กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
ตุลาคม 2565
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
6 ตุลาคม 2565
space
space
space

๒.ปัพพัชชา


ทีนี้ สัปปุริสบัญญัติ ข้อต่อไป

   ข้อที่สอง ได้แก่ ปัพพัชชา  ถือบวชเป็นอุบายเว้นจากเบียดเบียนกันและกัน คำว่า “ถือบวช” นี่ สัตบุรุษต้องเป็นคนถือบวช ถือบวช หมายความว่า งดเว้นจากการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน การถือบวช นั้น ไม่จำเป็นว่าจะต้องอย่างนั้นอย่างนี้ ทางร่างกาย ที่เราบวชนี่ เรียกว่า บวชตามวินัย ตามระเบียบวินัย วินัยว่า คนจะบวชในพระพุทธศาสนานี่ ต้องโกนหัว โกนหนวด ตัดเล็บมือเล็บเท้า ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะตามแบบนั้นๆ เรียกว่า เป็นการบวชในพระพุทธศาสนา อันนี้ เรียกว่า เป็นการบวชฝ่ายร่างกาย   ส่วน การบวชทางจิตใจ นั่น ก็คือว่าต้องงดเว้นจากอะไรหลายอย่าง งดเว้นทางใจ มีหลายอย่าง

   การถือบวชตามข้อบัญญัติของสัตบุรุษนี้ มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ว่า ให้งดเว้นจากการเบียดเบียนทุกรูปแบบ ที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนต่อบุคคลอื่น เช่น งดเว้นจากการเบียดเบียนทางร่างกาย คือไม่ทำอะไรให้ใครเดือดร้อนทางกาย ไม่เบียดเบียนทางจิตใจ ไม่ทำอะไรให้คนอื่นเดือดร้อนทางจิตใจ มันมีเหมือนกัน ทำให้คนอื่นเดือดร้อนทางจิตใจ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่นว่า เราเปิดเพลง หนวกหูชาวบ้าน มีงานมีการเปิดเพลงสนั่นหวั่นไหว เอาลำโพง ๔ อันขึ้นไปไว้บนยอดไผ่ ดังไป ๔ ทิศ นี่เบียดเบียนแล้ว เบียดเบียนจิตใจชาวบ้านให้นอนไม่หลับ ให้รำคาญ ให้วุ่นวาย เป็นการเบียดเบียนทางใจ ทำให้เขาเป็นทุกข์เป็นร้อน การก่อความรำคาญทุกประเภท เป็นการเบียดเบียนทางจิตใจผู้อื่น ทำให้คนอื่นเป็นทุกข์ ไม่ดี

   เบียดเบียนในเรื่องทรัพย์สินเงินทองก็ไม่ดี เช่น เราเป็นลูกอยู่กับพ่อแม่ ใช้สตางค์เปลือง ไม่เข้าเรื่อง เบียดเบียนแล้ว เบียดเบียนพ่อแม่ เบียดเบียนทรัพย์คุณพ่อให้ท่านต้องเดือดร้อน ต้องหาเงินมาให้เราใช้มากๆ   ไม่ใช่วิสัยของคนดี  คนดีนั้นต้องคิดอยู่ในใจเสมอว่า การคิดของเรา การพูดของเรา การกระทำของเรา   มันจะเดือดร้อนถึงใครบ้าง  เพียงแต่คิดมันไม่เดือดร้อนดอก  อยู่ข้างใน แต่ว่ามันจะออกมาเป็นการพูด   การกระทำ  พอออกมาเป็นการพูด  มันก็รำคาญหูคนอื่น แล้วกระทบกระเทือนถึงร่างกายด้วย  มันก็เสียหาย เพราะฉะนั้น เมื่อจะคิด จะพูด จะทำสิ่งใด ก็ต้องยึดหลักว่า ไม่ให้เดือดร้อนใคร ไม่ให้ใครลำบาก เพราะการพูดการกระทำของเรา  อย่างนี้  จึงจะเรียกว่าถือบวช  งดเว้นจากการเบียดเบียนใครๆ 

   ท่านมหาตมะคานธี  ท่านถือบวช  เขาเรียกว่า หลักสัตยาเคราะห์ งดเว้นจากการเบียดเบียนทุกประเภท  ท่านต้องอธิบายเป็นหนังสือเล่มใหญ่  ไอ้เรื่องการไม่เบียดเบียนกันนี่เป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว แล้วก็ต้องปฏิบัติตามหลักนั้น เพราะฉะนั้น  การต่อสู้ในทางการเมืองของท่านผู้นี้ จึงเป็นการต่อสู้ที่ไม่ต้องให้ใครวุ่นวาย  มีปัญหามากเกินไป  แต่ว่าคนมันมาก เอามันไม่ค่อยอยู่ดอก มันมีเรื่องบ่อยๆ ถ้ามีเรื่อง  คานธีก็ต้องอดอาหาร  เพราะบริวารทำไม่ถูก  อดอาหารเจ็ดวัน สิบห้าวัน เดือดหนึ่ง พวกนั้นก็เงียบกันเป็นแถว   คานธีจะตายแล้ว   เขาหยุดหมดละ ไม่ยุ่งละ พวกวุ่นวายจลาจลหยุดหมด กลัวท่านคานธีจะตาย เพราะคนรักชอบท่าน  เรียกว่า  ท่านคิดไปในทางอย่างนั้น ทางไม่เบียดเบียนใคร

   ทีนี้ ในด้านบวก นั่นในด้านลบ คือไม่คิดเบียดเบียนใคร ในฝ่ายบวกก็ต้อง มีใจเมตตา ปรารถนาแต่ความสุขความเจริญแก่ผู้อื่น เมื่อเราไม่เบียดเบียนเขา ก็ต้องช่วยให้เขาเป็นสุข มีทางใดที่จะพูดให้เขาสบายใจ มีทางใดที่จะทำให้เขาสบายใจ สัตบุรุษต้องทำเรื่องนั้น เมื่อมีโอกาสที่จะให้กระทำ ทำทันทีอย่าช้าอยู่เป็นอันขาด อย่างนี้ เรียกว่า ถือบวช งดเว้นจากการเบียดเบียนกัน

  เรื่องการถือบวชนั้น เช่นว่า   ศีล   เป็นต้น   เรารักษา  ก็เรื่องไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์(พุทธพจน์หมายถึงมนุษย์) นี่ก็ไม่เบียดเบียนทางกาย ไม่ลักของของเขาก็ไม่เบียดเบียนทางทรัพย์   ไม่ประพฤติผิดในกามก็ไม่เบียดเบียนกันในเรื่องความรัก   ไม่พูดโกหก คำหยาบ คำเพ้อเจ้อ ผรุสวาทต่อกันก็ไม่เบียดเบียนกันทางคำพูด   ดื่มสุราเมรัย   นี่ก็เบียดเบียนตัวเอง   เพราะทำตัวเองให้เสียหาย เสียสุขภาพอนามัยทั้งทางกาย ทางใจ แล้วกระทบกระเทือนคนอื่นอีก   เช่นว่า   ในครอบครัว  ถ้าพ่อบ้านเป็นคนขี้เมา   กระทบกระเทือนแม่บ้าน   กระทบกระเทือนถึงลูกถึงเต้า หาเรื่องตบตีลูกบ้างเมียบ้าง เอะอะโวยวายทำให้หวาดกลัวกันทั้งบ้านทั้งช่อง   เบียดเบียนกันทั้งนั้น  เขาจึงให้ถือศีล ๕ ข้อ เพื่อไม่ให้เบียดเบียนกันในเรื่องเหล่านี้   ผู้ถือศีล   ก็เรียกว่า   ผู้ถือบวชอยู่ในตัวแล้ว   เป็นสัตบุรุษแล้ว ไม่เบียดเบียนใครให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน

   งดเว้นไม่เบียดเบียนยังไม่พอ   แต่ต้องเพิ่มความเมตตา   การเคารพในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินของผู้อื่น มีอาชีพในทางที่ถูกที่ชอบ พอใจในคู่ครองของตัว พูดแต่เรื่องจริงเรื่องแท้ มีประโยชน์ มีสติ มีปัญญา ควบคุมจิตใจไม่ให้ไหลไปในทางชั่วทางต่ำ เป็นฝ่ายบวกเข้ามาอีก เรียกว่า เพื่อความดีให้มากขึ้น
ในเรื่องสัตบุรุษ   ต้องอยู่ด้วยการไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน ถ้าเราประพฤติได้ในข้อนี้มันสบาย ไปอยู่ที่ไหน ไม่มีเวรมีภัยกับใคร เจอหน้าใคร เรายิ้มทักทายปราศรัยเป็นพี่เป็นน้อง เป็นญาติเป็นมิตรกัน มีอะไรก็ช่วยเหลือจุนเจือกัน ตามสมควรแก่ฐานะ ไม่มีเวร ไม่มีภัย ไม่มีศัตรูผู้มุ่งร้าย  แต่เราคิดมุ่งร้ายหมายขวัญต่อคนอื่น   เราก็สร้างศัตรูรอบทิศ   แล้วจะนอนหลับได้อย่างไร ชีวิตมันไม่เป็นสุขอย่างนี้ มันเป็นเรื่องวุ่นวายในชีวิตประจำวัน ท่านจึงสอนให้งดเว้นจากการเบียดเบียนกันเป็นประการที่สอง


Create Date : 06 ตุลาคม 2565
Last Update : 6 ตุลาคม 2565 18:04:24 น. 0 comments
Counter : 245 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space