Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 
24 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. ทรงทราบอินทรีย์อันยิ่งหย่อนของสัตว์

.




อุทายิ !
บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก. สี่จำพวกเหล่าไหนเล่า? สี่จำพวก คือ :-

อุทายิ !
บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ ความดำริอันซ่านไป (สรสงฺกปฺปา) ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่; เขาทนมีความดำริอันซ่านไปเหล่านั้น ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่กระทำให้สิ้นสุดเสีย ไม่กระทำให้ถึงซึ่งความไม่มี;


(หมายเหตุ จขบ.
อุปธิ [อุปะทิ] น. กิเลส, ความพัวพัน, เหตุแห่งการเวียนเกิด; ขันธ์ ๕,
ร่างกาย. (ป., ส.).)



อุทายิ !
เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่า เป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส (สํยุตฺโต) หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลส (วิสํยุตฺโต) ไม่. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?

อุทายิ !
เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ !
แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ ความดำริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ กลุ้มรุมเขาอยู่; เขาไม่ทนมีความดำริอันซ่านไปเหล่านั้น เขาละอยู่ บรรเทาอยู่ กระทำให้สิ้นสุดอยู่ กระทำให้ถึงซึ่งความไม่มีอยู่;

อุทายิ !
เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ ว่า ยังเป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?

อุทายิ !
เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ !
แต่ว่าบุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ; เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดำริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่;

อุทายิ !
(ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้น ก็ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) เขาทำให้ความดำรินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุดไปถึงความไม่มีไปอย่างฉับพลัน, ไปเสียอีก.

อุทายิ !
เปรียบเหมือนบุรุษหยดน้ำสองสามหยด ลงไปในกระทะเหล็กที่ร้อนเปรี้ยงอยู่ทั้งวัน; (ระยะเวลาที่) น้ำหยดลงไป ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) น้ำนั้นถึงซึ่งความเหือดแห้งหายไปอย่างฉับพลัน, ฉันใด;

อุทายิ !
ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อสลัดคืนซึ่งอุปธิ; เพราะการหลงลืมแห่งสติในกาลบางคราว ความดำริอันซ่านไป ซึ่งประกอบด้วยอุปธิ ก็กลุ้มรุมเขาอยู่;

อุทายิ !
(ระยะเวลาที่) สติ (จะกลับ) เกิดขึ้นก็ยังช้า (กว่าระยะเวลาที่) เขาทำให้ความดำรินั้นละไป บรรเทาไป สิ้นสุดไป ถึงความไม่มีไปอย่างฉับพลัน, ไปเสียอีก;

อุทายิ !
เราย่อมกล่าวบุคคลแม้นี้ ว่า ยังเป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลส หาใช่เป็นผู้ปราศจากกิเลสไม่ อยู่นั่นเอง. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?

อุทายิ !
เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ !
ก็แต่ว่า บุคคลบางคนในกรณีนี้ รู้แจ้งว่า "อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์" ดังนี้แล้ว เป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วเพราะความสิ้นแห่งอุปธิ;

อุทายิ !
เราย่อมกล่าวบุคคลนี้แล ว่าเป็นผู้ปราศจากกิเลส หาใช่เป็นผู้ประกอบอยู่ด้วยกิเลสไม่. เพราะเหตุไรเราจึงกล่าวอย่างนั้น?

อุทายิ !
เพราะเหตุว่า เรารู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์ (ที่มีอยู่) ในบุคคลนี้.

อุทายิ ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล มีอยู่ในโลก.

หมายเหตุ:
ข้อความที่กล่าวนี้ อาจจะเข้าใจยาก สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับสำนวนบาลี จึงขอสรุปความให้ดังนี้ :

พวกที่หนึ่ง
ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ ครั้นเกิดสรสังกัปปะความคิดที่เป็นกิเลสเนื่องมาแต่อุปธิ เขาทนต่อสรสังกัปปะนั้น ไม่มีการละการบรรเทาซึ่งสังกัปปะ เขายังเป็นสํยุตโต คือประกอบอยู่ด้วยอุปธิ.

พวกที่สอง
เมื่อเกิดสรสังกัปปะ เขาไม่ยอมทน แต่พยายามเพื่อละเพื่อบรรเทาซึ่งสังกัปปะนั้น ยังละไม่ได้ ก็ยังเป็นสํยุตโตอยู่เช่นเดียวกัน.

พวกที่สาม
ปฏิบัติเพื่อละอุปธิ เกิดสรสังกัปปะเมื่อเขาเผลอในบางคราว ยังไม่ทันทำสติให้เกิดขึ้น เขาละสรสังกัปปะได้ แต่ก็ยังเป็นสํยุตโตอยู่นั่นเอง เพราะยังละอุปธิไม่ได้.

พวกที่สี่
รู้แจ้งด้วยปัญญาถึงข้อที่อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์ แล้วหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นอุปธิ นี้เรียกว่าเป็นวิสํยุตโต ผู้ไม่ประกอบอยู่ด้วยอุปธิ. สี่พวกนี้แสดงความต่างแห่งอินทรีย์ซึ่งทรงทราบได้ด้วยพระญาณ.

ยังมีบาลีอีกแห่งหนึ่ง ทำนองจะแสดงเรื่องอินทรีย์ ริยปโรปริยัตตญาณด้วยเหมือนกันหากแก่เรียกโดยชื่ออื่น ว่าปุริสินท์ริยญาณ; แสดงอินทรีย์ของสัตว์ ๖ ประเภท คือ

พวกที่หนึ่ง อกุศลปรากฏ, กุศลไม่ปรากฏ แต่กุศลมูลมีอยู่ จึงไม่เสื่อมอีกต่อไป.
พวกที่สอง กุศลปรากฏ อกุศลไม่ปรากฏ แต่อกุศลมูลมีอยู่จึงเสื่อมต่อไป.
พวกที่สาม ไม่มีธรรมขาวเลย มีแต่ธรรมดำ ตายไปอบาย.
พวกที่สี่ อกุศลปรากฏ กุศลไม่ปรากฏ กุศลมูลถูกถอน จึงเสื่อมต่อไป.
พวกที่ห้า กุศลปรากฏอกุศลไม่ปรากฏ อกุศลมูลถูกถอน จึงไม่เสื่อมต่อไป.
พวกที่หก มีแต่ธรรมขาวโดยส่วนเดียว ไม่มีธรรมดำเลย จักปรินิพพานในทิฏฐธรรม.

ดังนี้ก็เป็นการแสดงความต่างแห่งอินทรีย์ของสัตว์. ผู้สนใจพึงอ่านรายละเอียดจากบาลี สูตรที่ ๘ ปฐมวรรค ทุติยปัณณาสก์ฉกฺก. อํ. ๒๒/๔๕๑/๓๓๓. -ผู้รวบรวม.

.
.
.
บาลี ลฑุกิโกปมสูตร ม.ม. ๑๓/๑๘๗/๑๘๑.
ตรัสแก่พระอุทายี ที่อาปณนิคมแคว้นอังคุตตราปะ.




 

Create Date : 24 มิถุนายน 2555
0 comments
Last Update : 24 มิถุนายน 2555 8:32:57 น.
Counter : 1423 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.