Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
11 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
การบริโภคถั่วเหลืองเพื่อสุขภาพ



สตรีวัยก่อนหมดประจำเดือนหรือหลังหมดประจำเดือนแล้วก็ตาม จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกผุบาง
แพทย์จึงมักรักษาโดยการให้ฮอร์โมนทดแทน ซึ่งจะมีปัญหาตามมาอีกคือ มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่เต้านม
ถ้าใช้ฮอร์โมนทดแทนนานเกิน 5 ปีขึ้นไป (ยังต้องรอผลการศึกษาใหม่ว่าอาจจะมีโอกาสน้อยหรือไม่เป็นเลย?)

ในสารสกัดจากถั่วเหลืองจะมีสารชื่อ "ISOFLAVONES" ซึ่งเป็นสารที่มีประโยชน์ในสตรีวัยทอง
เพราะออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (PHYTORESTROGEN) แต่อ่อนกว่ามาก
จะช่วยเพิ่มมวลกระดูก(bone Mass) ให้หนาแน่นขึ้นโดยลดการละลายแคลเซียมออกจากกระดูก

นอกจากนี้แล้ว ISOFLAVONES ยังลดอาการหมดประจำเดือนอย่างอื่นๆ อีก
เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อแตก ไขมันสูง ช่องคลอดแห้ง อารมณ์ไม่ปกติ เป็นต้น
ในสัตว์ทดลองปรากฏว่า ช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม, มะเร็งช่องคลอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งต่อมลูกหมาก
อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งต้องการการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก

ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นบริโภคถั่วเหลืองกันมา เป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบอาหารชนิดต่างๆ
เช่น เต้าหู้, น้ำถั่วเหลือง, เต้าเจี้ยว ฯลฯ
ปรากฏว่าสตรีชาวจีนและชาวญี่ปุ่น ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับอาการหมดระดูต่างๆ เหมือนชาวตะวันตก
ดังนั้นชาวตะวันตกจึงเริ่มศึกษาถึงผลประโยชน์ของถั่วเหลือง เมื่อสองทศวรรษที่ผ่านมาว่า
สตรีชาวตะวันออกแตกต่างกับสตรีชาวตะวันตก เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนอย่างไรบ้าง
ทำไมชาวญี่ปุ่นจึงไม่มีอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) หรือเป็นมะเร็งเต้านมเหมือนชาวตะวันตก
ในถั่วเหลืองมีสารสำคัญอะไรบ้าง ที่ช่วยให้สตรีชาวตะวันออกมีสุขภาพดีกว่า เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่า
เมื่อสกัดสารโปรตีนจากถั่วเหลืองออกมา ในปริมาณ 1 กรัม จะมีสาร ISOFLAVONES 1-2 มิลลิกรัม
ถ้าใช้ความร้อน หรือแอลกอฮอล์สกัดสารตัวนี้ออกมาจะทำให้สาร ISOFLAVONES ในปริมาณไม่เท่ากัน
เพราะสาร PHYTOESTROGEN จะถูกแอลกอฮอล์ละลายออกมาหมด ทำให้ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา

ดังนั้นเวลาเลือกซื้อนมผงจากถั่วเหลือง หรือแคปซูลถั่วเหลือง
ให้ดูปริมาณสาร ISOFLAVONES บนฉลากก่อนทุกครั้งไป
ควรมีปริมาณ SOY ISOFLAVONES ประมาณ 1-2 มิลลิกรัม ต่อโปรตีนถั่วเหลือง (SOY PROTEIN) 1 กรัม

คำถามต่อมาก็คือ เราควรจะบริโภคถั่วเหลืองวันละเท่าไรจึงจะได้สาร ISOFLAVONES พอเหมาะ
และในวันหนึ่งๆ เราควรได้รับ ISOFLAVONES เท่าไรจึงจะป้องกันโรคได้ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
ถั่วเหลืองในรูปแบบต่าง ๆ กันจะได้สาร ISOFLAVONES ไม่เท่ากัน ขึ้นกับชนิดของอาหารและบริษัทผู้ผลิต
ขอยกตัวอย่าง อาหารจากถั่วเหลืองบางชนิดให้ดูดังนี้

ตารางแสดงชนิดของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองและปริมาณสาร ISOFLAVONES ที่ได้รับ



มีการศึกษาพบว่า ปริมาณสาร ISOFLAVONES ที่เพียงพอในการป้องกัน และรักษาโรคในสตรีวัยทอง
คือบริโภควันละ 50-150 มิลลิกรัม ขึ้นกับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล
บางคนขาดฮอร์โมนมาก บางขาดฮอร์โมนน้อย ความต้องการของร่างกายจึงแตกต่างกันไป

ถ้าจะเปรียบเทียบการออกฤทธิ์ของ ISOFLAVONES ในแง่เป็น PHYTOESROGEN แล้วละก็
พบว่า ISOFLAVONES 200 มิลลิกรัม เทียบเท่ากับพรีมาริน (PREMARIN) 0.3 มิลลิกรัม
(พรีมาริน เป็นฮอร์โมนสตรีที่แพทย์มักสั่งให้กับสตรีวัยหมดประจำเดือน)

คงจะมีคำถามตามมาหลายคำถาม เกี่ยวกับประโยชน์ ของถั่วเหลืองในสตรีวัยทอง เช่น
* สตรีควรบริโภคถั่วเหลืองตั้งแต่อายุเท่าไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
* ควรบริโภคถั่วเหลืองตั้งแต่ก่อนจะหมดประจำเดือน
หรือหลังหมดประจำเดือนจึงจะไม่มีอาการร้อนวูบวาบ, กระดูกผุบาง เป็นต้น
* เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดมะเร็งเต้านม,มะเร็งช่องคลอด,มะเร็งลำไส้ใหญ่
ควรจะบริโภค ISOFLAVONES ประมาณเท่าใด และเริ่มบริโภคเมื่อไรดี ฯลฯ

คำถามเหล่านี้ยังต้องการการศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก
แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ไม่ปรากฏอาการ เป็นพิษถ้าบริโภค ISOFLAVONES ในปริมาณมากเท่าใดก็ตาม


ถ้ายังมีคำถามตามมาอีก ก็อยากให้รับทราบข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ ซึ่งพิสูจน์แล้วคือ

1. สตรีที่มีการบริโภคถั่วเหลืองเป็นประจำตลอดชีวิต จะเป็นมะเร็งที่เต้านมน้อยมากหรือไม่เป็นเลย
เช่น สตรีชาวญี่ปุ่นและชาวจีน เป็นต้น

2. ฤทธิ์ของฮอร์โมนในถั่วเหลืองที่เรียกว่า PHYTOESTROGEN นั้นเป็นฤทธิ์ต่ำมาก
ไม่มีผลข้างเคียงอื่น ๆ เหมือนเช่น ยาคุมกำเนิด
จากการทดลองพบว่ามีฤทธิ์ต่ำกว่าฮอร์โมน ESTRADIOLในยาคุมกำเนิดถึง 1,000 เท่า

3. การออกฤทธิ์ของ PHYTOESTROGEN
โดยการไปแย่งกันจับกับ ESTRADIOL ที่จุด BINDING OF ESTROGEN RECEPTOR SITES
ดังนั้น จึงเหมาะกับสตรีที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนทั้งมากและน้อยได้ดี ทั้งสองแบบ
คือมีฤทธิ์เป็น ESTROGEN และ ANTI-ESTROGEN สามารถปรับสภาพฮอร์โมนสตรีให้มีความสมดุลได้

4. ผลการทดลองในสัตว์ทดลองจากหลาย ๆ สถาบัน พบว่า
สาร ISOFLAVONES ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านม, มะเร็งช่องคลอด, มะเร็งลำไส้ใหญ่, มะเร็งที่ต่อมลูกหมาก
อย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่ชัดเจน

5. การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ISOFLAVONES ยับยั้งการเติบโตของก้อนมะเร็ง (TUMOR) ในสัตว์ทดลองได้

6. มีการทดลอง 3 แห่ง รายงานผลมาว่า
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ (Development of breast cancer)

ผลของการศึกษามาทั้งหมดนี้
ทำให้เกิดความมั่นใจมากในการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ทั้งในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่หายแล้ว
และในแง่ความปลอดภัยในการใช้ ถ้าลองมองในแง่ของการรักษาผู้ป่วยในเรื่องอาการร้อนวูบวาบ
เหงื่อแตกยามค่ำคืน, ช่องคลอดแห้งและคัน, การลดคอเลสเตอรอล, กระดูกผุบาง ก็ได้ประโยชน์เหลือเฟือ

เมื่อคิดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ (ถ้ามี) เราต้องเปิดกว้างในการรับทราบและศึกษาค้นคว้าต่อไปอีก
ในมุมของนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่นำมาใช้รักษาโรค (natural therapies)

เอกสารอ้างอิง : HUDSON, TORI, N.D., "WOMEN'S ENEYELOPEDIA OF NATURAL MEDICINE," 1999, PP. 146-150

โดย ภญ.ยุวดี สมิทธิวาสน์
ข้อมูลจาก : //www.dailynews.co.th
ที่มา : //www.elib-online.com



Create Date : 11 มิถุนายน 2553
Last Update : 11 มิถุนายน 2553 11:18:43 น. 1 comments
Counter : 1563 Pageviews.

 
สวัสดี...ครับ.

เข้ามาอ่าน และทักทายเจ้าบ้าน..จร้า


โดย: กาแฟ..ชา..ย วันที่: 11 มิถุนายน 2553 เวลา:11:43:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.