กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2565
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
23 สิงหาคม 2565
space
space
space

ทิฏฐิ ความเห็น นั่นนี่โน่น




    ทีนี้  มีอีกอันหนึ่งอยากจะทำความเข้าใจ   เรื่องเกิดเรื่องตาย ตายเกิด ตายสูญ ในเรื่องตายแล้วเกิด กับ ตายแล้วสูญ  เราควรจะยึดถืออย่างไรดี  จริงอยู่  ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่พูดบ่งชัดว่า ตายแล้วเกิด  ไม่พูดว่าตายแล้วสูญ   พูดไว้ว่า  ถ้าถือว่าตายแล้วเกิดเป็นมิจฉาทิฏฐิ  ทีนี้  ไอ้ที่ถูกนั้นพูดอย่างใด   พูดว่า  สิ่งทั้งหลายย่อมเป็นไปตามปัจจัยปรุงแต่ง  เมื่อสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งก็ตามมา  อย่างนี้    เรียกว่าอาศัยเครื่องปรุงแต่ง   ที่พระองค์ได้ตรัสเช่นนั้น ก็เพราะว่า ในอินเดียสมัยนั้น   มันมีทิฏฐิอยู่หลายอย่าง   แต่ว่า   ที่เกี่ยวพันกันอยู่ ๒ ประการ

  สัสสตทิฏฐิ    เห็นว่าเที่ยง   เรียกว่า   สัสสตทิฏฐิ   นี่ความเห็นว่าเที่ยง  เป็นอะไรก็เป็นอยู่อย่างนั้นเรื่อยไป   เป็นคนก็เป็นคนเรื่อยไป   เป็นสัตว์ก็เป็นสัตว์เรื่อยไป นี่ สัสสตทิฏฐิ  อีกพวกหนึ่ง    เรียกว่า อุจเฉททิฏฐิ  หมายความว่า  สูญไปเลย  สองอย่างนี้  ถือว่า เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ไม่ถูกไม่ตรง  อันนี้พระพุทธศาสนาถือว่า  ไม่ใช่เที่ยงแล้วก็ไม่ใช่สูญ ถือเอาตรงกลาง ตรงกลางนั้น   หมายความว่า   สิ่งทั้งหลายมันเป็นไปตามเหตุปัจจัยปรุงแต่ง  แต่ไฟมันยังลุกอยู่ได้เพราะมีไส้มีน้ำมัน   พอไส้หมดน้ำมันหมดก็ดับไปเท่านั้นเอง   แล้วถ้ามีปัจจัยมาปรุงแต่งให้ไฟลุก มันก็ลุกขึ้นมาอีก  มันเป็นอย่างนั้น  นั่นคือหลักความจริงที่สอนไว้

   แต่ว่าในชีวิตของเราปุถุชนนี้  อยู่ในโลกนี้  ในความเชื่อว่า  ตายแล้วไม่เกิด กับ ตายแล้วเกิด ลองพิจารณาอันไหนดีกว่ากัน ?   ตามความเห็นของหลวงพ่อนี้เห็นว่า ถือว่า ตายแล้วเกิดดีกว่า เพราะว่าตายแล้วเกิดมันมีหวังสักหน่อยในชีวิต  มีหวังไว้ว่า  ข้างหน้ามันยังมีอยู่  ทำอะไรมันก็ต้องคิดหน้าคิดหลังหน่อย   แต่ถ้าคนไหนถือว่าตายแล้วไม่เกิดใหม่  มันจะฉิบหายไว เพราะมันไม่มีอะไร    ไม่มีอนาคต  มีแต่ปัจจุบันเท่านั้นเอง ไม่มีอนาคต   คนเราถ้าไม่มีอนาคตมันลำบาก

   เพราะฉะนั้น ในแง่ศีลธรรม   ในแง่ของคนธรรมดา   ควรจะถือว่าตายแล้วเกิดไว้ดีกว่า ไอ้เกิดอย่างไร อะไรไปเกิดนั้น นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องพิสูจน์กันอย่างมากมาย มันนอกเหนือปัญหา  แต่ถ้าเราถือหลักไว้ว่าตายแล้วมันเกิดอีก แล้วการเกิดอีกมันต้องรับอะไรต่ออะไรต่อไป อันนี้ มันยับยั้งชังใจได้บ้าง ทำให้คนกลัวบาปรักบุญ แล้วก็ทำอะไรๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สังคม
หลวงพ่อเคยสังเกตคนหลายคน   ที่เห็นว่าตายแล้วไม่เกิด  ไม่ค่อยเอาเรื่อง ไม่ค่อยบริจาคทรัพย์ ไม่ค่อยทำอะไรที่เป็นประโยชน์ เอาแต่เรื่องส่วนตัว กินเล่น สนุกสนาน ใช้คนเดียว ไม่คิดถึงเพื่อนมนุษย์ ไม่คิดสร้างโรงเรียน โรงพยาบาล วัดวาอารามอะไร ก็ไม่ค่อยเอาเรื่อง ไม่คิดแล้ว คิดแต่จะกินจะใช้คนเดียว ถ้าเมื่อเหลือก็เหลือไปตามเรื่อง อย่างนี้มันก็เสีย เพราะฐานมันตั้งไว้ผิด ถ้าฐานตั้งไว้ผิดแล้วอันอื่นมันก็พลอยผิดไปด้วย

   เพราะฉะนั้น ถ้าเรายังเป็นปุถุชนอยู่ ยังมีกิเลสอยู่ ถือว่าตายแล้วเกิดก็ยังดีกว่าตายแล้วสูญ เพราะว่ามันยังมีความหวังในอนาคต พอจะช่วยเหนี่ยวรั้งบังคับจิตใจไม่ให้เราทำอะไร ๆ ที่ทำความเสียหาย เช่น เกิดความโกรธจะฆ่าคนขึ้นมา มันยั้งใจได้   อือ   ไม่ดี   เดี๋ยวมันมาฆ่าเราในชาติต่อไป   ถ้าไม่ใช่ชาติต่อไป   เดี๋ยวชาตินี้มันจะมาฆ่าเราอีก   กรรมมันสนองกรรมอยู่ ทำให้คนมีความดีงามอยู่ในศีลธรรม จึงเป็นเรื่องที่ไม่เสียหาย
ถ้าเราจะตอบกับใครที่เขามาถามเรื่องนี้ เช่น เขาถามว่า ตายแล้วจะเกิดอีกไหม ก็ควรจะตอบไปว่า ถ้าคุณมีกิเลสแล้วมันเกิดเรื่อยไป ตอบไปอย่างนั้นว่า คุณยังมีกิเลสอยู่ มันเกิดเรื่อยไปแหละ ไม่จบไม่สิ้น เหมือนกับคนไปดูหนังแหละ ไปบาร์ ไนต์คลับ ถ้าคุณติดอกติดใจ คุณไปนั่งดูขาอ่อนต่อไปอีก มันเกิดอีกแหละ ไปเกิดในโรงหนัง ไปเกิดในบาร์ในไนต์คลับ เพราะว่าเรามันชอบ

   คนเราถ้ายังมีกิเลสก็หมายความว่ายังอยากจะอยู่ มันก็ต้องเกิดอีกแหละ แต่ถ้าไม่อยากอยู่แล้วมันอีกเรื่องหนึ่ง มันไปอีกเรื่องหนึ่ง อย่างนี้เราพูดกับเขาอีกเรื่องหนึ่ง นั่นมันตัดปัญหา ไม่ต้องพูดมากเกินไป ญาติโยมถามก็ตอบอย่างนั้น
โดยมากแล้วก็ชอบถาม ไปเทศน์ที่ไหนคนชอบถามมาก ตายแล้วเกิดอีกไหม ตายแล้วไปเกิดที่ไหน  ก็ตอบไปตามหลักศีลธรรม   ตอบว่า  ถ้ามีกิเลสท่วมหัวอยู่มันก็เกิดเรื่อยไป ไม่จบสิ้น ไอ้จะไปเกิดที่ไหน ก็สุดแล้วแต่การกระทำของเรา ถ้าเราทำดีก็ไปสวรรค์ หรือไปเป็นมนุษย์ ถ้าทำไม่ดีก็ไปนรก หมดกิเลสมันไปนิพพาน หลักมันก็ว่าอย่างนั้น เราก็ตอบอย่างนั้น คนเขาก็พอจะรับได้ แล้วก็เป็นเครื่องสนับสนุนศีลธรรม  ให้ศีลธรรมมีความตั้งมั่นอยู่ได้ เพราะความเชื่อแบบนั้น
เมื่อคนเหล่านั้นได้ศึกษาธรรมะไปมากขึ้นจนเข้าใจความจริง  เขาก็ปล่อยวางได้เอง  จิตใจก็สูงขึ้น พอจิตใจสูงขึ้นแล้วเขาก็ไม่ทำชั่ว พ้นระดับนั้นไปไม่เป็นไรแล้ว มันสำคัญตรงนี้ ไอ้หนุ่มทีนเอจ คนอยู่ในระบบศีลธรรมคล้ายกับหนุ่มทีนเอจ

   เพราะฉะนั้น ต้องระวังหน่อย จะได้เป็นพื้นฐานไว้ ความเชื่อว่าตายแล้วเกิด กับ ตายแล้วไม่เกิดนี่ ตายแล้วเกิดดีกว่า ใครเชื่อว่าตายแล้วไม่เกิดอันตรายล่อแหลมต่ออันตราย เดี๋ยวก็โกรธขึ้นมาว่า ตายแล้วหมดเรื่อง กูฟันหัวมันซะเลย มันก็ไปเท่านั้นแหละ แต่ถ้ายังคิดว่าไม่ได้ ว่ามันกรรมสนองกรรม เดี๋ยวมันเกิดตอบสนองเรา คิดดังนี้ มันเกิดยับยั้งชั่งใจ เป็นห้ามล้อจิตใจได้ ในเมื่อเราเข้าใจในรูปอย่างนั้น นี้ก็เป็นสัมมาทิฏฐิขั้นต้นๆ เรียกว่า อยู่ในขั้นศีลธรรม.

173 175 173

ตอนนี้  ทำให้เห็นว่า  ตำราทางพระพุทธศาสนาเขาจดบันทึกไว้นานแล้วเป็นพันๆปี   เรื่องทำนองนี้ทำนองนั้นคนสมัยโน้นสังคมยุคนั้นเขาคิดอย่างไร สมัยนี้คิดอย่างไร ไม่ใช่ว่าคนสมัยโน้นเขาใช้เทียนส่องแสง คนสมัยนี้อ่านแล้วยึดตำรา ก็จะให้กลับไปใช้เทียนใช้เทียนจึงเป็นพุทธแท้  ใช้ไฟฟ้าเป็นพุทธเทียม 9 

174

คนต่างศาสนิกว่า ว่า 450

มีคนพุทธเรียกศาสนาตนเองว่าศาสนาแห่งปัญญา และเหตุผล  แต่มีคนพุทธบางคน เชื่อว่ามีชาติก่อน ชาติหน้า ทั้งทั้งไม่ได้ใช้ปัญญาหรือมีเหตุผลพอจะให้เชื่อ

https://www.facebook.com/groups/800582937198178/user/738683511



 


Create Date : 23 สิงหาคม 2565
Last Update : 27 มกราคม 2567 14:29:08 น. 0 comments
Counter : 253 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space