กรรมเก่า คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.เป็นเจ้าบทบาทเดิม จากนั้น การศึกษาอาศัยปรโตโฆสะ ซึ่งมีคติว่า "คนเป็นไปตามสภาพแวดล้อมที่ปรุงปั้น" และโยนิโสมนสิการ ซึ่งมีคติย้อนกลับว่า "ถ้าเป็นคนรู้จักคิด แม้แต่ฟังคนบ้าคนเมาพูด ก็อาจสำเร็จเป็นพระอรหันต์"
space
space
space
<<
มิถุนายน 2565
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
14 มิถุนายน 2565
space
space
space

ตัวเรา คืออะไร (ต่อ)



   ทีนี้  ที่เป็นความจริงนั้นหมายถึงอะไร ?  หมายถึง  สภาวะที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ  เช่น  เรื่อง ขันธ์ เรื่อง ธาตุ เรื่อง อายตนะ  อันเป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่า  ความเป็นจริง - สัจจะ  ไม่ใช่เรื่องสมมติ.

   เราจึงควรรู้ว่า ในตัวเรานี้  มันมีทั้งเรื่องสมมติ และเรื่องความจริง  อะไรเป็นเรื่องสมมติ ก็อย่ายึดมั่น ให้รู้จักปล่อยวาง  อะไรเป็นเรื่องความจริง  ก็ให้ยึดถือไว้*  (คำว่า “ยึดถือไว้” ในที่นี้ มิได้มีความหมายว่า ยึดมั่นถือมั่นที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ แต่มีความหมายในทางถูกต้อง คือยึดถือไว้ในฐานะเป็นความจริงที่เราต้องมองให้เห็นชัดว่ามันเป็นสักแต่ว่าอย่างนั้นเอง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา หรือเป็นสูญญตา ฯลฯ ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเราของเราไม่ได้ เมื่อเห็นชัดถึงที่สุด จิตก็สิ้นความยึดถือโดยประการทั้งปวง)   เพราะการยึดมั่นถือมั่นเป็นทุกข์ทั้งนั้น  อุปาทาน  เขาเรียกว่า  ยึดมั่นถือมั่น เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์.
ชีวิตของเรานี้เป็นตัวการ   คำว่า   “ชีวิต”   หมายความว่าอย่างไร ?   เขาพูดคำว่า  ชีวิตคือความเป็นอยู่   พระท่านสวดศพว่า  ชีวิตคือความเป็นอยู่   ใครห่อนรู้กำหนดกาล  อย่างนี้ เป็นต้น  หมายความว่า  มันเป็นอยู่  สิ่งใดมีชีวิต  สิ่งนั้นยังเป็นอยู่  สิ่งใดไม่เป็นอยู่  สิ่งนั้นมันไม่มีชีวิต.  ทีนี้   ที่เป็นอยู่มันเพราะอะไร   ที่เป็นอยู่ได้มันเพราะอะไร   ที่เรียกว่า  ชีวิตคือการเป็นอยู่  คือยังไม่ตาย แล้วที่เป็นอยู่มันเพราะอะไร ?  ก็เพราะว่าความเปลี่ยนแปลง  ตัวความเปลี่ยนแปลงคือชีวิต ความเปลี่ยนแปลงคือชีวิต

   ดูในร่างกายของเรานี้ อะไรมันเปลี่ยนแปลงบ้าง เปลี่ยนอยู่ทุกอย่าง เห็นง่ายๆ ลมหายใจ เปลี่ยนตลอดเวลา หายใจเข้า หายใจออก หายใจออก หายใจเข้า นี่คือสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ก็เรียกว่าชีวิต เพราะมีลมเข้าลมออก ถ้าลมหยุดก็ไม่มีชีวิต แล้วลมเข้าลมออกนั้นมันไม่เปลี่ยนแปลง แต่ลมเข้าลมออกอยู่ เลยไปทำให้โลหิตในร่างกายเปลี่ยนแปลงด้วย เพราะลมหายใจเข้าเป็นออกซิเจน เข้าไปแล้วทำให้โลหิตดำเป็นโลหิตแดง ส่งขึ้นไปเลี้ยงร่างกาย แล้วเอาฟอกใหม่ ไม่เหมือนน้ำมันหยอดเครื่องใช้แล้วเททิ้ง ไอ้โลหิตดำเททิ้งมันก็แย่ เพราะฉะนั้นต้องหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงด้วยการเอามาฟอกใหม่ เช่น โลหิตดำกลับมาก็มาฟอก ฟอกแล้วไอ้ส่วนเสียก็หายใจออกมา

จมูกสองรูของมนุษย์นี้มันท่อไอเสียนั่นเอง ท่อไอเสีย แต่ว่าท่อไอเสียของมนุษย์มันเอามาไว้ตรงหน้า ใต้ตาเหนือปาก เข้าที แล้วก็ทำอย่างประณีต ไม่มีควันดำออกมา เรียบร้อย ถ้าหายใจเป็นควันดำ โลกมันจะสงบกว่านี้ มนุษย์ไม่เข้าใกล้จึงไม่ยุ่ง นี่มันไม่ดำ มนุษย์ถึงเข้าใกล้กันบ่อยๆ และเข้าใกล้กันแล้ว ก็ชอบเอาไปติดกันเสียด้วย นี่มันยุ่ง ติดทีไรมันยุ่ง มนุษย์มันชอบอย่างนั้น นี่ท่อไอเสีย ถ่ายของเสียออกมาทางท่อไอเสียเป็นคาร์บอนไปแล้ว ก็เอาออกซิเจนเข้าไปล้างต่อไป และนี้แหละเปลี่ยนแปลง

   อาหารที่เรารับประทานเข้าไปมันก็เปลี่ยนแปลง ถูกย่อยให้เป็นโอชะ เอาส่วนที่ร่างกายจะใช้ไปเลี้ยงร่างกาย ส่วนเสียก็ปล่อยเป็นกากลงไปในลำไส้ตามลำดับ ตื่นเช้าต้องทิ้งทุกที นี่คือการเปลี่ยนแปลง  กล้ามเนื้อทุกส่วนเปลี่ยนแปลงทั้งนั้น

ผมที่หงอกออกไป หลุดไป  ผมใหม่ขึ้นแทน  เล็บเก่าหลุดเล็บใหม่ขึ้นมาแทน  หนังเก่าลอกไป หนังใหม่ออกมาแทนสืบต่อไป  อาการสืบต่ออย่างนี้ภาษาธรรมะเรียกว่า  “สันตติ”   แปลว่า  การสืบเนื่องของสิ่งต่างๆ  ทีนี้  มันสืบเนื่องด้วยอะไร ?   ด้วยปัจจัยมันหล่อเลี้ยง.  ปัจจัย  แปลว่า สิ่งที่ไปหล่อเลี้ยง   ทำให้เกิดอะไรขึ้นมา   เรากินอาหาร  เราดื่มน้ำเข้าไปจึงมีชีวิตอยู่ได้ กินข้าวไม่ได้ หายใจไม่ได้  มันก็ตายเท่านั้น  หมดชีวิต  ที่สุดของชีวิตก็คือที่สุดของการเปลี่ยนแปลง ที่สุดของการเปลี่ยนแปลง ก็คือความตาย  ทุกคนต้องเป็นอย่างนั้น  อันนี้  เป็นกฎตามธรรมชาติ มีเกิด มีดับ อยู่ไม่ได้ จะอยู่ค้ำฟ้าไม่ได้ มันต้องเข้าโลงสักวันหนึ่ง 
แม้โลกที่เราอยู่อาศัยนี้  มันก็ต้องแตกสักวันหนึ่ง เพราะโลกมันก็เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย   มันจะแตกเมื่อไรตามเรื่อง  เราอยู่ไปก่อน มันอย่างนี้ เรื่องของชีวิตมันอยู่ในลักษณะอย่างนี้


     ชีวิตนี้  มันประกอบด้วยอะไรบ้าง ?    ประกอบด้วยสิ่ง  ๒ ประการ  เราเรียกว่า รูป กับ นาม  ชีวิตของเรานี้มีรูป กับ นาม  รูปคือร่างกาย นาม คือ จิต หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า กาย กับ จิต ก็ได้  ใจเป็นภาษาไทย   จิตเป็นภาษาบาลี   แต่เมื่อเวลาเราพูดมักจะเอาทั้งบาลีและไทย คือพูดว่าจิตใจ

    ถ้าพูดว่า ใจเฉยๆ กลัวจะฟังไม่รู้เรื่อง ว่าใจมันเป็นอย่างไร ?  เลยพูดไปทั้งสองภาษา ความจริงมันก็อันเดียวกัน จิต กับ ใจ ของอันเดียวกัน เรามีกาย และก็มี ใจ  กายนี้เราว่าเป็นเรื่องรูป เมื่อมีรูปมีนามมารวมกัน  ก็มีชีวิต  รูปนามแตกแยกออกจากกันก็ไม่มีชีวิต  นี่คือร่างกาย ชีวิตประกอบด้วยของ ๒ สิ่งนี้

    เรื่องของรูปนั้น   มีเพียงเรื่องเดียว  (ว่าตามพระสูตร  ส่วนอภิธรรมจำแนกละเอียดเป็น ๒๘);   แต่ นาม นั้น แบ่งออกเป็น ๔ อย่าง  แบ่งออกเป็น  เวทนา เป็น สัญญา เป็น สังขาร เป็น วิญญาณ ที่เราสวดเช้าๆ นั้นน่ะ รูปัง อะนิจจัง เวทนา อะนิจจา  ฯลฯ  ว่าอย่างนั้น  สวดเรื่องตัวเราทั้งนั้น  ไม่ได้สวดเรื่องคนอื่น  ให้รู้ว่าตัวเราเป็นอย่างไร  รูป ก็เป็น รูป  นามแบ่งออก ๔ รวมกันแล้ว  เรียกว่า ขันธ์ ๕ แปลว่า กอง  เรียกว่า ๕ กอง  เรียกเป็นบาลีว่า ปัญจขันธ์   ปัญจ  แปลว่า ๕ ปัญจขันธ์  แปลว่า  ขันธ์ ๕  คือ กองรูป กองเวทนา กองสัญญา กองสังขาร กองวิญญาณ แบ่งเป็นกองๆได้ ๕ กอง รูป มีเรื่องเดียว นามมี ๔ เรื่อง รวมเป็น ขันธ์ ๕





235  นักธรรมบ้านเราส่วนใหญ่  หยิบยกขันธ์  ธาตุ  อายตนะ  ซึ่งเป็นสัจจธรรมขึ้นพูดเพื่อค้นหาอะไรๆที่ตนเองคิดว่าเป็นสัจจธรรม  ดังคนถือทองแท้เดินแลกทองปลอมฉะนั้น เลยคลาดจากของจริงไป (ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒  ธาตุ ๑๘) 

 




 

Create Date : 14 มิถุนายน 2565
0 comments
Last Update : 20 มกราคม 2567 15:49:53 น.
Counter : 264 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

space

สมาชิกหมายเลข 6393385
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 6393385's blog to your web]
space
space
space
space
space