กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2565
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
23 สิงหาคม 2565
space
space
space

องค์มรรคที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ


มรรคที่ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ เริ่มต้นด้วย

   องค์มรรคที่ ๑ สัมมาทิฏฐิ   แปลว่า   ความเห็นชอบ ความเห็นชอบในมรรคมีองค์ ๘ นั้น ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ทุกเข ญาณัง ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง ฯลฯ  หมายความว่า  เห็นทุกข์ เห็นสมุทัย  เหตุให้เกิดทุกข์  เห็นความดับทุกข์ได้  เห็นข้อปฏิบัติซึ่งให้เห็นข้อความดับทุกข์  คำว่า “เห็น”  นี่  ไม่ได้หมายความว่า  ได้เห็นด้วยตา  ไม่ใช่เราไปอ่านเรื่องอริยสัจ ๔ แล้วเป็นสัมมาทิฏฐื ไม่ใช่อย่างนั้น   แต่เห็นด้วยปัญญา   เรียกได้ว่า  ด้วยญาณ   ญาณนี่คือความเห็นที่ประกอบด้วยปัญญา รู้แจ้งเห็นชัดในเรื่องนั้น แล้วก็ปฏิบัติตามเรื่องนั้นด้วย   จึงจะเรียกคนนั้นว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ   สัมมาทิฏฐินั้น ต้องรู้และต้องปฏิบัติในเรื่องนี้ด้วย  จึงจะเรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิบุคคล  สัมมาทิฏฐินี้ ถ้าใครปฏิบัติแล้วก็เป็นฐานรองรับความพ้นทุกข์  มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า สมฺมาทิฏฺฐิสมาทานา สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคุํ   แปลว่า   ผู้ใดสมาทานสัมมาทิฏฐิ   ผู้นั้นย่อมพ้นทุกข์ได้

   คำว่า "สมาทาน"  หมายความว่า   ปฏิบัติตามสัมมาทิฏฐิ ผู้นั้นย่อมพ้นไปจากความทุกข์ความเดือดร้อนได้ แต่ว่าถ้าในสัมมาทิฏฐินี้ พูดกันในแง่การปฏิบัติ เราก็ควรจะแบ่งออกเป็น ๒ ขั้น คือ สัมมาทิฏฐิแบบศีลธรรม (โลกียสัมมาทิฏฐิ) สัมมาทิฏฐิแบบปรมัตถธรรมหรือแบบสัจธรรม (โลกุตรสัมมาทิฏฐิ)  สัมมาทิฏฐิในแง่ศีลธรรมนั้น เป็นสัมมาทิฏฐิขั้นเบื้องต้นสำหรับบุคคลทั่วๆไป ที่ยังอยู่ในขั้นของศีลธรรม   ส่วนสัมมาทิฏฐิปรมัตถธรรม นั้น หมายถึงสัมมาทิฏฐิแท้ ตามหลักอริยสัจ ๔  แต่ว่า บางทีคนเรามันไปไม่ถึงขั้นปรมัตถ์ ยังอยู่ในขั้นศีลธรรมหรือในขั้นโลกียวิสัย ไม่ปฏิบัติเป็นการพ้นทุกข์เป็นตัวโลกุตระ แต่ว่า อยากจะพ้นทุกข์แบบชาวโลกธรรมดาๆ ก็ต้องมีสัมมาทิฏฐิให้เขาบ้าง เพื่อจะได้รู้ว่าอย่างไรถูก อย่างไรผิด ไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่มีอะไรเป็นหลักคุ้มครองจิตใจ เราจึงควรแบ่งสัมมาทิฏฐิว่าเป็นขั้นศีลธรรม

   สัมมาทิฏฐิขั้นศีลธรรมนั้น เห็นว่าอย่างไร ?   เช่นเห็นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อันนี้อยู่ในขั้นศีลธรรม เพราะยังมีเรื่องได้เรื่องเสียสำหรับบุคคลนั้นอยู่ ไม่ใช่ขั้นสูงสุด แต่ว่าถ้าไม่มีหลักนี้เป็นพื้นฐานมันจะไปกันใหญ่   คนเราถ้าไม่เชื่อกฎแห่งกรรม ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว จิตใจก็จะกวัดแกว่งออกไปนอกลู่นอกทาง ปฏิเสธในการกระทำไปเสียทั้งหมด เช่น ทำอะไรก็ไม่เป็นไร ทำดีก็ไม่ได้ดี ทำชั่วก็ไม่ได้ชั่ว ชีวิตนี้ มันไม่มีอะไรอย่างนี้ เขาเรียกว่าสุดโต่ง เป็นความเห็นผิดไป ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าเมื่อมีอะไรเกิดขึ้นในใจรุนแรง ก็ทำชั่วได้ เพราะเห็นว่าทำแล้วมันก็ไม่มีอะไร ผ่านพ้นไปเท่านั้นเอง อันนี้ จะเสียหาย จึงต้องมีหลักยึดไว้ในใจว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เรียกว่าเชื่อกฎแห่งกรรม ว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เราหนีจากผลที่ทำไว้ไม่ได้   ผู้ที่มีฐานในใจอย่างนี้ไว้   ก็ย่อมจะเกรงกลัวต่อผลกรรม    มีความยับยั้งช่างใจ   ไม่กระทำอะไรที่เป็นเรื่องเสียหาย เพราะทำแล้วตนก็รู้ว่า ตกเป็นของตน   เรามีกรรมเป็นกำเนิด   มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์   มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว   เมื่อเชื่อหลักอย่างนี้อยู่อย่างมั่นคงแล้ว  ย่อมเป็นคนกลัวบาปกลัวกรรม ย่อมเป็นคนรักดี รักงาม การประพฤติปฏิบัติก็จะเป็นไปในทางที่เรียบร้อย

   เราสังเกตชีวิตของคนบางคนที่ปล่อยกายปล่อยใจไปตามอำนาจของกิเลส ทำอะไรก็ทำไปตามอารมณ์ ถ้าศึกษาถึงพื้นฐานทางจิตใจของคนนั้นแล้ว ก็จะพบว่าเป็นคนประเภทไม่มีหลัก ใจเลื่อนลอย ไม่มีหลักสำหรับยึดมั่นไว้ในใจว่าอะไรเป็นอะไร เพราะฉะนั้น ทำอะไรตามอารมณ์ จะไปฆ่าใครก็ได้ จะไปลักขโมยของใครก็ได้ จะประพฤติทำชู้กับลูกเมียใครก็ได้ จะพูดโกหกใครก็ได้ มันไม่มีหลักอะไรในใจ เสียผู้เสียคนได้ง่าย เพราะฉะนั้น จึงมีฐานว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ไว้เป็นฐานในใจ

   อันการรู้ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั้น เรียกว่าเป็นการรู้แบบศีลธรรม แต่ถ้าเราจะพิสูจน์ว่า ทำดีได้ดีอย่างไร ทำชั่วได้ชั่วอย่างไร เป็นการรู้แบบศีลธรรม แต่ถ้าเราจะพิสูจน์ว่า ทำดีได้ดีอย่างไร ทำชั่วได้ชั่วอย่างไรนั้น เป็นเรื่องของปัญญา ที่จะคิดนึกละเอียดออกไป เราก็รู้ความหมายกันอยู่แล้วว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หนีไม่พ้น นอกจากนั้นแล้วยังเกิดในชีวิตของตนต่อไป กรรมมันสนองกรรม ไอ้เรื่องกรรมมันสนองกรรมนี้   เห็นกันอยู่ง่ายๆ    แม้กรรมของบุคคล   กรรมของหมู่คณะ กรรมของชาติของประเทศ    มันเกิดทั้งนั้นแหละ ถ้าเราเอาหลักกรรมเข้าจับแล้ว จะเห็นว่ามีผลย้อนหลังอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่นว่า ฝรั่งประเทศต่างๆ ที่เคยแสวงหาเมืองขึ้น เอาคนมาอยู่ในปกครองมากมาย กอบโกยทรัพยากรธรรมชาติในประเทศนั้นๆ ไปใช้บำรุงประเทศของตัว ก็เป็นสุขไปพักหนึ่ง   เวลาต่อมาเขาดิ้นรนต่อสู้   ต้องปล่อยประเทศเหล่านั้นออกไป.

ฯลฯ

   เพราะฉะนั้น จะทำอะไรต้องคิดให้มาก ให้เชื่อหลักนี้ไว้ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว อะไรที่เราทำแล้วหนีไม่พ้น มันต้องกลับมาหาเราจนได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันย้อนรอยกลับมา อย่างนี้ เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิอย่างหนึ่ง เรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องสุข เรื่องทุกข์.




235 ตอนนี้  ทำให้เห็นว่า  ใครพูดถึงโลกียสัมมาทิฏฐิ โลกุตรสัมมาทิฏฐิ  หรือว่าพูดปนๆกัน  

 


Create Date : 23 สิงหาคม 2565
Last Update : 27 มกราคม 2567 14:52:11 น. 0 comments
Counter : 224 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space