ถ้าเพื่อนคนใดคนหนึ่งไปทางผิด ทำอะไรจะเสียหายแก่ตัว แก่งาน แก่ส่วนรวม ก็ควรจะมีการเตือนกันได้ เมื่อเตือนแล้วก็จะได้หยุดยั้งชั่งใจต่อไป
แต่ว่าไปเตือนเอาเฉยๆก็ไม่ได้ เกรงใจกัน คือนึกว่าเขาไม่ได้ขอให้เตือนจะไปเตือนได้อย่างไร จึงควรบอกกันไว้ บอกว่าในหมู่เราทุกคน ขอให้เตือนกันได้ ให้แนะแนวกันได้ ถ้าเห็นว่าใครทำอะไรไม่เหมาะไม่ควรก็ช่วยบอกช่วยเตือนกัน ปวารณากันไว้อย่างนั้น
เมื่อเห็นเพื่อนทำอะไรชักเขวๆไป มีความคิดแผลงๆ การกระทำที่ไม่เหมาะไม่ควร จะออกไปนอกลู่นอกทางแล้ว เราก็ไปสะกิดบอกว่าไม่ดีนะ อย่างนั้นอย่างนี้ ก็จะได้หยุดได้ยั้งกัน ช่วยส่งเสริมความก้าวหน้าทางจิตใจในหมู่ในคณะ มันเป็นการดี จึงควรจะได้นำไปใช้ในชีวิตของเราต่อไป ช่วยแนะช่วยเตือนกัน
เหมือนกับเราบวชในสำนักเดียวกัน เมื่อรู้ข่าวว่าเพื่อนมันชักจะเขวๆ ไป ออกไปนอกลู่นอกทางไปก็ควรจะได้เตือนกัน เตือนว่าอย่าลืมคำสอนของอาจารย์ อย่าลืมว่าเราเคยไปบวชไปเรียน ทำอย่างนั้นมันจะเสียหาย อะไรอย่างนี้ ก็เป็นการช่วยให้เพื่อนได้สำนึกรู้สึกตัว ได้เปลี่ยนแปลงจิตใจเข้าหาความงามความดี เป็นเรื่องที่ควรจะทำกันด้วยน้ำใจเมตตา เรียกว่า ทำด้วยเมตตา พูดด้วยเมตตา คิดด้วยเมตตาต่อกัน   มันเป็นเหตุให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในการงานของชีวิต  จึงเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์อยู่มากเหมือนกัน

 


Create Date : 10 ตุลาคม 2565
Last Update : 10 ตุลาคม 2565 8:36:36 น. 0 comments
Counter : 155 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space