Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
5 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
อาหารหลังผ่าตัด



ปกติแล้วในโรงพยาบาลทุกแห่ง จะมีหน่วยงานทำหน้าที่ในการจัดบริการอาหารให้แก่ผู้ป่วย
ที่รู้จักกันดีเรียกว่า หน่วยโภชนาการ หน่วยงานนี้ไม่เพียงแต่จัดอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานเท่านั้น
แต่ยังต้องจัดอาหารให้ถูกต้อง เหมาะสมกับโรคที่เป็นอยู่
เพื่อช่วยในการบรรเทาและรักษาโรคที่เป็นอยู่นั้น ควบคู่ไปกับการรักษาทางยาด้วย

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแล้วไม่ว่าจะผ่าตัดเล็ก เช่น ไส้ติ่ง หรือผ่าตัดใหญ่ เช่น นิ่ว หรือเนื้องอก
อาหารมีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวกลับสู่สภาพที่แข็งแรง เช่นเดิม

ผู้ป่วยหลังจากผ่าตัด เมื่อออกจากห้องผ่าจัดมักจะมีอาการอ่อนเพลีย
ซึ่งเกิดจากการเสียเลือด ของเหลวในร่างกาย และฤทธิ์ของยาชา ยาสลบ ที่ให้ระหว่างการผ่าตัด
จึงมักจะอยู่ในอาการอ่อนเพลีย หลับๆ ตื่นๆ แพทย์มักจะให้ผู้ป่วยได้นอนพักผ่อนอย่างเต็มที่
ในช่วงนี้แพทย์จะสั่งงดอาหารทางปาก เมื่อผู้ป่วยรู้สึกตัวดีขึ้น อวัยวะในระบบทางเดินอาหารเริ่มทำงาน
ซึ่งมักจะเป็นเวลาหลังจากการผ่าตัด 24 ชั่วโมง จากนั้นแพทย์จะอนุญาตให้รับประทานอาหารทางปากได้
ซึ่งอาหารที่จัดให้แก่ผู้ป่วยหลังผ่าตัด ที่เกี่ยวกับอวัยวะในช่องท้อง
ระยะแรกจะเป็นอาหารน้ำ มีลักษณะเหลว ใส เรียกกันว่า อาหารน้ำใส

อาหารน้ำใส สามารถกลืนได้ง่ายโดยไม่ต้องเคี้ยว เพราะไม่มีส่วนที่เป็นกาก เช่น น้ำขาวใสๆ น้ำหวาน
น้ำผลไม้ที่กรองเอาเนื้อออก น้ำขิง น้ำซุปใสๆ ซึ่งอาจจะทำมาจากน้ำต้มผัก หรือน้ำต้มไก่ เป็นต้น

การที่แพทย์สั่งอาหารชนิดนี้ให้แก่ผู้ป่วย เพราะต้องการให้อวัยวะในระบบขับถ่ายทำงานน้อยที่สุด
มิให้กระทบกระเทือนแผลที่ผ่าตัด
แต่อาหารชนิดนี้ให้พลังงานและสารอาหารน้อยมาก ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
จึงควรให้ผู้ป่วยรับประทานบ่อยๆ เท่าที่จะทำได้

แพทย์จะกำหนดให้รับประทานอาหารชนิดนี้ในระยะเวลาสั้นๆ 1-2 มื้อ
ถ้าผู้ป่วยรับได้ดีก็จะเปลี่ยนเป็นอาหาร ที่ให้พลังงานและสารอาหารสูงขึ้นที่เรียกกันว่า อาหารน้ำข้น
ลักษณะของอาหารยังคงเป็นของเหลว เช่นเดียวกับอาหารน้ำใส แต่ข้นขึ้น
น้ำซุปมีการนำเนื้อสัตว์หรือผักผสมลงไป เช่น ซุปไก่ ซุปมันฝรั่ง ซุปฟักทอง เป็นต้น
เครื่องดื่มก็มีการเติมนม ครีม หรือน้ำผลไม้ที่มีเนื้อผลไม้ผสมอยู่บ้าง
เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้มไม่ต้องกรอง น้ำนม เป็นต้น

การให้ผู้ป่วยได้รับอาหารทั้งน้ำใสและน้ำข้นนั้น แพทย์จะให้ในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น เช่น
อาจให้อาหารน้ำใส 2-3 มื้อ แล้วเปลี่ยนเป็นอาหารน้ำข้น 2-3 มื้อ ทั้งนี้เพื่อเป็นการทดสอบการทำงานของอวัยวะ
ว่าเป็นปกติหรือไม่ เพราะผู้ป่วยบางคนจะมีอาการแพ้ยาสลบ หรือมีปัญหาการย่อยอาหารอยู่
จึงเท่ากับว่าระยะที่ให้อาหารทั้งน้ำใส และน้ำข้นเป็นระยะการปรับตัวในการทำงานของอวัยวะต่างๆ
โดยเฉพาะอวัยวะทางเดินอาหาร

เมื่อผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารน้ำใสและน้ำข้นได้แล้ว แพทย์มักจะเปลี่ยนอาหารให้ต่อไปอีก
ในชั้นนี้จะเป็นอาหารที่เรียกว่า อาหารอ่อน
อาหารชนิดนี้เป็นอาหารที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อย มีกากน้อย ย่อยง่าย รสชาติอ่อนๆ

ส่วนอาหารหมักดอง อาหารมีรสจัด เหนียว มักจะงด

ข้าวต้มเครื่องที่มีเนื้อสัตว์ที่บดแล้วผสมอยู่ เช่น ข้าวต้มหมู ข้ามต้มปลา หรือโจ๊ก
จึงเหมาะอย่างมากที่จะจัดให้แก่ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารอ่อน

กับข้าวของข้าวต้ม มักจะมีปัญหาเรื่องกับที่รับประทานกับข้าวต้ม
เพราะคนไทยมักจะคุ้นกับการรับประทานข้าวต้มกับของดอง เช่น ขิงดอง เกี้ยมฉ่าย ซีเซ็กฉ่าย
ซึ่งเป็นของต้องห้ามสำหรับอาหารอ่อน
เพราะฉะนั้น กับข้าวของข้าวต้ม จึงต้องเลือกเฉพาะกับข้าวที่นุ่ม เปื่อยเท่านั้น เช่น ปลานึ่ง ไข่เจียวนิ่มๆ
หมูอบเปื่อยๆ ต้มจับฉ่ายที่ต้มผักจนนุ่มและเปื่อย เป็นต้น

ผู้ป่วยบางคนเบื่อข้าวต้ม ก็สามารถเปลี่ยนเป็นก๋วยเตี๋ยวหรือมักกะโรนีได้
โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวน้ำ หรือมักกะโรนีน้ำ แต่ยังไม่ควรใส่ผัก เพราะจะทำให้ย่อยยาก

เนื้อสัตว์ทุกชนิด สามารถนำมาทำเป็นอาหารของผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัด เพียงแต่ต้องทำให้นุ่ม เปื่อยเท่านั้น
ปลาเป็นเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย ไม่เหนียว นำมาทำอาหารให้ผู้ป่วยได้ดี แต่ต้องระวังก้างและเกล็ด

ส่วนผัก ให้เลือกผักที่ก้านไม่แข็ง ควรเลือกผักใบและเคี่ยวให้นุ่ม เปื่อย ผลไม้
ควรเป็นผลไม้ที่นุ่ม ไม่มีเปลือกแข็งหรือมีใยมาก เช่น กล้วยสุก มะละกอสุก มะม่วงสุก เป็นต้น

ของหวาน ควรเป็นขนมหวานที่รสไม่จัด มีลักษณะนุ่ม เช่น สังขยา ไอศกรีม เยลลี่ คัสตาร์ด สาคูเปียก เป็นต้น

เครื่องดื่มประเภทน้ำนม นมถั่วเหลืองหรือน้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสมและให้คุณค่าอาหารที่ดีที่สุด

ควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ แต่ถ้าจำเป็นต้องดื่มก็ควรเลือกชนิดที่ไม่คาเฟอีน
ส่วนเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ควรงดเว้น

อาหารอ่อนเป็นอาหารที่ให้พลังงาน และสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยได้
ถ้าอาหารนั้นผู้ป่วยสามารถบริโภคได้หมด
เพราะฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดจึงอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้
รสชาติของอาหารจึงยังเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดูแล ถึงแม้อาหารจะต้องมีรสอ่อน
แต่ถ้ารสอ่อนอย่างกลมกล่อมก็สามารถรับประทานได้มากๆ เท่ากับอาหารรสจัด

วิธีการจัดอาหาร สีสันของอาหารเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นความอยากรับประทานอาหาร
ทำให้ลืมความเจ็บป่วยได้บ้าง


ในกรณีที่ผู้ป่วยเบื่ออาหาร
การรับประทานบ่อยๆ ครั้งละน้อยๆ โดยแบ่งเป็น 5-6 มื้อ สามารถช่วยให้ได้พลังงานมากขึ้น

ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนได้ และไม่มีปัญหาการย่อย
แพทย์จะเปลี่ยนอาหารอ่อนเป็นอาหารธรรมดา ที่มีลักษณะเช่นคนปกติทั่วไปรับประทาน
เพียงแต่ระวังอย่าให้รสจัดมาก หรือย่อยยาก

ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดมีการสูญเสียเลือด วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งร่างกายจำเป็นจะต้องได้รับการชดเชย
ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อช่วยให้ร่างกายกลับเข้าสู่สภาวะปกติ และแผลหายเร็วที่สุด
อาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์ นม ผลิตภัณฑ์จากนมและไข่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์ที่ควรจัดหาแก่ผู้ป่วย

ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย อาหารเสริมอาจจะต้องนำมาพิจารณาเลือกใช้
แต่ควรขอคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการเสียก่อน
เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเข้าใจผิด และได้ประโยชน์คุ้มค่าเงินที่เสียไป


ที่มา ://www.elib-online.com/doctors46/food_operate001.html


Create Date : 05 ธันวาคม 2552
Last Update : 5 ธันวาคม 2552 13:03:08 น. 15 comments
Counter : 83847 Pageviews.

 
แวะมาทักทายค่ะ


โดย: CrackyDong วันที่: 5 ธันวาคม 2552 เวลา:19:37:05 น.  

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ


โดย: pheebar วันที่: 6 ธันวาคม 2552 เวลา:1:04:08 น.  

 
ขอบคุณนะครับสำหรับสิ่งที่มัประโยชน์ที่มอบให้แก่เพื่อนมนุษย์


โดย: อนุลักษณ์ ผลทรัพย์ IP: 124.157.168.163 วันที่: 23 ธันวาคม 2552 เวลา:14:22:34 น.  

 
Thank you very much for this useful article


โดย: Anh IP: 183.182.127.30 วันที่: 3 กรกฎาคม 2554 เวลา:23:14:22 น.  

 
ข้อมูลดีมากๆๆ



โดย: ขอบคุณ IP: 110.77.209.39 วันที่: 24 มิถุนายน 2556 เวลา:16:26:27 น.  

 
ทานแบบนี้นานกั่วันคะ


โดย: เอมสิริ IP: 49.231.100.246 วันที่: 13 สิงหาคม 2556 เวลา:15:29:13 น.  

 
ขอบคุณมากๆ ค่ะ ดิฉันจะเข้ารับการผ่าตัดวันจันทร์ ได้ความรู้เยอะเลยค่ะ จะได้ดูแลตัวเอง


โดย: นิออน IP: 203.190.217.171 วันที่: 13 กันยายน 2556 เวลา:8:41:06 น.  

 
ขอบคุณสำหรับข้อมูล และควารุ้ดีๆนะค่ะ


โดย: ทราย IP: 223.205.116.120 วันที่: 24 กันยายน 2556 เวลา:11:18:41 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีมากๆค่ะ


โดย: ศุภชาวัลย์ ปั่นสันเทียะ IP: 182.53.53.161 วันที่: 27 กันยายน 2556 เวลา:11:18:48 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีมากๆค่ะ


โดย: ศุภชาวัลย์ ปั่นสันเทียะ IP: 182.53.53.161 วันที่: 27 กันยายน 2556 เวลา:11:21:10 น.  

 
ผาตัดไส้ติ่ง6วันกินข้าวต้มทีไรปวดข้างล้างแผลทุกทีชวยบอกด้วยครับ


โดย: ออฟ IP: 49.230.103.116 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2556 เวลา:10:43:11 น.  

 
ระยะเวลาในการรับทานอาหารอ่อนหลังการผ่าตัดจะประมาณกี่วัน


โดย: moo IP: 49.230.124.225 วันที่: 14 กรกฎาคม 2557 เวลา:10:53:18 น.  

 
ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่ลงมาให้น่ะครับ(คนใข้ผ่าตัด)


โดย: apisak sangdao IP: 1.46.110.219 วันที่: 16 พฤษภาคม 2558 เวลา:21:06:00 น.  

 
ให้คำแนะนำดีมากเลยค่ะหนูเพิ่งผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดีค่ะ จะทำตามคำแนะนำนะค่ะ


โดย: chompoo mama IP: 27.55.155.105 วันที่: 26 พฤษภาคม 2558 เวลา:8:48:12 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: เม IP: 1.47.132.2 วันที่: 4 มีนาคม 2559 เวลา:20:47:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.