Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
21 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
จดบันทึก ‘กินของดิบ’


* อาหาร ทางออกใหม่ ลดเสี่ยงมะเร็ง

หากปลาร้าพัฒนาจากอาหารประจำคนในภาคอีสาน จนมาเป็นเมนูระดับประเทศแล้ว
ปลาส้มซึ่ง เป็นการถนอมอาหารอีกวิธีการหนึ่ง น่าจะกลายมาเป็นอาหารจานเด็ดระดับประเทศได้ไม่ยากเช่นกัน
แต่ไม่ว่าจะเป็นปลาร้าหรือปลาส้ม การรับประทานแบบสุกๆ ดิบๆ ล้วนก่อให้เกิดโทษด้วยกันทั้งสิ้น

เป็น เวลาหลายสิบปีแล้วที่คนไทยได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการ รับประทานอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะปลาร้าและปลาส้ม ซึ่งทุกวันนี้แทบไม่มีใครรู้ว่า
อาจมีพยาธิใบไม้ตับผสมอยู่ในเมนูโปรดที่ว่านี้ ไม่เพียงเท่านั้น พยาธิที่ว่านี้อาจก่อให้เกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ด้วย

สุขสรรค์ ชูบุญ นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เปิดเผยข้อมูลจากการทำวิจัยเรื่อง
“อัตราเสี่ยงของการติดพยาธิใบไม้ (Haplorchis taichui) จากการทำปลาส้ม”
โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า
ประชาชนในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังนิยมบริโภคปลาส้มดิบเป็นจำนวนมาก
จนก่อให้เกิดปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากปลาที่นำมาทำปลาส้มเป็นกลุ่มปลาเกล็ดขาว
เช่น ปลาตะเพียน ปลาสร้อยขาว ปลาขาวนา ปลาหนามหลิง
ซึ่งมีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ลำไส้ และพยาธิใบไม้ตับอยู่

ปลาส้มที่เก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ ตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ถึงวันที่ 7
และหากเก็บไว้ในตู้เย็นตัวอ่อนพยาธิใบไม้จะมีชีวิตอยู่ได้ถึงวันที่ 21 !!!
แต่โดยทั่วไปประชาชนมักจะบริโภคปลาส้มดิบกันภายในวันที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงระยะที่ยังมีการติดต่ออยู่
เพราะเข้าใจผิดว่าความเปรี้ยวของปลาส้มจะช่วยฆ่าพยาธิใบไม้ได้
โดยเฉพาะผู้ชายมักจะมีการกินปลาส้มดิบเป็นอาหารกับแกล้ม ทำให้ติดพยาธิใบไม้มากกว่าผู้หญิง

นอก จากนี้การบริโภคลาบปลาดิบ ก้อยปลา ส้าปลา ซึ่งเป็นที่นิยมทางภาคเหนือ ทำให้ติดพยาธิใบไม้ได้เช่นกัน
และพยาธิใบไม้ลำไส้สามารถก่อให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ และหากพยาธิใบไม้เข้าสู่กระแสเลือด
อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดจนก่อให้ เกิดการเสียชีวิตได้ แม้จะไม่พบเห็นบ่อยก็ตาม

การ ป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การบริโภคปลาส้มที่ปรุงสุกแล้ว เพราะการบริโภคปลาดิบสามารถติดพยาธิได้ 100%
หรืออีกวิธีหนึ่ง คือควรนำปลาที่ใช้ทำปลาส้มไปแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 วัน
จะสามารถฆ่าพยาธิได้ จากนั้นจึงนำไปทำปลาส้ม
แต่สำหรับวิธีการนี้คงต้องมีการศึกษาต่อไปว่า ทำอย่างไรจะไม่ให้รสชาติของปลาส้มเปลี่ยนไป

ด้าน ร.ท.นพ.พิชา สุวรรณหาทร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า เปิดเผยถึงผลการวิจัยเรื่อง
“การศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ในตับ
โดยติดตามการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง”
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เช่นกัน

จาก การเข้าไปวิจัยในพื้นที่ชุมชนท่ากระดานและชุมชนบ้านนายาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
ซึ่งประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากภาคอีสาน และยังคงวัฒนธรรมการกินอยู่แบบชาวอีสานอยู่
โดยเฉพาะการบริโภคปลาดิบ พบว่า มีอัตราการติดพยาธิใบไม้ในตับมากถึง 21%
จากสถิติตั้งแต่ปี 2545 จนถึง 2552 ไม่ได้มีอัตราลดลงเลย ทั้งที่รัฐบาลมี นโยบายในการควบคุม
แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถควบคุมได้

“จากการศึกษาว่าทำอย่างไรจะให้ประชาชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคปลาดิบ
โดยใช้วิธีการจดบันทึกประจำวันของตนเอง ว่าวันไหนที่มีการบริโภคปลาดิบบ้าง และมีการติดตามผล
ปรากฏว่า การบริโภคปลาดิบของประชาชนลดลงถึงครึ่งหนึ่ง
เนื่องจากการจดบันทึกประจำวันช่วยให้มีการเตือนตัวเอง และเป็นการควบคุมพฤติกรรมไปในตัว”
ร.ท.นพ.พิชา ระบุ

วิธีการนี้เป็นวิธีการเดียวกับการจดบันทึกรายรับ - รายจ่าย
ที่ทำให้สามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองได้ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ได้ผล
ทั้งนี้ หลังจากนี้อีก 1 ปีจะมีการติดตามผล เพื่อดูว่าประชาชนจะกลับมาติดพยาธิอีกหรือไม่

ซึ่งหากวิธีการนี้ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ
ก็สามารถนำไปขยายพื้นที่ในการป้องกันในส่วนอื่นๆ ของประเทศไทยได้ด้วยเช่นกัน


ข้อมูลจาก เดลินิวส์
ที่มา : //www.thaihealth.or.th
ภาพจาก : //www.delish.com


Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 21 กุมภาพันธ์ 2553 11:13:18 น. 0 comments
Counter : 1048 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.