กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
7 มิถุนายน 2565
space
space
space

แทรกเสริม





235 เมื่อเข้าใจวิธีแล้วเราพลิกแผลงได้หมด  ดูหลัก  “สมถะ”  กับ  “วิปัสสนา”  ทางแยก ทางร่วม 

- สัมปชัญญะ ก็ดี ธรรมวิจัย ก็ดี หรือปัญญาในชื่ออื่นๆก็ดี  ที่ทำงานให้เกิดความเห็นแจ้งรู้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตรงตามสภาวะที่มันเป็น เพื่อให้จิตหลุดพ้นเป็นอิสระ นี่แหละ คือ วิปัสสนา

- สติทำกิจสำคัญทั้งในสมถะ และในวิปัสสนา   หากพูดเปรียบเทียบ  ระหว่างบทบาทของสติในสมถะ กับ ในวิปัสสนา อาจช่วยให้ความเข้าใจมากขึ้น

  ในสมถะ สติกุมจิตไว้กับอารมณ์ หรือดึงอารมณ์ไว้กับจิต เพียงเพื่อให้จิตเพ่งแน่วแน่หรือจับแนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น นิ่งสงบไม่ส่าย ไม่ซ่านไปที่อื่น เมื่อจิตแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้น เป็นหนึ่งเดียวต่อเนื่องไปสม่ำเสมอ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ และเพียงเท่านั้น สมถะก็สำเร็จ

  ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ให้แก่จิต หรือดึงจิตไว้กับอารมณ์เหมือนกัน แต่มุ่งใช้จิตเป็นที่วางอารมณ์ เพื่อเสนออารมณ์นั้นให้ปัญญาตรวจสอบพิจารณา คือจับอารมณ์ไว้ให้ปัญญาตรวจดู และวิเคราะห์วิจัยโดยใช้จิตที่ตั้งมั่น เป็นที่ทำงาน



   หากให้อุปมา ในกรณีของสมถะ เหมือนเอาเชือกผูกลูกวัวพยศไว้กับหลัก ลูกวัวจะออกไปไหนๆ ก็ไปไม่ได้ คงวนเวียนอยู่กับหลัก ในที่สุด เมื่อหายพยศ ก็หมอบนิ่งอยู่กับหลักนั้นเอง จิตเปรียบเหมือนลูกวัวพยศ อารมณ์เหมือนหลัก สติเหมือนเชือก

   ส่วนในกรณีของวิปัสสนา เปรียบเหมือนเอาเชือกหรือเครื่องมือ ผูกตรึงคน สัตว์ หรือวัตถุบางอย่าง ไว้กับแท่นหรือเตียง แล้วตรวจดู หรือทำกิจอื่น เช่น ผ่าตัด เป็นต้น ได้ถนัดชัดเจน เชือกหรือเครื่องยึด คือ สติ คนสัตว์หรือวัตถุที่เกี่ยวข้อ คือ อารมณ์ แท่นหรือเตียงคือ จิตที่เป็นสมาธิ การตรวจหรือผ่าตัดเป็นต้นคือ ปัญญา

  ที่กล่าวมานั้น เป็นการพูดถึงหลักทั่วไป ยังมีข้อสังเกตปลีกย่อยที่ควรกล่าวถึงอีกบ้าง  อีกอย่างหนึ่ง คือ ในสมถะ   ความมุ่งหมายอยู่ที่ทำจิตให้สงบ   ดังนั้น  เมื่อให้สติกำหนดอารมณ์ใดแล้ว สติก็ยึดตรึงดึงจิตกุมไว้กับอารมณ์นั้น ที่ส่วนนั้นอย่างเดียว ให้จิตจดจ่อแน่วแน่แนบสนิทอยู่กับอารมณ์นั้นเท่านั้น ไม่ให้คลาดไปเลย จนในที่สุด จิตน้อมดิ่งแน่วแน่อยู่กับนิมิต หรือมโนภาพของสิ่งที่กำหนด ซึ่งเป็นเพียงสัญญาที่อยู่ในใจของผู้กำหนดเอง

   ส่วนในวิปัสสนา ความมุ่งหมายอยู่ที่ความรู้ความเข้าใจสภาวธรรม ดังนั้น สติจึงตามกำหนดตามจับตามถึงอารมณ์เฉพาะตัวจริงของมันตามสภาวะเท่านั้น และเพื่อให้ปัญญารู้เท่าทันครบถ้วนชัดเจนเกี่ยวกับสภาวะของมัน สติจึงตามกำหนดกำกับจับอารมณ์นั้นๆ ให้ทันความเป็นไปของมัน เพื่อปัญญาจะได้รู้อารมณ์นั้นโดยตลอด เช่น ดูมันตั้งแต่มันเกิดขึ้น คลี่คลายตัว จนกระทั่งดับสลายไป

   นอกจากนั้น จะต้องให้ปัญญาดูรู้อารมณ์ทุกอย่างที่เข้ามา หรือเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญญาจะต้องรู้เข้าใจ เพื่อให้เกิดความรู้เท่าทันตามความเป็นจริง สติจึงเปลี่ยนอารมณ์ที่กำหนด หรือที่จับให้ดูไปได้เรื่อยๆ

   อีกทั้งเพื่อให้ปัญญาดูรู้เท่าทันตรงตามที่สิ่งนั้นเป็นอยู่เป็นไปแท้ๆ สติจึงต้องตามจับให้ทันความเป็นไปในแต่ละขณะนั้นๆ ทุกขณะ ไม่หยุดติดค้างอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอารมณ์ใดๆ

  ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด  ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

  ในสมถะ   นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง   ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย   ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง  (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)
 


 
(น. 776)
 



Create Date : 07 มิถุนายน 2565
Last Update : 19 มกราคม 2567 18:03:20 น. 0 comments
Counter : 279 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space