กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
กันยายน 2565
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
space
space
11 กันยายน 2565
space
space
space

อคติ(จบ)




   ถ้าหลีกเลี่ยงให้พ้นจากอคติ ๔ นี้แล้วก็เรียบร้อย ไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นยุ่งยาก ลำบากในเรื่องการแบ่งสันปันส่วน คนเรานี้มันวุ่นตรงนี้ อะไรๆก็จะเอาเท่ากันหมด มันไม่ได้ดอก ความจริงไอ้เท่ากันนี้มันก็ไม่ได้ มันเท่ากันยาก แบ่งให้เท่ากันทุกอย่างนั้นก็ไม่ได้เสมอไป แต่ว่าให้ได้พอสมควรกัน ตามฐานะตามอะไรไปตามเรื่องที่จะให้เท่ากัน ความยุติธรรมที่เรียกว่ายุติธรรมในโลกนี้จะสมบูรณ์ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ไม่ได้ มันก็ขาดบ้างเกินบ้าง แต่เราก็พอใจว่าเท่านั้นก็เป็นธรรมแล้ว มันเป็นธรรมตรงทีว่าพอใจ ถ้าไม่พอใจแล้วรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม แม้จะทำถูกต้องตามระเบียบ แต่ว่าคนไม่พอใจก็ยังมองเห็นว่ามันไม่เป็นธรรมอยู่นั่นเอง มนุษย์เรามันอย่างนั้น เพราะปกติมนุษย์เรานี่คิดอะไรเข้าข้างตัว ไม่ได้คิดให้เป็นกลาง ถ้าคิดเป็นกลางแล้วมันก็พอมองเห็นถูกต้องชัดเจน แต่ว่าไม่ได้คิดอย่างนั้น มักจะเอาตัวเป็นพื้นฐาน แล้วเอาตัวไปวัดเพื่อจะได้นั่นเพื่อจะได้นี่อะไรไปต่างๆนานา นี่แหละมันจึงเกิดเป็นปัญหาเกิดความวุ่นวายกันในสังคม.


   เพราะฉะนั้น  ท่านจึงวางหลักไว้ว่า  ให้ทำอย่างเที่ยงตรง  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในเรื่องนั้นๆ  เรื่องมันก็จะได้เป็นความเรียบร้อยลงไป   นี่เป็นหลักสำหรับผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับบุคคลต่างๆเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม  เช่น  เราเป็นข้าราชการ  เขาให้เงินงบประมาณมา เพื่อจะไปพัฒนาตำบลต่างๆ  จะทำอย่างไรจึงจะให้เป็นธรรม  มันก็ไม่ใช่เรื่องยาก  เป็นเรื่องง่าย  มันต้องเรียกประชุมเจ้าของตำบลนั้นๆ มีใครบ้าง  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  มาปรึกษาหารือกัน ว่าจะจัดจะทำอะไร  จะต้องใช้เงินงบประมาณเท่าไรแล้วก็แบ่งสันปันส่วนกันให้เป็นที่พอใจ ให้แก่เขาในสิ่งที่เขาต้องการ  แล้วเขาก็ควรจะรับ  เช่น  ชาวบ้านตำบลนี้อยากจะได้สระน้ำ ก็ให้เงินไปขุดสระกัน  เงินเท่านี้น่ะจะไปจ้างคนขุดมันก็ไม่พอดอก  ต้องไปช่วยกันขุดไปตามเรื่อง เงินนี้เอาไปใช้ในสิ่งที่เราทำไม่ได้  เช่นว่าซื้อปูนบ้าง  อะไรบ้าง  เอามาก่อกันทำกันให้มันเรียบร้อย  ทำบ่อให้น้ำลงไปในบ่อแล้วไปตักกัน   มันไม่เลอะเทอะเปรอะเปื้อน  ไม่ต้องลุยน้ำลงไปในสระ   แข้งขามันเปื้อนโคลน  แล้วน้ำมันก็จะเสียหาย  เราใช้เงินนี้ไปทำกัน  แบ่งกันให้เป็นที่พอใจทุกฝ่าย  มันก็ไม่มีเรื่องอะไร 
ไอ้ที่มีเรื่องกันเพราะว่าไม่ประชุมกันให้พร้อม  ซุบซิบๆ แล้วก็แบ่งกันไป บางทีแบ่งแล้วก็เม้มเอาไว้หน่อย  ค่าเป็นกรรมการ นี่มันวุ่นวาย   จะเอาค่าเป็นกรรมการเสียด้วย  อย่างนี้มันก็เสียหาย   ทีนี้ถ้าเราทำให้ขาวสะอาด  ประชุมกันเปิดเผยให้รู้ว่านี่งบประมาณได้มาเท่านี้  ได้มา ๑๐ บาท  แล้วจะแบ่งกันยังไงในสี่ตำบลนี้   ใครจะเอาสักเท่าไร  จะเอาไปทำอะไรกันบ้าง  เสนอเรื่องเสนอราวมา ทุกคนเห็นด้วยไหม  มันอาจจะไม่เห็นด้วยหมด ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์   แต่ว่าในโลกนี้เขาถือเอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์    ถ้าเสียงข้างมากว่าอย่างไรแล้ว  เป็นอันตกลงกันว่าเอาตามนั้น  แล้วเราทุกคนก็ให้พอใจ  อย่างนี้มันก็ไม่มีอะไรวุ่นวาย  จึงต้องวินิจฉัยตัดสินปัญหากันด้วยหลักวิธีการอย่างนั้น.


  ในหมู่พระเรานี้ก็เหมือนกัน มีข้าวมีของก็ให้แบ่งกันตามลำดับพรรษา เขาตั้งระเบียบวางไว้อย่างนั้น ตามลำดับพรรษาก่อน แต่ว่าตามลำดับพรรษาแล้ว บางองค์มีผ้าเก่าขาดก็ต้องให้องค์นั้น ละพรรษาเอาไปให้องค์ที่มันแย่แล้วขาดเก่าเต็มที่แล้ว ให้องค์นั้นไป  ตัวอย่าง เช่น การทอดกฐินนี่ กฐินคือการถวายผ้าแก่พระ การถวายเขาไม่ได้ถวายบุคคล ถวายสงฆ์ ภิกขุสังฆัสสะ มอบให้แก่หมู่สงฆ์ เพื่อมอบให้หมู่สงฆ์ แล้วหมู่สงฆ์ก็ต้องปรึกษาหารือกันว่าจะแบ่งให้แก่ใคร กฐินนี้ควรจะให้แก่ใคร

ครั้งแรกต้องคิดว่าให้แก่ผู้ที่มีพรรษามาก่อน เป็นใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ นี่อันดับแรก อันดับต่อไป ก็พิจารณาว่า ใครมีผ้าเก่าที่สุดในหมู่ของเรา มันขาดกระรุ่งกระริ่งปะหน้าปะหลังแล้ว ควรเปลี่ยนแล้ว ก็ต้องย้าย ไม่ใช่หัวหน้าต้องเอาทุกที องค์นั้นผ้าเก่ามากก็ต้องโอนไปให้องค์นั้น ประชุมสงฆ์ตกลงกันด้วยการเสนอญัตติในท่ามกลางสงฆ์ เสนอให้สงฆ์พิจารณาว่าเวลานี้ ผ้ากฐินเกิดขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ เราได้พิจารณาเห็นว่า พระองค์นี้มีผ้าเก่าขาดมาก ควรจะยกให้องค์นี้ไป พระก็สวดญัตติจบ พระก็นั่งเฉยๆ นั่งเฉยคือรับนั่นเอง ถ้าไม่รับก็คัดค้าน ต้องแบ่งกันใหม่ พิจารณากันใหม่

แต่ถ้าหากทุกคนเงียบกริบ หมายความว่าตกลง เมื่อตกลงแล้วเป็นอันว่าใช้ได้ เหมือนกับเราบวชในโบสถ์ พระทุกองค์ที่นั่งอยู่ต้องนิ่ง หมายความว่า  ยอมรับ  แต่องค์ใดคัดค้าน บอกว่าเป็นหนี้ชาวบ้านอยู่หลายหมื่น  เอามาบวชไม่ได้  บวชไม่ได้   เป็นประชาธิปไตยแท้ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ในหมู่สงฆ์เรา เพราะถือเอกฉันท์   ไม่ได้เอาเสียงข้างมาก  ต้องเป็นเอกฉันท์เลยทีเดียว ไม่ว่าทำอะไร แบ่งข้าวแบ่งของแบ่งอะไรกัน ต้องเป็นเอกฉันท์ เขาจดคือบัญญัติไว้อย่างนั้น

   วัดหนึ่งๆ ต้องมีเจ้าหน้าที่จัดนั้นจัดนี้ แบ่งลาภแบ่งผล สวดมนต์ไหว้พระ ที่ไปตามบ้านฉันเพลเขาก็แบ่งไปให้ทั่วถึงกัน เราพระใหม่เขาไม่แบ่งไป เพราะสวดไม่เป็น เว้นแต่เจ้าบ้านเขานิมนต์เจาะจงมา ก็ไปนั่งหลับตาไปเรื่อยๆ นั่งเถอะเรา ไม่ต้องกระดาก เขารู้เพิ่งบวชสวดไม่ได้ แต่ถ้าบวชหลายปีแล้วไปนั่งอย่างนั้นมันก็ไม่ไหว กว่าจะจบมันร้อนอกร้อนใจ สวด ๑๕ นาที มันยาวราวกับสวด ๑๕ ชั่วโมง อึดอัด แต่ไม่ต้องละอาย เพราะเรามันบวชแล้วสึก ไม่จำเป็นต้องท่องสวดมนต์อย่างนั้น เขาก็ให้อภัย   แต่ถ้าเป็นลาภอื่น เช่น เขานิมนต์บังสุกุลหมดวัด   ก็ต้องแบ่งกันไปตามเรื่อง แบ่งกันอย่างนั้น เรื่องมันก็ไม่วุ่นวาย ไอ้ที่ไหนวุ่นวายเรื่องลาภผล แสดงว่ามันเกิดอคติกันเหลือเกินแล้ว ทนไม่ไหวแล้ว พระลูกวัดต้องเดินขบวนกันแล้ว อย่างนี้ มันก็แย่แล้ว มันเกิดจากอคติ ไม่ว่าที่ไหนมีอคติแล้วก็ยุ่ง.

   ตามโรงเรียน ตามวิทยาลัยต่างๆ   ที่เกิดอคติ  มันก็ยุ่งกันวุ่นวายกัน  มีปัญหา เพราะฉะนั้น ถ้าตัดตัวนี้ออกมันก็เรียบร้อย   เรามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับอะไรต้องไม่มีความลำเอียง

แม้อยู่ในครอบครัวก็ลำเอียงไม่ได้ เช่น เรามีลูก ๕ คน อย่าลำเอียง ต้องให้มันสม่ำเสมอ จะแจกสตางค์ก็ต้องเอามาแจกให้ทั่วหน้า ให้ทุกคนเห็นว่าได้รับอย่างไร  ไอ้คนพี่มันโตหน่อยต้องบอกว่า พี่โตร่างกายแข็งแรงขึ้น   ต้องกินอาหารเพิ่ม  แล้วไปโรงเรียนต้องนั่งรถไกล ก็ต้องให้เพิ่มหน่อย สมมติว่าให้พี่นี่ ๕ บาท ไอ้ตัวเล็กๆให้สัก ๓ บาท ตามขั้นตามฐานะให้เขาพอใจ อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า ที่ให้อย่างนี้ ไม่ใช่เพราะอะไร เพราะว่าความจำเป็นแก่ชีวิต มันเพิ่มขึ้น  ถ้าลูกคนเล็กโตเท่าคนนี้ มันก็ได้ ๕ บาทเหมือนกัน อธิบายให้เข้าใจ เด็กถ้าทำให้ไม่เข้าใจ มันจะมองว่าพี่ทำไมได้มาก เราทำไมได้น้อย มันไม่รู้นี่ แล้วมันเกิดเป็นหนามยอกอกอยู่เรื่อย แล้วก็เกลียดกัน น้องเกลียดพี่ ไอ้พี่ก็จะเกลียดน้องต่อไป ความเป็นอยู่ในครอบครัวมันไม่เรียบร้อย เพราะฉะนั้น ต้องประชุมกัน แบ่งกันให้สมน้ำสมเนื้อ.


   หลัก ๔ ประการนี้สำคัญ  เป็นหลักที่เอาไปใช้เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกกัน เพื่อให้อยู่ร่วมกันด้วยความพอใจแก่กันและกัน จึงต้องใช้ได้ ใครมีหน้าที่จะต้องทำอะไรที่เกี่ยวกับคนมากก็ต้องนึกถึงไว้ นึกถึง ๔ ข้อนี้ไว้
เราจะไม่ลำเอียงเพราะรักใคร่
ไม่ลำเอียงเพราะไม่ชอบพอ
ไม่ลำเอียงเพราะความเขลา
ไม่ลำเอียงเพราะความกลัว
เป็นหลักธรรมสำคัญที่จะต้องใช้ในชีวิตประจำวันเหมือนกัน เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องกับคนนั้นคนนี้ ลำเอียงไม่ได้ เข้าข้างตัวมันก็ลำเอียงแล้ว เพราะรักตัวแล้วเราไปเอาเปรียบคนนั้นคนนี้ มันก็เสียหาย ไม่ดี นี่อคติ ๔ ประการ.


Create Date : 11 กันยายน 2565
Last Update : 11 กันยายน 2565 12:53:29 น. 0 comments
Counter : 332 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space