พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
6 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
พยัพ คำพันธุ์ ป๋ายัพ เปิดเส้นทางชีวิตของ ผู้ชำนาญพระเครื่อง

พยัพ คำพันธุ์ (ป๋ายัพ) เปิดเส้นทางชีวิตของ ผู้ชำนาญพระเครื่อง

“เส้น ทางของแต่ ละคนนั้นไม่เหมือนกัน และมีจุดเริ่มต้นที่มีความแตกต่างกันออกไป ทุกอย่างย่อมขึ้นอยู่กับผู้นั้นจะเลือกทางเดินกันแบบใด ใช่ว่าจะมีเส้นทางให้เดินตามกันไปให้ถึงเป้าหมาย จุดมุ่งหมายแต่ละจุดใช่ว่าจะง่ายเหมือนอย่างที่คิด ต้องพบกับความผิดหวังบ้าง พบกับสิ่งดีๆบ้างปนเปกันไป ขึ้นอยู่ว่าจะต่อสู้กับมันหรือไม่ เมื่อเดินหน้าแล้วต้องไปให้สุดๆเดินให้ถึงฝันให้ถึงจุดมุ่งหมายที่เรียกว่า “ความสำเร็จในชีวิต”

พยัพ คำพันธุ์ ปัจจุบันอายุ 63 ปี ดำรงค์ตำแหน่ง นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย และประธานชมรมพระเครื่องมรดกไทย ตั้ง อยู่ที่ สมาคมผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย ชั้น 3 อาคารพันธุ์ทิพย์พลาซ่า งามวงศ์วาน ช่วงชีวิตก่อนที่จะเข้ามาเป็นผู้ชำนาญพระเครื่อง คือ เริ่มต้นมาจากเลขศูนย์และติดลบ ในชีวิตได้สมบุกสมบันและใช้ชีวิตอย่างเป็นขั้นตอน มาจนถึงปัจจุบันเนื่องจากได้รับเกียรติจากสมาชิกและเป็นที่ยอมรับให้เป็น นายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่อง พระบูชาไทย ในความรู้ความสามารถ

พยัพ คำพันธุ์ เกิดและโตที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง จบการศึกษา ชันประถมศึกษาปีที่ 3 พอขึ้นเรียนชั้นประถมปีที่ 4 จึงได้ออกกลางเทอมมาช่วยเหลือบิดาและมารดาทำไร่ และหาเลี้ยงชีพหาเงินมาจุนเจือช่วยเหลือทางบ้านโดยการเป็นนักมวย ขณะนั้นมีอายุประมาณ 15-16 ปี โตขึ้นมาเริ่มเป็นวัยรุ่นจึงได้เดินทางเข้ากรุงเทพมาพร้อมกับครอบครัวมายึด อาชีพค้าขายสินค้าที่ตลาดนัดสนามหลวง ซึ่งเป็นแหล่งตลาดนัดที่จัดว่าใหญ่ที่สุดในขณะนั้น

เมื่อปีพ.ศ. 2503 ครอบครัวได้ย้ายไปจังหวัดลพบุรีไปอยู่ในป่าที่พัฒนานิคม ปัจจุบันนี้เป็นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต่อมามีครอบครัวจึงได้เดินเข้ากรุงเทพอีกครั้งมาหาชกมวยตามงานวัดประจำปี เลี้ยงชีพ และได้ย้ายไปอยู่กับพี่ชายช่วยพี่ชายขายของที่สนามหลวง สุดท้ายมาอยู่ที่ จ.นนทบุรี ได้ที่ค้าขายประจำอยู่กับที่

เมื่อย้าย มาที่ จ.นนทบุรี เข้ามาทำมาหากิน และเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต พยัพ คำพันธุ์ ได้มารู้จักผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง และได้เคารพท่านเป็นเสมือนเป็นบรมครูคนแรกเลยก็ว่าได้ เพราะท่านนั้นได้จุดประกายในเรื่องของการศึกษาและสะสมพระเครื่องและเครื่อง รางของขลัง ก่อนที่จะเข้าถึงรายละเอียดขอย้อนกลับไปเมื่อครั้งที่ พยัพ คำพันธุ์ เมื่อครั้งที่เป็นเด็ก บิดาได้มอบ พระคง จ.ลำพูน ไว้ให้ติดตัวซึ่งเป็นพระองค์แรกที่นำมาแขวนห้อยคอบูชา และทุกครั้งที่ขึ้นชกมวยก็จะนำพระคง จ.ลำพูน คาดผ้าพันไว้ที่แขนทุกครั้งไปเพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและสร้างกำลังใจให้ฮึก เหิม

พ่อเหมือน สิงหานนท์ ที่เป็นผู้ จุดประกาย และเป็นเสมือนเป็นบรมครูคนแรก ของพยัพ พันธุ์ โดยที่ท่านจะไปหา พ่อเหมือน สิงหานนท์ ทุกวันที่ร้านกาแฟที่ข้างเรือนจำบางขวาง และเป็นแหล่งนักสะสมพระและนักเลงพระ เช่น พ่อเหมือน สิงหานนท์ พ่อของจ่าศักดิ์ ลุงมี ลุงวิน ลุงชม บางเขน หรือเสือชม ในอดีตพ่อเหมือน นั้นมีชื่อเสียงดังมากในวงการพระเครื่อง และท่านเป็นเพื่อนกับ พล.ต.ต. เนื่อง อายุรบุตร และอาจารย์เซีย เป็นเพื่อนในวงการพระเครื่อง และท่านสะสมพระรอดเขียว จ.ลำพูน

พยัพ คำพันธุ์ จะไปหา พ่อเหมือน หลังจากที่ขายของเสร็จ หรือตลาดวายในช่วงสายที่ร้านกาแฟ เพื่อไปฟังท่านแลกเปลี่ยนความคิดกันในเรื่องต่างๆสุดท้ายก็มาลงเอยเรื่องพระ เครื่อง เวลาไปดูพระเครื่อง ก็ได้แต่ยืนมองอยู่รอบๆนอกเป็นปี บ้างครั้งก็เลี้ยงกาแฟ ไม่เคยได้จับพระกับเขาเลย ได้แต่ฟังเรื่องเขาเล่ากันทุกวันจนบางเรื่องจำได้อย่างขึ้นใจถึงประสบการณ์ ที่เหนือการพิสูจน์ จนอยู่มาวันหนึ่ง พ่อเหมือน เห็นว่าตนนั้นได้มาดูและฟังเล่าเรื่องพระเครื่องทุกวันจนเกิดความสงสารและ ได้บอกว่า

“ไอ้หนูเอ็งอยากเป็นพระเหรอ” ตอบว่า “ครับผมอยากเป็นพระ และอยากรู้ครับพ่อ” “ข้าจะให้เอ็งดู”

 แล้ว จากนั้นก็นำพระของแกให้ดูโดยไม่ให้แตะ ต้องพระองค์นั้นเลย คือให้ดูแต่ตา ได้แต่พลิกดูในฝ่ามือได้ดูแค่นั้นจริงๆ ถ้าจะดูจริงต้องใช้กล้องส่อง พอดูพระของแกเสร็จแล้วก็บอกชื่อพระให้รู้และให้จำเอาไว้ วันรุ่งขึ้นแกก็เอาให้ดูอีกองค์ และถามว่าเป็นพระอะไร ขณะนั้นไม่รู้ว่าเขาสอน รู้เพียงแต่ว่าให้เราจำได้และบอกแกไป ในใจคิดว่าคงเป็นการทดสอบความสามารถ แต่ตนก็ไม่สามารถตอบได้ จากนั้นแกก็ได้นำเอาพระมาวางบนผ้าเช็ดหน้าให้ส่องและหยิบจับได้ บอกเนื้อหามวลสาร ว่าดูอย่างไร เป็นแบบไหน และทำไมถึงเป็นแบบนี้ แกได้เริ่มสอนได้ให้ความรู้จนนับถือท่านเป็นครูคนแรกและคำที่แกสอนไว้ยังจำ ได้ไม่เคยลืม คือ “พระไม่มีโรงเรียนสอน อยากได้อยากรู้ต้องค้นคว้าเอง”

และ สอนอีกว่า “ถ้าเล่นพระอย่าโลภ อย่าเห็นเงินแล้วตาโต อย่าเล่นด้วยหูให้ดูด้วยตา” ตั้งแต่นั้นมาก็เลยมีความผูกพันกับท่านมาตลอดมีอะไรก็จะมาให้ดู เพราะท่านมีพระแทบทุกประเภท

พ่อชม หรือเสือชม เป็นเพื่อนร่วมวงกาแฟได้ถูกยิงและถูกจับดำเนินคดีที่บางขวาง และถูกตัดสินประหารชีวิตสุดท้ายรอการประหารเกิดเป็นอัมพาตจนต้องนิรโทษกรรม และได้รักษาตัวเองจนหาย และก็ได้มาสนิทสนมกับแก ก็เลยถาม “พ่อหนังเหนียวยิงไม่เข้าจริงไหม ผ่านชีวิตอย่างโชกโชนมาเยอะมาก พ่อใช้พระอะไรติดตัว”

พ่อชมตอบแบบนักเลงเก่าว่า “กูใช้พระองค์เดียว พระปิดตาหลวง พ่อทับ วัดทอง ตะกรุด หลวงปู่อ่อน วัดน้อย บางซ้อนที่เป็นอาจารย์กรมหลวงชุมพรฯ และท่านเป็นสหายกับหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูง พ่อชมแกบอกเป็นสหายกับกรมหลวงชุมพรฯด้วยเพราะเคยได้สักกับอาจารย์เดียวกัน แต่การดำเนินชีวิตเดินไปกันคนละเส้นทาง”

“ชีวิตบุรุษนาม“ พยัพ คำพันธุ์ เติบ โตมากับความจน ช่วยงานบ้านหาเลี้ยงครอบครัวด้วยการชกมวยตามงานวัดแต่ก็ยังจุนเจือไม่อิ่ม ปากอิ่มท้อง จึงพาครอบครัวเข้ากรุงเทพฯ มาหางานทำหวังว่าจะลืมตาอ้าปากได้แต่ก็ยังได้ไม่ดีเท่าที่ควร ย้ายกลับไปที่จังหวัดลพบุรีเพื่อพลิกพื้นผืนดินถางป่าทำไร่ที่พัฒนานิคมแต่ ก็ยังเหมือนเดิม มีครอบครัวก็เดินทางเข้ากรุงเทพอีกครั้งใช้ศิลปะมวยไทยที่ติดตัวมาหาเลี้ยง ชีพ และมาค้าขายอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี ตรงนี้แหละเป็นการพลิกผลันชีวิตให้ชีวิตเริ่มขยับดีขึ้นตามลำดับโดยมี ผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือและให้ความรู้ในเรื่องการดูพระเครื่อง จากอดีตจนมาถึง ปัจจุบันนี้คนในวงการพระเครื่องต่างให้การยอมรับเคารพนับถือเป็นอย่างถือได้ ว่าเป็นเสาหลักผู้หนึ่ง”

ป๋ายัพ ได้ไปพูดคุยกับเซียนพระเครื่องที่ร้านกาแฟอยู่เป็นประจำ หลายครั้งก็ได้เห็นลุงชม หรือเสื่อชม มีพระหลวงพ่อทับ วัดทองซึ่งท่านใส่ไท้เอาไว้และพันไว้ใต้ท้องแขน ได้เห็นจึงเกิดความชอบ นานๆจึงขอชมเพื่อศึกษา และได้เอ่ยปากถามแก่ไปว่า “ถ้าผมอยากได้พระหลวงปู่ทับของพ่อนี่จะต้องทำอย่างไร” ตัวแกเป็นเศรษฐี “บอกมึงไม่มีปัญญาซื้อหรอก” พูด สัพยอก ในใจป๋ายัพคิดในใจว่าตนนั้นก็ไม่มีปัญญาจะซื้อพระองค์นี้ได้ เพราะค้าขายอยู่ที่สนามหลวงและนนทบุรี แต่ก็มีเวลาว่างเดินดูพระแถวๆวัดมหาธาตุ สมัยนั้นสนามพระท่าพระจันทร์ยังไม่มี ได้บอกกับลุงแกไปว่า “ถ้ามีตังค์มาผมจะมาขอแบ่งพ่อได้ไหม” แกตอบ “ไว้มึงมีตังค์ค่อยมาคุยกัน”

ค้า ขายของได้เงินรวบรวมได้ 5,000 บาท แทนที่จะนำเงินนั้นไว้เป็นทุนค้าขาย แต่คิดอย่างไรจึงนำเงินจำนวนนั้นไปหาลุงและขอเช่าพระจากแก และแกหัวเราะ “กูพูดเล่นไม่ขายหรอก”เกิดรู้สึกใจหายที่ได้ยินคำพูดจากปากของลุงจึงได้บอก แกว่า “นี่หรือเสือชมชื่อดัง พูดแล้วไม่เป็นคำพูด นักเลงพูดคำไหนเขามีคืนคำกัน”แก คงโกรธเหมือนกันถาม “มีปัญหาซื้อพระกูเหรอ กูเอาเงิน 5,000 บาทแล้วกัน” ซึ่งราคานี้สมัยเงินจำนวนนี้ สามารถซื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ หรือพระสมเด็จบางขุนพรหมฯ องค์สวยๆ ได้เลย

จาก นั้นก็เอาเงินก้อนนั้นก่อนนั้นและบอกว่า “งั้นผมเอาพระพ่อก็แล้วกัน” แกตกใจแล้วบอก “มึงแน่มาก มึงเป็นลูกชายกู กูให้มึง กูชอบน้ำใจมึง เอาตังค์มึงเก็บไปค้าขายก่อน” ป๋ายัพจึงยื่นให้ 3,000 บาท และปืน 11 มม. อีก 10วัน จะนำเงินที่เหลื่อมาให้ ลุงแกคืนปืนให้ หลังจากนั้นครบตามกำหนดก็นำเงินมาให้อีก 2,000 บาท ลุงคืนกลับให้มา 500 บาท แกบอกว่าเงินที่ให้มานั้นไม่ได้นำไปใช้อะไร เอาเงินที่ให้มานั้นเอาไปทำบุญให้ครูบาอาจารย์

มีเหตุขึ้นกับชีวิต ขึ้นอีกครั้ง แทบบ้านแตก ได้ทะเลาะกับแม่บ้านเกือบจะเลิกกันเอาเงินที่ลงทุนไปซื้อพระ เมื่อเกิดเหตุจึงได้หยุดและนำพระเครื่องที่สะสม และลุงชมให้นำออกมาขาย จึงเป็นการเริ่มต้นนำพระมาซื้อขาย เป็นช่วง พี่ช่าง สะพานพุทธ เปิดตลาดนัดแลกเปลี่ยนพระที่สี่แยกบ้านแขกและที่สะพานพุทธ ก็ได้ตามไปตามนัดต่างๆ จากนั้นก็ได้ให้แม่บ้านเลิกค้าขายและตนนั้นจะหาเลี้ยงเอง เนื่องจากเห็นว่านำพระเครื่องมาขายดูจะเป็นลู่ทางที่ดีกว่าและไม่เหนื่อย

ตลาด นัดพระเครื่องสนามพระวัดมหาธาตุได้เลิก และแบ่งเป็นสองสนามที่วัดราช และท่าพระจันทร์ ได้เข้าไปอาศัยแผลงของผู้อื่น ต่อมาก็มีแผลงเป็นของตนเองจากนั้นก็ได้ไปตั้งศูนย์พระเครื่องที่ห้างพันธุ์ ทิพย์ (ประตูน้ำ) โดยการชักชวนจาก ปรีชา ดวงวิชัย และครูอรชัย เปิดได้ประมาณ 10 ปี การที่นำพระเครื่องขึ้นห้างเนื่องจากเห็นพระเครื่องแบกะดิน วางขายบนรัง จึงอยากจะยกระดับพระเครื่องให้สูง ยุคนั้นจัดเป็นสมาคม โดยมี ปรีชา ดวงวิชัย เป็นนายกสมาคมคนแรก และนำพระเครื่องเข้ามาประกวดเป็นครั้งแรก

ความ ภูมิใจมากที่ผู้ใหญ่เชิญให้เป็น กรรมการตัดสิน ในสมัยในมีอยู่กันไม่กี่คน ผู้ชำนาญก็มี ต้อย เมืองนนท์ ช้าง กรมชล ประเสริฐ ขันจำนง หม่อมหลวงธนพร วิรัช ณ อยุธยา และป๋ายัพ ซึ่งในวงการได้ให้ฉายา “ห้าทหารเสือ” ในสมัยนั้น จากนั้นก็มีผู้ใหญ่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือมาโดนตลอดจนถึงปัจจุบัน วงการไม่มีการแบ่งชั้น มีแต่พี่น้องเป็นวงการที่เอื้อเฟื้อต่อกัน ในปัจจุบันยังมีการบรรจุเข้าเป็นหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน ของกระทรวงศึกษาธิการฯ (กศน.) เป็นวิชาชีพ

พระเครื่องที่นำติดตัว นับถือเป็นพิเศษและติดตัวเป็นประจำ มี หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่สุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน อาจารย์เฮง ไพรวัลย์ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว พระปิดตาทุกองค์ นับถือและขาดไม่ได้ พระสมเด็จโต วัดระฆัง และสุดท้าย หลวงปู่ทวด วัดช้างให้

ท้าย นี้ เส้นทางชีวิตของแต่ละคนย่อมมีจุดเริ่มต้นและเป้าหมายที่แตกต่างกัน ทุกอย่างที่เป็นงานเป็นอาชีพนั้นต้องมีใจรักและความมุ่งมั่น ว่าเป็นไปได้ และทำได้จริงจึงจะพบกับคำว่า “ความสำเร็จในชีวิต” คติในการดำเนินชีวิตที่ยืดเสมอและเตือนใจถึงลูกๆและครอบครัวว่า “เกิดเป็นคนต้องมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์” ถ้าหากมีตรงนี้และรักที่จะเข้ามาในอาชีพนี้ชีวิตจะไม่มีวันอด ยืดมั่นถือมั่นในเรื่องนี้มาตลอด เพราะเมื่อไหร่ที่เราหมดเรื่องความซื่อสัตย์แล้วจะอยู่ในวงการนี้ไม่ได้ และท่านใดมีข้อสงสัยเรื่องพระ หรืออยากสอบถามเรื่องราวในวงการพระเครื่อง ได้ที่ สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ชั้น 3 ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า (งามวงศ์วาน)

บทความพระเครื่อง  หรือ ข่าวพระเครื่อง  จาก  //www.itti-patihan.com/พยัพ-คำพันธุ์-ป๋ายัพ-เปิดเส้นทางชีวิตของ-ผู้ชำนาญพระเครื่อง.html





Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2555 23:15:55 น. 0 comments
Counter : 14357 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.