HR Management and Self Leadership
<<
มีนาคม 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
15 มีนาคม 2553

Coaching แนวทางการพัฒนาพนักงานที่ขาดไม่ได้



การพัฒนาพนักงานด้วยวิธีการสอนงาน หรือภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า Coaching นั้น ในปัจจุบันหลายองค์กรให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นวิธีการที่ได้ผลอย่างมาก (ถ้าทำได้ดี) เมื่อเทียบกับวิธีการพัฒนาพนักงานด้วยแนวทางอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือการให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง

การสอนงานนั้นเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของบรรหาหัวหน้างานทุกคน และทุกระดับที่จะต้องสอนและให้คำแนะนำการทำงานแก่ลูกน้องของตนเอง เพื่อให้เขาสามารถที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตามที่องค์กรต้องการ

แต่ในทางปฏิบัติหัวหน้างานต่างก็ลืมความสำคัญในข้อนี้ไป ส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นไปที่การวางแผนและการควบคุมงานให้ได้ตามแผนงานที่กำหนด ไว้ โดยไม่ค่อยได้ลงมือสอนงานและให้คำแนะนำในการทำงานแต่พนักงานสักเท่าไร เท่าที่ผมได้สอบถามบรรดาหัวหน้างานในเรื่องของการ Coaching นั้น ได้รับคำตอบมาดังนี้ครับ


* “สอนงานหรอ อืม… สอนอะไรล่ะ ผมไม่รู้จะสอนอะไรให้กับพนักงาน”

* “ไม่เห็นจำเป็นต้อง สอนเลย ฝ่ายฝึกอบรมก็มี ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายนี้ไม่ใช่หรอที่ต้องพัฒนาพนักงาน”

* “ก็พนักงานไม่เห็นจะ อยากเรียนเลย แล้วผมจะไปสอนอะไรให้เขาล่ะครับ”

* “เสียเวลางานของผม เปล่าๆ งานผมเยอะจะตายไป จะมัวไปสอนงานพนักงานอยู่ ก็ไม่ทันกินพอดี”

* แค่นี้ก็แทบจะไม่มี เวลาในการแก้ไขปัญหางานอยู่แล้ว จะเอาเวลาที่ไหนไปสอนงานพนักงานล่ะครับ”

* “สอนทำไมครับ สอนแล้วผมก็หมดความสำคัญไปน่ะสิ”



นี่เป็นเพียงตัวอย่างความคิดเห็นของหัวหน้างานที่ผมได้คัดเลือกมาบางส่วน เท่านั้น ที่มองการสอนงานเป็นสิ่งที่กินเวลาหัวหน้างาน คล้ายๆ จะบอกเราเป็นนัยๆ ว่า การสอนงานนั้นไม่ใช่หน้าที่ของหัวหน้างานซะหน่อย ทำไมต้องสอนงานด้วยล่ะ และทำไมไม่ให้ฝ่ายฝึกอบรมรับผิดชอบไป เพราะหน่วยงานนี้ก็ตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาพนักงานอยู่แล้ว


ด้วยความคิดแบบนี้ของหัวหน้างาน จึงทำให้การสอนงานในองค์บ้านเราไม่ค่อยเกิดขึ้นมากนัก หรือเกิดแบบกระท่อนกระแท่นเต็มที ทำได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง ซึ่งผลกระทบสำคัญมากๆ ก็คือ ผลงานทั้งของพนักงานและของบริษัทก็จะแย่ตามไปด้วย หรือถ้าไม่แย่ ก็จะพัฒนาได้ช้ามากครับ


การทำงานให้บรรลุเป้าหมายผลงานนั้น ถ้าเราทำงานด้วยวิธีการของเราเองทั้งหมด โดยที่ไม่สนใจว่าองค์กรจะมีวิธีการทำงานอย่างไร หรือมีนโยบายอย่างไรนั้น ผมคิดว่าจะยิ่งทำให้การทำงานของเราไม่ได้ผล ดังนั้น หัวหน้างานจึงต้องเข้ามามีบทบาทอย่างมากในการที่จะบอกกับพนักงานถึงวิธีการ ทำงานที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลงานตามที่ตั้งใจไว้ ดังนั้นการสอนงานและการให้คำแนะนำงานจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากในการทำงานของ พนักงาน


เราจะสอนงานพนักงานเมื่อไร คำถามนี้เป็นคำถามที่ได้รับมาบ่อยมาก คำตอบก็คือ ทุกเวลาที่สามารถสอนงานได้ หัวหน้างานบางคนมองการสอนงานว่าจะต้องทำเป็นทางการ ต้องให้ลูกน้องมานั่งแล้วหัวหน้าก็ยืนพูด เพื่อสอนงาน แต่ในความเป็นจริงนั้น การสอนงานทำได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม ถ้าเรามองวัตถุประสงค์ของการสอนงานเป็นการพัฒนาผลงานของพนักงานแล้ว เราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า เมื่อไรที่ผลงานพนักงานมีปัญหา เราก็สามารถเข้าไปให้คำแนะนำและสอนงานพนักงานได้ทันที เพื่อให้แก้ไขผลงานให้ถูกต้อง ก่อนที่จะลุกลามรุนแรงไปจนยากที่จะแก้ไขได้ทัน


นายผมเองสอนงานได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นทางการหรือไม่ก็ตาม เมื่อไรที่ผมทำผลงานออกมาแล้วมีปัญหา นายก็จะเข้ามาให้คำแนะนำและสอนในสิ่งที่ควรจะเป็น บางครั้งเวลานั่งกินข้าวอยู่ด้วยกัน ก็หยิบยกเอาประสบการณ์ในการทำงานมาบอกเล่ากัน เพื่อให้เห็นมุมมองต่างๆ ในการทำงานที่แตกต่างออกไป


ยิ่งหัวหน้าสอนงานให้ลูกน้องเก่งขึ้นมากเท่าไร หัวหน้าก็จะสบายมากขึ้นเท่านั้น เพราะไม่ต้องมานั่งปวดหัวกับเรื่องยิบย่อย หัวหน้าก็จะสามารถใช้เวลาไปกับการคิดงานใหม่ๆ โครงการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการทำงานของหน่วยงานของตนให้ก้าวหน้าและดีขึ้นไปอีก


ลองพิจารณาถึงผู้บริหารที่มีชื่อเสียงขององค์กรต่างๆ สิครับ ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การสอนงานให้ลูกน้องของตนเก่งขึ้นเรื่อยๆ ถามว่าลูกน้องเก่งแล้วนายหมดความสำคัญจริงหรือ คำตอบคือ ไม่เลย หัวหน้างานคนนั้นจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร เพราะเป็นคนที่ทำให้คนอื่นเก่งขึ้นได้ คนแบบนี้องค์กรยิ่งอยากจะรักษาไว้ และอยากจะทำให้เขาก้าวหน้าขึ้นไปอีก เพราะเขาเป็นทรัพยากรที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมหาศาลครับ


ลูกน้องที่ทำงานกับเรามา 10 ปี เราอยากให้เขามีประสบการณ์สิบปีจริงๆ หรือมีประสบการณ์แค่เพียง 1 ปี แต่ 10 ครั้ง ลองคิดให้ดีนะครับ




 

Create Date : 15 มีนาคม 2553
1 comments
Last Update : 15 มีนาคม 2553 7:39:26 น.
Counter : 1217 Pageviews.

 


 

โดย: หน่อยอิง 15 มีนาคม 2553 10:48:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


singhip
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 72 คน [?]




ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล
และการพัฒนาภาวะผู้นำ

วางระบบการบริหารค่าจ้างเงินเดือน ระบบบริหารผลงาน และระบบการบริหารงานทรัพยากรบุคคลให้กับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
[Add singhip's blog to your web]