กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
6 มิถุนายน 2565
space
space
space

สีลมัย(ต่อ)

ต่อ

   นี่เรียกว่า ศีล ๕ อันนี้   ถ้าเขยิบขึ้นไปหน่อยเป็น ศีลอุโบสถ อุโบสถหรือศีล ๘ ถือกันในวันพระ ศีล ๘ สำหรับรักษากันในวันพระ เดือนหนึ่ง รักษากัน ๔ ครั้ง เดือนละ ๔ ครั้ง นี่เรียกว่าเป็นวันอุโบสถ

   อุโบสถนี้   หมายความว่าอย่างไร ?   เป็นวัตรปฏิบัติอันหนึ่งของผู้ต้องการรักษาจิตใจให้สะอาด เรียกว่า   อุโบสถ  อุโบสถ แปลว่า การเข้าไปเก็บตัว  เก็บตัวอยู่ที่ไหน ?  เก็บตัวอยู่ในรั้วของศีล ไปอยู่ในรั้วของศีล ๘ ข้อ ไม่ออกมานอกรั้ว  ยอมตัวถูกขังอยู่ในรั้ว ๘ ข้อนั้น  เรียกว่าเข้าอยู่อุโบสถ เก็บเนื้อเก็บตัวไม่ไปไหน ไม่ทำอะไรที่มันจะยุ่ง เรียกว่า รักษาอุโบสถศีล

   อุโบสถศีลมี ๘ ข้อ เพิ่มขึ้น ๓ ข้อ แล้วก็เปลี่ยนข้อ ๓  ให้สูงขึ้น เรารับศีล ๕ นั้น เรารับว่า กาเมสุ มิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ   แต่ว่าพอถือศีล ๘ เราเปลี่ยนว่า อะพ์รห์มะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ   “อะพรหม”   นี้หมายความว่า ไม่ประพฤติผิดพรหมจรรย์ พรหมจรรย์ คือ การรักษาจิตให้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นจากกามด้วยประการทั้งปวง ถือศีล ๕ นอนกับภริยา-สามีได้  ถือศีล ๘ ไม่ได้   ต้องแยกนอนกันละ   ในวันที่ถือศีล ๘ นี้ ต้องแยกกันอยู่ เคยนอนบนเบาะก็ต้องไปนอนบนพื้น เพราะมีศีลเพิ่มขึ้น ไม่รับประทานอาหารในยามวิกาล หลังเที่ยงไปแล้ว ไม่ฟ้อนรำขับร้องฟังดนตรี ดีดสีตีเป่า อันเป็นข้าศึกของพรหมจรรย์ ไม่นั่งนอนบนเตียงตั่งที่นอนใหญ่ อันใส่นุ่นหรือสำลี อะไรที่มันนอนสบายเกินไปนั่นน่ะ ต้องการอย่างนั้น ให้งดเว้นสิ่งเหล่านี้

   ไอ้ที่ไม่ให้กินอาหารในยามวิกาลนั่นเพื่ออะไร ? เพื่อตัดกังวลเรื่องอาหาร เพราะเรื่องกินนี่มันใหญ่เหลือเกิน ยิ่งครอบครัวใหญ่ๆ นั่นตื่นเช้าก็ต้องยุ่งเรื่องอาหารเช้า เสร็จแล้ว ยุ่งเรื่องอาหารกลางวัน เสร็จแล้วยุ่งเรื่องอาหารเย็น คนทำอาหารไม่ได้พักผ่อน เตรียมการณ์อยู่ตลอดเวลา เรื่องกินทั้งนั้น มนุษย์ยิ่งกินมากยิ่งยุ่งมาก ทีนี้ ตัดเรื่องการกิน ก็ลดการกินลงไปเสียบ้างในวันอุโบสถ ลดการกินอาหารเย็น เที่ยงแล้วไม่กินละ ไม่กินอาหารอะไร ตัดความกังวลในเรื่องอาหาร แล้วอีกประการหนึ่ง ลดส่วนเกินในร่างกาย เพราะเรากินอาหาร ๓ มื้อนี้ มันมีส่วนเกิน ร่างกายมันคึกคัก พรหมจรรย์มันจะเสีย ลองเรากินมันมากๆ มันคึกคักละ ร่างกายมันมีส่วนเกิน อะไร ๆ มันก็แข็งแรงขึ้นมาเลย เพราะฉะนั้น พระเราจึงต้องฉันอาหารน้อยๆ เพื่อไม่ให้มันวุ่น ให้มันหลับสนิท อย่าให้มันตื่น จุดหมายมันมีอย่างนั้น จึงไม่กินอาหารในเวลาวิกาล

   เคยเห็นพวกชาวจีนในปีนังเขาถืออุโบสถ  เขาไปอยู่วัด  อยู่ที่สมาคม  เขาเอาจริงเอาจัง  เขาให้อาหารผัก  ให้อาหารผัก ๒  มื้อ เช้า  เพล  แล้วก็ในระหว่างอาหารผักนี้เขาไม่ให้สูบบุหรี่   ใครถืออุโบสถงดสูบบุหรี่ด้วยนะ  งดสูบบุหรี่  กินหมาก  ถ้าใครกินหมากต้องงดกินหมากด้วยนะ   เขาให้กินแต่น้ำชา  ทางวัดจัดให้  ชงไว้ให้ใส่กาใหญ่ตั้งไว้เลย  ใครกินก็ได้รินเอาเลย  แล้วก็เวลาที่เขามีเวลาว่าง  เขาทำอไร เขาสวดมนต์ชักลูกประคำ  ต่างคนนั่งสวดมนต์  เขาไม่คุยกัน  คนรักษาศีลอุโบสถนี้เขาไม่ให้คุยกัน  ต้องคุยธรรมะ  พอพ้นเวลานั้นแล้วทุกคนต้องเก็บตัว  ควบคุมตัวเอง  เขามีลูกประคำคนละพวง  ลูกประคำ สวดมนต์ชักลูกประคำ  ปากว่า  นะโม  โอมีตาหุ้ง  นะโมโอมีตาหุ้ง  สวดเรื่อยๆ ชักลูกประคำเรื่อยไป  เพื่อให้จิตใจสงบ  พวกอุโบสถเขารักษาอย่างนั้น   ไม่ให้นอนกลางวัน  ให้นอนกลางคืน  พวกเราคนไทยมารักษาอุโบสถนอนมาก  พวกนั้นหลับเสียมาก  หลับน่ะมันไม่ได้รักษาศีล  เวลาหลับมันไม่ได้รักษาที่ใจ  มารักษาศีลที่กาย  มันปกติ  มันไม่ฆ่าใคร  เวลาหลับมันไม่ฆ่าใครดอก  ใจมันไม่ตื่นเวลานั้น  มันไม่รู้เรื่อง  มีการรักษาศีลนี่ต้องให้ใจตื่นอยู่  ให้ได้สู้กับอารมณ์  ฉะนั้น  ต้องตื่นอยู่  ต้องเจริญภาวนาคู่กับศีล  เพราะฉะนั้น  ต้องรักษาอย่างนั้นวันหนึ่งคืนหนึ่ง    

  ทีนี้ การห้ามไม่ให้ฟ้อนรำขับร้อง นัจจะ คือ การฟ้อน คีตะ คือการขับ วาทิตะ คือการประโคม วิสูกะทัสสะนา คือการดูที่มันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ มาลา คือการตบแต่งระเบียบดอกไม้ คันธะ คือของหอม วิเลปะนะ คือเครื่องลูกไล้ร่างกาย ทาแป้ง แต่งตัว ห้ามหมด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องยั่วอารมณ์ให้เกิดกิเลส เช่น เราทาแป้งก็ทำให้เราคิดถึงอะไรๆ มาล่อให้คิดถึงอะไรๆ ไปดูการฟ้อน การรำ ระบำโป้ มันยุ่งละ มันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ เขาจึงห้ามไว้ การนั่งนอนที่สบายมันนอนนานไป ไม่มีเวลาปฏิบัติใจ จึงได้บัญญัติศีล ๘ ประการนี้ไว้ เพื่อให้รักษา

   ทีนี้ ถ้าเป็นภิกษุสามเณรเพิ่มเป็น ๑๐ ศีล ๑๐ ข้อนี้ ความจริงเพิ่มข้อเดียว คือว่าแยกข้อที่ ๗ ออกเป็น ๒ ข้อ นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวระมะณี นี้ข้อหนึ่ง และมาลา ฯ อีกข้อหนึ่ง แยกข้อ ๗ ออกเป็นสอง และไปเพิ่มเอา ชาตะรูปะฯ อีกหนึ่งข้อ เป็น ๑๐ ข้อ ให้รักษาศีล ๑๐ ข้อนี้ สำหรับสามเณร สำหรับพระ พระมีศีล ๑๐ ข้อเป็นพื้นฐาน มีพระวินัยอีกมากมายเป็นเครื่องประกอบเพื่อให้ศีลอยู่อย่างมั่นคงยั่งยืน

   ศีลมันมีลักษณะอย่างนี้ เราจะต้องรักษา รักษาศีลแล้ว เช่นว่า ศีล ๕ นี้ เขาเรียกว่า ศีล ๕ ต้องมีกัลยาณธรรมห้า เขาเรียกว่าศีลธรรม ศีล ๕


Create Date : 06 มิถุนายน 2565
Last Update : 6 มิถุนายน 2565 8:13:41 น. 0 comments
Counter : 337 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space