Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 
6 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ .. วิหารธรรมที่ทรงอยู่มากที่สุด ก่อนตรัสรู้

.




ภิกษุ ท. !
ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มาก ซึ่งสมาธิใดสมาธินั้น ภิกษุย่อมจะได้โดยไม่หนักใจ ได้โดยไม่ยาก โดยไม่ลำบากเลย.

ภิกษุ ท. !
ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิต ก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่งการเจริญทำให้มากซึ่งสมาธิไหนกันเล่า?

ภิกษุ ท. !
ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตาม ย่อมมีขึ้นไม่ได้ ด้วยอำนาจแห่ง การเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ.

ภิกษุ ท. !
เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิอยู่อย่างไรเล่า ความหวั่นไหวโยกโคลงของกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงของจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้?

ภิกษุ ท. !
ภิกษุในกรณีนี้ ไปสู่ป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างก็ตามแล้วนั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นหายใจเข้าก็มีสติ หายใจออก ก็มีสติ.

- เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว, เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกยาว.

- เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้าสั้น, เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่าเราหายใจออกสั้น.

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวงหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำกายสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งปีติหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุข หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งสุขหายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้สงบรำงับอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตตสังขาร ให้สงบรำงับอยู่หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้รู้สึกพร้อมเฉพาะซึ่งจิต หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์บันเทิงอยู่หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ดำรงจิตให้ตั้งมั่นอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้ทำจิตให้ปลดปล่อยอยู่ หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นความไม่เที่ยง หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความจางคลาย หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็น ความจางคลาย หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจเข้าอยู่". ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความดับสนิท หายใจออกอยู่".

เธอย่อมทำการสำเหนียกฝึกฝน โดยหลักว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจเข้าอยู่", ว่า "เราจักเป็นผู้มองเห็นธรรมเป็นความสลัดกลับหลัง หายใจออกอยู่". ดังนี้.

ภิกษุ ท. !
เมื่อบุคคลเจริญทำให้มากซึ่งอานาปานสติสมาธิ อยู่อย่างนี้แล ความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งกาย หรือความหวั่นไหวโยกโคลงแห่งจิตก็ตามย่อมมีขึ้นไม่ได้. ....ฯลฯ....

ภิกษุ ท. !
แม้เราเองก็เหมือนกัน ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็นโพธิสัตว์อยู่ ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรม คืออานาปานสติสมาธินี้ เป็นส่วนมาก. เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก กายก็ไม่ลำบาก ตาก็ไม่ลำบาก และจิตของเราก็หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่มีอุปาทาน.

ภิกษุ ท. !
เพราะฉะนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า กายของเราก็อย่าลำบาก ตาของเราก็อย่าลำบาก และจิตของเราก็จงหลุดพ้นจากอาสวะเพราะไม่มีอุปาทานเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า ความครุ่นคิดอันเกี่ยวข้องไปทางเหย้าเรือนของเรา จงหายไปอย่างหมดสิ้น ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้อยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่ปฏิกูล ทั้งต่อสิ่งที่ปฏิกูล และต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้นจงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ ให้เป็นอย่างดี.

ภิกษุ ท. !
ในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้ไม่ใส่ใจเสียเลยทั้งต่อสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและต่อสิ่งที่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง แล้วเป็นผู้อยู่อุเบกขามีสติสัมปชัญญะเถิด ดังนี้แล้ว; ภิกษุนั้น จงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี.

(ต่อแต่นี้ มีตรัสทำนองนี้เรื่อยไปจนถึง ความหวังจะได้ ..
- ปฐมฌาน
- ทุติยฌาน
- ตติยฌาน
- จตุตถฌาน
- อากาสานัญจายตนะ (กำหนดช่องว่างหาที่สุดไม่ได้ ซึ่งเกิดจากการเพิกกสิณออกไป เป็นอารมณ์)
- วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ (คือเลิกกำหนดที่ว่าง เลยไปกำหนดวิญญาณแผ่ไปสู่ที่ว่างแทน) เป็นอารมณ์)
- อากิญจัญญายตนะ (ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์, ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน)
- เนวสัญญานาสัญญายตนะ ((เลิกกำหนดแม้แต่ภาวะที่ไม่มีอะไรเลย) เข้าสู่ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)
- สัญญาเวทยิตนิโรธ (เป็นการดับวจี กาย และจิต วจีดับมาแต่ทุติยฌาน กายดับคือไม่มี ลมหายใจแต่จตุตถฌาน จิตดับเมื่อเข้านิโรธ จะเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธได้ ต้องเป็นบุคคลที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ หรือได้บรรลุมรรคผลแล้ว ซึ่งหมายความว่า เป็นเรื่องที่จำกัดอยู่ในวงการพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่น เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธไม่ได้)

จนกระทั่งความดับเย็นแห่งเวทนา เพราะความไม่เพลิดเพลินในเวทนานั้น เป็นที่สุด ว่าผู้ต้องการพึงทำในใจ ในอานาปานสติสมาธินี้ให้เป็นอย่างดี).
.
.
.
บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๓๙๙, ๔๐๑/๑๓๒๔, ๑๓๒๙.
ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน
ปรารภพระมหากัปปินะเข้าสมาธินั่งนิ่งไม่ไหวติงจนเป็นปรกติ




 

Create Date : 06 มิถุนายน 2555
1 comments
Last Update : 6 มิถุนายน 2555 12:08:20 น.
Counter : 1445 Pageviews.

 

_/|\\_ _/|\\_ _/|\\_

 

โดย: Pan (Pan@CA ) 6 มิถุนายน 2555 22:24:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.