Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
8 กรกฏาคม 2552
 
All Blogs
 
ปลอดภัยไหม เมื่อต้องกินอาหารที่แถมสารกันบูด

สารกันบูดในอาหาร

สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย เป็นสารเคมีที่ช่วยในการถนอมอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษา
โดยจะช่วยชะลอ หรือยับยั้งการเจริญเติบโต และทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุให้อาหารเน่าเสีย

ชนิดของสารกันบูด ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้

*1. กรดและเกลือของกรดบางชนิด เช่น กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอต กรดซอร์บิกและเกลือซอร์เบต
กรดโปรปิโอนิกและเกลือโปรปิโอเนต ฯลฯ อาหารที่ผสมสารกันบูดเหล่านี้ ได้แก่ เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ซอส
ผักผลไม้ดอง แยม เยลลี่ เครื่องแกงสำเร็จรูป และขนมปัง เป็นต้น

*2. พาราเบน เช่น เมทธิลพาราเบน โปรปิลพาราเบน
นิยมใช้กับอาหารประเภท เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เยลลี่ ขนมหวานต่างๆ และสารปรุงแต่งกลิ่นรส เป็นต้น

*3. ซัลไฟต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์นิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ ผักและผลไม้แห้ง เป็นต้น

*4. ไนไตรท์ เกลือไนไตรท์นิยมใช้กับเนื้อสัตว์ต่างๆ เบคอน แฮม เป็นต้น


การใช้สารกันบูด
ปริมาณของสารกันบูดที่ใช้จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับชนิดของอาหาร
ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะเป็นผู้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้

สารกันบูดเหล่านี้ หากใช้ตามที่กฎหมายกำหนด หรือใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค แต่หากใช้ในปริมาณมากเกินไป หรือนำไปใช้ไม่เหมาะสม
ก็จะก่อให้เกิดอันตรายได้

นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังห้ามใช้วัตถุกันเสียในอาหารที่ไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด
นั่นก็คือ อาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว

ผู้ผลิตที่ผสมสารกันบูดลงในอาหาร ควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค
โดยเลือกใช้สารกันบูดให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร และใช้ในปริมาณที่กำหนดเท่านั้น
และในระหว่างกรรมวิธีการผลิต จะต้องระมัดระวังการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ให้น้อยที่สุด
เพราะหากมีจุลินทรีย์ปนเปื้อนมาก ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียมาก่อน การใส่สารกันบูดก็ไม่เกิดผลดีแต่อย่างใด


อันตรายจากสารกันบูด

หากในแต่ละวัน เราได้รับสารกันบูดในปริมาณน้อย ร่างกายจะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ
แต่หากได้รับในปริมาณมากทุกวัน ตับและไตจะต้องทำงานหนักขึ้น
และหากกำจัดออกไปไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย
ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของตับและไตในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ ลดลง
และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อตับและไตได้

สารกันบูดในกลุ่มกรดและเกลือของกรดบางชนิด รวมทั้งพาราเบน ถือว่ามีความเป็นพิษต่ำ
และสามารถขับออกจากร่างกายได้ แต่ก็มีข้อควรระวัง เช่น เกลือเบนโซเอต โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย
แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้

สารกันบูดในกลุ่มซัลไฟต์ แม้จะถูกขับออกจากร่างกายได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไป สารดังกล่าว
จะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำลายไธอามีน หรือวิตามินบี 1 ในอาหารด้วย

สารกันบูดในกลุ่มไนไตรท์ ยกตัวอย่างเช่น ดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์
หากใช้เกินกว่าที่กำหนด จะทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาซึ่งมีข้อบ่งชี้ว่า
การได้รับไนไตรท์ในปริมาณมากๆ จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย


ข้อแนะนำ สำหรับผู้บริโภค เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกันบูด มีดังนี้
ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย

หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่า ใช้สารกันบูดหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยที่สุด

หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ขายไม่หมดวันต่อวัน

หลีกเลี่ยงอาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด
เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อเค็ม และน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้น


มีการศึกษาพบว่า การลวกหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมารับประทาน จะช่วยลดปริมาณสารกันบูดลงได้
ซึ่งน่าจะได้ผลเช่นเดียวกันในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่นๆ


โดยสรุปก็คือ การใช้สารกันบูดตามปริมาณที่กำหนดจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ผลิตบางรายที่ละเมิดกฎหมาย ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย
การหลีกเลี่ยงอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการใส่สารกันบูดหรือบริโภคแต่น้อย น่าจะดีต่อสุขภาพที่สุด

ที่มา ผู้จัดการออนไลน์


Create Date : 08 กรกฎาคม 2552
Last Update : 8 กรกฎาคม 2552 21:29:17 น. 1 comments
Counter : 940 Pageviews.

 
แต่สินค้าบ้านนู๋ ไม่มีวัตถุกันเสีย

ไม่เจือสีนะคะ

เอาหัวเป็นประกันค่ะ


โดย: madame_vann วันที่: 8 กรกฎาคม 2552 เวลา:21:53:46 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.