พระเครื่อง : แหล่งข้อมูลบทความพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง และวัตถุมงคล
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
2 สิงหาคม 2555
 
All Blogs
 
จตุรพักตรพรหมา (ท้าวมหาพรหม) สุดยอดทางเมตตามหานิยม แคล้วคลาด

         ในพระพุทธศาสนานั้นยอมรับว่าพระพรหมเป็นเทพที่ปกป้องพระพุทธศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระบรมศาสดาหลายหนด้วยกัน  เห็นง่าย ๆ ก็คือ  การอาราธนาให้แสดงธรรมเป็นเจ้าแรก  ดังปรากฏในบทอาราธนาเทศน์ว่า  “พรหมาจโลกาธิปติ  สหัมปติ”  อันเป็นการระลึกถึงการอาราธนาธรรมของพระสหัมบดีพรหมนั่นเอง  อีกทั้งหลักธรรมในพระพุทธศาสนาข้อหนึ่งก็เป็นพรหมวิหารคือ  ธรรมะที่พระพรหมถือปฏิบัติเป็นประจำและผู้ที่จะได้ไปเป็นพรหมก็ต้องปฏิบัติเช่นนั้นคือ  1. เมตตา   2. กรุณา   3. มุฑิตา   4. อุเบกขา
1. เมตตา  คือ  มีความสงสารและเห็นใจผู้ที่ด้อยกว่าและร้องขอความช่วยเหลือ
2. กรุณา  คือ  ให้การสงเคราะห์ตามควรแก่กรณีที่จะทำได้
3. มุฑิตา  คือ  ให้ด้วยความบริสุทธิ์ไม่หวังในสิ่งตอบแทนภายหลังและให้โดยทั่วกัน
4. อุเบกขา  คือ  ความเที่ยงธรรมไม่ลำเอียงเห็นแก่หน้าหรือการให้ความเสมอภาคนั่นเอง
พระพรหมจึงมีบทบาทในเครื่องรางของขลังของไทยตั้งแต่โบราณมาและสิ่งแรกที่เกิดขึ้นก็คือ  ผ้ายันต์พระพรหม  อันมีลักษณะสองอย่างคือ
         ก. เขียนเป็นใบพระพักตร์ของพระพรหมสี่หน้าซึ่งอยู่ในมุมผ้ายันต์แล้วกำชับด้วยอักขระทั้งปวง
         ข. เป็นรูปพระมหาพรหมธาดา  ประทับนั่งบนแท่นและมองเห็นพระพักตร์สามด้านแล้วลงอักขระกำกับเอาไว้
         สำหรับผ้ายันต์รูปพระพรหมสี่พักตร์นั้น ท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์  ท่านได้สร้างเอาไว้หลายแบบด้วยกัน  แต่จะไม่ขอกล่าวในที่นี้  แต่จะขอกล่าวถึงเหรียญพระพรหม  ซึ่งนับว่าเป็นเหรียญที่ได้รับค่านิยมแพร่หลายเป็นอย่างยิ่งและมีเรื่องที่จะต้องทำความเข้าใจกันตรงนี้ก็คือ  มีหลายคนเข้าใจผิดว่าเหรียญพระมหาพรหมธาดาของท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์  ทุกรูปแบบนั้นจะเป็นแบบพรหมณ์ทั้งสิ้นหามิได้ครับท่านผู้อ่าน  และเพราะอะไรหรือครับก็เพราะท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์ท่านได้บอกเอาไว้เลย
         ท่านได้สร้างตามแบบตำรับไทยแบบพุทธเวทย์ทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่การปลุกเสกและลงอักขระ  แบบที่เรียกว่า  เป็นสุดยอดแก่งความเมตตาทั้งปวง  และท่าออกแบบมาในลักษณะเหรียญแบบสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดหรือแบบกลม  แบบอาร์ม  และแบบรูปไข่นั้น  ล้วนแต่มองเห็นพระพักตร์ครบทั้งสี่ด้านทั้งสิ้น
         ส่วนการผูกพระคาถาและลงเหล็กจารนั้นเป็นแบบพุทธเวทย์ตามตำรับที่ถ่ายทอดมาจากวัดพระญาติการาม  เพราะท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์นั้น  เมื่อบวชอยู่ได้เล่าเรียนวิชากับหลวงพ่อกลั่น  วัดพระญาติการาม  จนสำเร็จวิชาชาตรีและพระเวทย์ทางเมตตามหานิยมครบถ้วน
ส่วนลักษณะของเหรียญท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์นั้นจะมีแต่ด้านหน้าด้านเดียวส่วนด้านหลังว่างเอาไว้ลงเหล็กจารเท่าที่เห็นก็มีดังนี้
          ก.ตาตารางตรีนิสิงเห
          ข.เม อะ มะ อุ นะ ทรงธรณี
          ค.ยันต์ห้า
          พุทธคุณและวิธีอาราธนา
        และเครื่องรางชุดพระมหาพรหมธาดาสี่พระพักตร์ของท่านอาจารย์เฮง  ไพรยวัลย์นั้นไม่ว่าจะเป็นแบบไหน  ใช้ทางเมตตาและป้องกันตัวแบบครอบจักรวาล  การอาราธนาโดยใช้คาถาดังต่อไปนี้คือ  ปิโย  เทวะมะนุสสานัง  ปิโยพระหมานะมุตตะโม  ปิโยนาคะสุปัณนานัง  ปิยินทรียัง  มะนุสสานัง  เอหิจิตตังปิยังมามะ  (ท่องสามจบ)  แล้วอาราธนาว่า  ขอเดชะพระพุทธคุณนัง  พระธัมมะคุณนัง  พระสังฆะคุณนัง  มาติปิตาคุณนัง  คุรุอาจาริยาคุณนัง  จตุพักตรพรหมาวิหารัง  เอหิจิตตัง  ปิยังมะมะ  นะมะพะทะ  นะโมพุทธายะ  มะอะอุ  จากนั้น  อธิษฐานจิตได้เลยว่าจะให้เมตตาให้แคล้วคลาด  ให้เป็นมหาอุดหรือคงกระพันก็จงนึกเอาเวลาเกิดเรื่องตีกัน  ให้เอามือตบผ้ายันต์หรือเหรียญพระพรหมให้รู้ตัวมีสติอย่างเผอเรอและเจริญภาวนาว่าในใจว่า
             “โอม  จตุพักตรพรหมา  นะมามิหัง”
และจะรอดปลอดภัยทุกประการเลยทีเดียว  แต่จิตต้องมั่น   ใจมั่น  และเครื่องรางจะขลัง  และไม่ว่าใครก็ทำอะไรไม่ได้หรือท่านผู้อ่านจะใช้พระคาถาบทนี้ก็ได้
พระคาถาบูชาพระพรหม
โอม  ปะระเมสะนะมัสการัม
องการะนิสสะวะ  รัง  พระหมเรสสะยัม  ภูปัสสวะ  วิษณุ  ไวยะทานะโมโทติลูกปัม  ทะระมา  ยิกยานังยะไวยะลา  คะมุลัม  สะทานันตะระ  วิมุสะตินัน  นะมัติเตนะมัตเต
จะ  อะการัง  ตะโถวาจะ  เอตามาระยัต  ตะมันตะรามา  กัตถะนารัมลา  จะสะระจะปะติตัม  สัมโภพะกลโก  ทิวะทิยัม  มะตัมยะ


พระเครื่อง|ตลาดพระ|ตลาดพระเครื่อง|ข่าวพระพุทธศาสนา | ข่าวประชาสัมพันธ์


Create Date : 02 สิงหาคม 2555
Last Update : 2 สิงหาคม 2555 21:13:42 น. 0 comments
Counter : 6759 Pageviews.

amulet108
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 96 คน [?]








Friends' blogs
[Add amulet108's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.