พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
22 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
ลำดับการศึกษาพระเครื่องที่ถูกต้อง

ลำดับการศึกษาพระเครื่องที่ถูกต้อง
   
         ลำดับการศึกษาเรียนรู้เรื่องพระพิมพ์หรือพระเครื่อง  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตามวิธีเก่าแบบพื้นบ้าน  ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตามวิธีเก่าแบบพื้นบ้าน  หรือการศึกษาแบบผสมผสานในปัจจุบัน  ล้วนมีโครงสร้างทางการศึกษาที่เป็นขั้นตอนเดียวกัน
   
         เมื่อท่านได้รับพระมา  หรือมีพระในครอบครอง  สิ่งแรกที่ต้องการรู้  คือ  พระอะไร  สร้างจากอะไร  ดีอย่างไร  และเป็นที่นิยมหรือไม่  คำถามทั้ง  4  ข้อนี้  นับเป็นหลักที่ผู้คนใคร่รู้ก่อนที่จะยอมรับทราบว่าพระองค์นั้น  แท้หรือไม่ด้วยซ้ำไป
   
การศึกษาเรียนรู้เรื่องพระ  ก็เกิดจากคำถามทั้ง  4  ข้อดังกล่าว  ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้

         1. เพราะอะไร  คำว่าพระอะไร  ในที่นี้มีความหมายได้  2  ประการคือ

               1.1 พระชื่ออะไร  สร้างที่วัดไหน  กรุใด  เป็นต้น  ซึ่งเป็นการกล่าวถึงต้นเนิดพระ

               1.2 ใครเป็นผู้สร้าง  การทราบว่าใครสร้าง  สามารถบ่งยอกได้ถึงสกุลช่างศิลปะ  เช่น  ผู้สร้างหากเป็นชั้นราชาคณะ  ช่างผู้แกะพิมพ์พระจะเป็นช่างหลวง  หากผู้สร้างเป็นพระคณาจารย์โดยทั่วไป  ช่างผู้แกะแม่พิมพ์จะเป็นช่างพื้นบ้าน  เป็นต้น  เหล่านี้ล้วนเป็นข้อมูลนำร่องในการพิจารณาสภาวการณ์หรือสาเหตุของการสร้าง ได้  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลโดยตรงกับเอกลักษณ์เฉพาะตัวขององค์พระได้ประการ หนึ่ง
   
         2. สร้างจากอะไร  การรู้ถึงวัตถุดิบในการสร้างพระ  นับเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการพิจารณามวลสารของพระ  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีคุณสมบัติทางกายวิภาคทางตรงที่ชัดเจนของพระเมื่อประกอบ กับอายุความเก่า  ธรรมชาติภายนอก  ที่ส่งผลกระทบกับองค์พระ  จะหล่อหลอมรวมเป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถอธิบายถึงสาเหตุที่เกิด ขึ้น  จนกลายมาเป็นองค์พระที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
   
         3. ดีอย่างไร  ในที่นี้หมายถึง  พุทธานุภาพขององค์พระ  อันนับเป็นศรัทธาความเชื่อส่วนบุคคล  หากแต่เป็นสิ่งที่สามารถชี้นำความสนใจ  ไปสู่ความนิยมตลอดจนการค้นคว้าศึกษาต่อไป
   
         4. นิยมหรือไม่  ความนิยมเป็นดัชนีที่ชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของพระองค์นั้น ๆ ในแง่ของสังคมนับเป็นเรื่องธรรมดาที่คนส่วนใหญ่ต้องการเก็บสะสมสิ่งที่มีคุณ ค่า  ให้กับตนเองและผู้สืบทอด  และความนิยมยังเป็นส่วนกระตุ้นการอนุรักษ์พระเครื่องที่ดีประการหนึ่ง  เพราะหากขาดความนิยมไปแล้ว  พระเครื่องอาจ เป็นสิ่งที่ไม่ได้รับความสนใจ  ถูกทอดทิ้งละเลยไปอย่างไม่สมคุณค่า  ดังนั้น  ความนิยมจึงนับเป็นสิ่งจูงใจ  ให้เกิดความแพร่หลายในรูปแบบต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในพระเครื่องดั่งเช่นปัจจุบัน
   
         นอกจากนี้  อาจจะมีคำถามอีกมากมาย  ที่ต้องการคำอธิบายอย่างลึกซึ้งต่อองค์พระที่พบเห็น  โดยส่วนมากคำถามที่นอกเหนือจากนี้  จะเกิดแก่ผู้ต้องการศึกษาเรียนรู้อย่างแท้จริงมากกว่าผู้อยากรู้เพียงฉาบฉวย
   
         จากที่กล่าวมาจะเห็นว่า  คำถาม  คือ  สิ่งที่กำหนดการเรียนรู้  ดังนั้นการที่ต้องการความกระจ่างเพื่อตอบคำถามจึงนำมาซึ่ง  การค้นคว้าตำราบทเรียน  ฯลฯ  และลำดับขั้นตอนที่ถูกต้องในการศึกษาจะเอื้อประโยชน์  ต่อการเรียนรู้  ที่มีประสิทธิผลแก่ผู้ศึกษามากที่สุด  อันมีลำดับในการศึกษาเรียนรู้ดังต่อไปนี้

         1. การศึกษาประวัติความเป็นมา  การที่เรารู้ถึงต้นกำเนิดของพระแต่ละองค์ว่าชื่อพระอะไร  สร้างจากที่ใด  ใคร
 สร้าง  อายุการสร้างเท่าใด  อยู่ในศิลปะยุคใด  สกุลช่างอะไร  สาเหตุการสร้าง  และการเก็บรักษาพระจากอดีตจนถึงปัจจุบัน  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของรูปพรรณสัณฐานขององค์พระที่รวมเรียกว่า  “พิมพ์ทรง”  รวมทั้งกลไกของธรรมชาติ  นอกจากนี้ความรู้เรื่องอายุพระ  และการเก็บรักษาจะให้คำตอบแก่เราในเรื่องผลกระทบและสภาพพระที่ปรากฏให้เห็น  ที่เรียกว่า  “ธรรมชาติ”  ขององค์พระอีกทั้งการศึกษาประวัติความเป็นมาของพระที่สมบูรณ์นั้น  จะต้องทราบว่าพระในตระกูลนี้มีการสร้างด้วยกันทั้งหมดกี่พิมพ์  มีพิมพ์อะไรบ้าง  เพื่อเป็นการจัดกลุ่มของพระแต่ละตระกูล  มิให้ตกหล่น  หลงกระจัดกระจายผิดหมวด  ผิดกลุ่มหรือผิดประเภท
   
ความสำคัญของต้นกำเนิดจึงเป็นพื้นฐานเบื้องต้นมีความสำคัญที่ต้องรู้ และสามารถศึกษาค้นคว้าได้จากตำรา  หนังสือต่าง ๆ เพิ่มเติมได้มากมาย
   
         2. การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานทางกายวิภาคขององค์พระ  หรือการทราบถึงวัตถุดิบในการนำมาสร้างพระ   ว่าประกอบด้วยวัสดุหลักอะไร  นับเป็นเรื่องจำเป็นขั้นพื้นฐาน  ที่ต้องรู้ในศาสตร์แขนงนี้  เพราะวัตถุดิบที่สร้างพระจะเสมือน  “รหัสลับ”  ขององค์พระ
   
         เอกลักษณ์จากคุณสมบัติของมวลสารที่หลอมรวมเป็นองค์พระก่อให้เกิดโครงสร้าง จริงที่สามารถอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งเป็นที่เข้าใจตรงกันในระดับสากล  การเรียนรู้ว่าพระแต่ละองค์  สร้างจากอะไร  มีเนื้อมวลสารแบบไหน  จึงเป็นขบวนการศึกษาที่จำเป็นต้องเรียนรู้  สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาศาสตร์แขนงนี้และในเรื่องเหล่านี้  สามารถค้นคว้าเรียนรู้ได้จากตำรา  ซึ่งผ่านการค้นคว้าทดลองมาแล้วจะสะดวกดีกว่า  ที่จะเรียนรู้  ทดลอง  ทดสอบ  ทางการปฏิบัติ  ด้วยตัวเอง
   
         จากที่กล่าวมา  จะทำให้เห็นถึงขบวนการศึกษาเรื่องพระเครื่องที่ สามารถเรียนรู้ได้จากตำรา  ทั้งยังคงความสำคัญ  และให้ความสมบูรณ์ของเนื้อหา  ในการช่วยสรุปบทพิสูจน์ด้าน  “พิมพ์ทรง”  และ  “มวลสาร”  ขั้นต้นของพระเครื่องได้  แม้จะไม่เคยเห็นพระองค์จริง
   
เป็นที่ทราบกันดีว่า  บทสรุปในการพิจารณาพระแท้นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก  3  ประการคือ 
   
         1.พิมพ์ถูกต้อง
         2. เนื้อมวลสาร  มีอายุความเก่า  มีธรรมชาติความเก่า  มีธรรมชาติของการเก็บรักษา
         3. ธรรมชาติขององค์พระ  ซึ่งพระแต่ละแบบมีธรรมชาติเฉพาะของตนเอง  เช่น  พระกรุเสน่ห์จันทร์  มีคราบกรุเป็นแป้งบางจับอยู่รอบองค์พระ,  เหรียญหลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า  เป็นเหรียญกะไหล่ทองซึ่งก็ไม่มีแบบรมดำ  ถ้ามีซึ่งถือว่าผิดธรรมชาติ  อาจเลียนแบบ  หรือทำในยุคหลัง
   
         ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นที่มาของคำพูดที่ว่า  “พิมพ์ใช่  เนื้อใช่  ต้องใช่พระแท้”  ดังนั้น  บทพิสูจน์ต่อการพิจารณาพระแท้  ที่ผู้สนใจศึกษาสามารถเรียนรู้ได้จากตำราเป็นการนำร่องดังที่กล่าวมา  จะเป็นสิ่งที่ช่วยในการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี  และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียนการสอน  ที่ปรากฏในเอกสารการศึกษาครั้งนี้



Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2555 1:38:44 น. 0 comments
Counter : 2785 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.