กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
18 มิถุนายน 2565
space
space
space

แทรกเสริม เวทนา




    เวทนา  นี้ ถ้าแบ่งตามทางรับรู้ ก็มี ๖ เท่าจำนวนอายตนะ คือ เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางตา เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางหู เป็นต้น   แต่ถ้าแบ่งตามจำนวนคุณภาพจะมีจำนวน ๓ คือ

   ๑. สุข    ได้แก่    สบาย ชื่นใจ ถูกใจ

   ๒. ทุกข์    ได้แก่    ไม่สบาย เจ็บปวด

   ๓. อทุกขมสุข    ไม่ทุกข์   ไม่สุข   คือเรื่อยๆ เฉยๆ  ซึ่งเรียกว่าอีกอย่างหนึ่ง อุเบกขา 

อีกอย่างหนึ่ง แบ่งละเอียดลงไปเป็น ๕ อย่าง คือ

   ๑. สุข    ได้แก่   สบายกาย

   ๒. ทุกข์   ได้แก่   ไม่สบายกาย เจ็บปวด

   ๓. โสมนัส  ได้แก่   สบายใจ ชื่นใจ

   ๔. โทมนัส   ได้แก่  ไม่สบายใจ เสียใจ และ

   ๕. อุเบกขา   ได้แก่   เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์


กระบวนการรับรู้เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้

   


    อารมณ์ก็คือโลกที่ปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์ทางอายตนะต่างๆ การรับรู้อารมณ์เหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้มนุษย์มีความสามารถในการเกี่ยวข้องกับโลก  ทำให้ชีวิตอยู่รอดและดำเนินไปด้วยดี

   ในกระบวนการรับรู้นี้ เวทนาก็เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้บอกให้ทราบว่า อะไรเป็นอันตรายแก่ชีวิต ควรหลีกเว้น อะไรเกื้อกูลแก่ชีวิต ควรถือเอาประโยชน์ได้ เวทนาจึงช่วยให้กระบวนการรับรู้ที่ดำเนินต่อไป สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจที่ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น

   แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชน เวทนามิได้มีความหมายเพียงเท่านั้น  คือมิใช่เพียงแค่ว่ากระบวนการรับรู้ได้มีส่วนประกอบเพิ่มเข้ามาอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเสริมความรู้ได้สมบูรณ์ อันจะทำให้เขามีความสามารถมากขึ้น ในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม แต่เวทนายังหมายถึงการที่โลกมีอะไรอย่างหนึ่งเป็นผลตอบแทน หรือรางวัลแก่เขาในการเข้าไปเกี่ยวข้องกับโลกด้วย  ผลตอบแทนที่ว่านี้ คือความเอร็ดอร่อย ความชื่นใจที่เกิดจากอารมณ์ ซึ่งเรียกว่า สุขเวทนา

   ในกรณีที่กระบวนการรับรู้ดำเนินมาตามลำดับจนถึงเวทนา ถ้ามนุษย์หันเข้าจับเวทนาไว้ตามความหมายในแง่นี้ มนุษย์ก็จะหันเหออกไปจากกระบวนการรับรู้ ทำให้กระบวนธรรมอีกอย่างหนึ่งได้โอกาสเข้ามารับช่วงแล่นต่อไปแทนที่ โดยเวทนาจะกลายเป็นปัจจัยตัวเอกที่จะก่อให้เกิดผลสืบเนื่องต่อไป พร้อมกันนั้น กระบวนการรับรู้ซึ่งกลายไปเป็นส่วนประกอบ และเดินควบไปด้วย ก็จะถูกกำลังจากกระบวนธรรมใหม่นี้บีบคั้นให้บิดเบือน และเอนเอียงไปจากความเป็นจริง

   กระบวนธรรมรับช่วงที่ว่านี้ มักดำเนินไปในแบบง่ายๆพื้นๆ คือ เมื่อรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดความรู้สึกสุขสบายชื่นใจ (สุข-เวทนา) ก็อยากได้ (ตัณหา) เมื่ออยากได้ ก็ติดใจพัวพันจนถึงขั้นยึดติดถือมั่น (อุปาทาน)  ค้างใจอยู่   ไม่อาจวางลงได้  ทั้งที่ความเป็นจริง ไม่อาจถือเอาไว้ได้ เพราะสิ่งนั้นๆ ล่วงเลยผ่านพ้นหมดไปแล้ว  จากนั้น  ก็เกิดความครุ่นคิดสร้างภาพต่างๆ ที่จะให้ตนอยู่ในภาวะครอบครองอารมณ์อันให้เกิดสุขเวทนานั้น พร้อมทั้งคิดปรุงแต่งสร้างวิธีการที่จะให้ได้อารมณ์ และสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์นั้น แล้วลงมือกระทำการต่างๆ ทางกายบ้าง วาจาบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ เพื่อจะได้เวทนาที่ชอบใจนั้นยิ่งๆขึ้นไปอีก



235 พุทธธรรม ยากเข้าใจโดยเฉพาะฝ่ายนามธรรม




 


Create Date : 18 มิถุนายน 2565
Last Update : 20 มกราคม 2567 17:23:14 น. 0 comments
Counter : 378 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space