กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
สิงหาคม 2565
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
space
space
23 สิงหาคม 2565
space
space
space

แทรกเสริม


227จากมรรคมีองค์ ๘ สู่สิกขา ๓

   ไตรสิกขา นั้น  ถือกันว่า  เป็นระบบการปฏิบัติธรรมที่ครบถ้วนสมบูรณ์ มีขอบเขตครอบคลุมมรรคทั้งหมด และเป็นการนำเอาเนื้อหาของมรรคไปใช้อย่างหมดสิ้นบริบูรณ์ จึงเป็นหมวดธรรมมาตรฐาน สำหรับแสดงหลักการปฏิบัติธรรม และมักใช้เป็นแม่บทในการบรรยายวิธีปฏิบัติธรรม

   ในที่นี้ขอสรุปว่า มรรคเป็นระบบการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในแง่เนื้อหา ฉันใด ไตรสิกขา ก็เป็นระบบการปฏิบัติธรรมทั้งหมดในแง่การใช้งาน  ฉันนั้น และไตรสิกขานี้แหละ  ที่มารับช่วง หลักปฏิบัติ จากมรรคไปกระจายออกสู่  วิธีปฏิบัติ  ในส่วนรายละเอียดอย่างกว้างขวางต่อไป

   ความที่ว่ามานี้ มีความหมาย และเหตุผลอย่างไร จะได้พิจารณากันต่อไป

   มรรค มีชื่อเรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ (อริย+อัฏฐังคิก+มัคค์) เรียก เป็นไทยว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค บ้าง อารยอัษฏางคิกมรรค บ้าง แปลว่า ทางมีองค์แปดประการอันประเสริฐ ทางมีองค์ ๘ ของพระอริยะ   ทางมีองค์ ๘ ที่ทำคนให้เป็นอริยะ   ทางมีองค์ ๘ ที่พระอริยะคือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบ หรือ มรรคาอันประเสริฐ มีองค์ประกอบ ๘ อย่าง   องค์ หรือองค์ประกอบ ๘ อย่าง ของมรรคนั้น มีดังนี้

     ๑. สัมมาทิฐิ       
     ๒. สัมมาสังกัปปะ    
     ๓. สัมมาวาจา       
     ๔. สัมมากัมมันตะ   
     ๕. สัมมาอาชีวะ      
     ๖. สัมมาวายามะ    
     ๗. สัมมาสติ     
     ๘. สัมมาสมาธิ     

  มรรค มีองค์ ๘ นี้ บางครั้งเรียกกันสั้นๆว่า มรรค ๘ ชวนให้บางท่านเข้าใจผิดว่า เป็นทาง ๘ สาย    แล้วเลยถือความหมายว่าเป็นทางหลายเส้นทางต่างหากกัน หรือทอดต่อกัน เดินจบสิ้นทางหนึ่งแล้ว   จึงเดินต่ออีกทางหนึ่งเรื่อยไปจนครบทั้งหมด   กลายเป็นว่า หัวข้อทั้ง ๘ ของมรรค เป็นหลักการที่ต้องยกขึ้นมาปฏิบัติให้เสร็จสิ้นไปทีละข้อตามลำดับ  แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

   คำว่า   “มรรคมีองค์ ๘”   มีความหมายชัดเจนอยู่แล้วว่า  หมายถึง ทางสายเดียว มีส่วนประกอบ ๘ อย่าง เปรียบเหมือนทางหลวงที่สมบูรณ์ ต้องมีอะไรหลายอย่างประกอบกันเข้า จึงสำเร็จเป็นถนนได้ เช่น มีดิน กรวด ทราย หิน ลูกรัง ยาง หรือคอนกรีด เป็นขั้นลำดับขึ้นมา จนถึงผิวทาง รวมเป็นตัวถนนหรือพื้นถนน มีขอบคัน เส้นแนว ความเอียงเทของที่ลาดชัน โค้งเลี้ยว มีสัญญาณ เครื่องหมาย ป้ายบอกทิศทาง ระยะทาง และสถานที่ เป็นต้น ตลอดจนแผนที่ทาง และโคมไฟในยามค่ำคืน

   ถนนประกอบด้วยส่วนประกอบเหล่านี้ทั้งหมด และผู้ขับรถเดินทาง ย่อมอาศัยส่วนประกอบเหล่านี้ทุกอย่างไปพร้อมๆกัน ฉันใด มรรคก็ประกอบขึ้นด้วยองค์ ๘ ประการรวมกัน และผู้ปฏิบัติธรรม ก็ต้องใช้องค์ทั้ง ๘ ของมรรคเนื่องไปด้วยกันโดยตลอด ฉันนั้น


   อนึ่ง เพื่อให้มองเห็นเป็นหมวดหมู่ ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ท่านจัดองค์ประกอบทั้ง ๘ ของมรรคเข้าเป็นประเภทๆ เรียกว่าขันธ์ หรือธรรมขันธ์   แปลว่า  หมวดธรรม หรือกองธรรม มี ๓ ขันธ์ หรือ ๓ ธรรมขันธ์ กล่าวคือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ เรียกง่ายๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

    ทั้งนี้ โดยจัด สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เข้าเป็นหมวดศีล เหมือนดังจัดกองดินที่ก่อแน่นขึ้นพร้อมทั้งหิน กรวด ทราย วัสดุผิวจราจรที่เป็นตัวถนน หรือพื้นถนนเข้าเป็นพวกหนึ่ง   จัด สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ  เข้าเป็นหมวดสมาธิ เหมือนดังจัดขอบกั้น คันถนน เส้นแนว โค้งเลี้ยว เป็นต้น ที่เป็นเครื่องกำกับแนวถนน เป็นพวกหนึ่ง  จัด สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าเป็นหมวดปัญญา  เหมือนดังจัดสัญญาณ เครื่องหมาย ป้าย โคมไฟ เป็นต้น เป็นอีกพวกหนึ่ง

 


Create Date : 23 สิงหาคม 2565
Last Update : 27 มกราคม 2567 14:31:20 น. 0 comments
Counter : 290 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space