Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
3 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

ลูกวัยรุ่นหนีเที่ยวกับแฟน..ทำไงดี



สวัสดีค่ะ พ่อแม่ผู้ใฝ่ฝันอยากเป็นพ่อแม่ที่ช่วยให้ลูกได้พัฒนาตนเอง
ไปจนถึงจุดที่ เขาสามารถเป็นบุคคลอย่างที่เราอยากให้เป็น เมื่อวันนั้นที่เราไม่อยู่กับเขา
แล้ววันนี้ชวนคุยชวนคิดถึงการเลี้ยงดูลูกในโค้งสุดท้ายของเด็ก ก็คือ
เมื่อลูกเติบโตขึ้นเข้าสู่ช่วงของวัยรุ่นเต็มตัวนั่นเองค่ะ

ถึงตอนนี้ก็จะมี "ฮอร์โมน" เข้ามาผสมโรงซึ่งก็ยิ่งท้าทายค่ะ แถมจังหวะชีวิตของลูกที่เป็นวัยรุ่น
ก็มักจะเป็นช่วงจังหวะชีวิตที่คุณพ่อคุณ แม่อาจกำลังเริ่มเข้าสู่วัยทองอีกต่างหาก
"สงครามฮอร์โมน" ของคนสองวัยก็อาจเกิดขึ้นได้ง่ายๆ

แต่ถ้ามองอย่างสร้างสรรค์แล้วนั้นก็คงต้องคิดอย่าง "เห็นอกเห็นใจกัน" จะดีกว่านะคะ
ลูกก็ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ยาก คุณแม่เองก็เช่นกัน
ลูกมีปัญหาเรื่องผิวพรรณ คือมีสิว คุณแม่ก็อาจมีปัญหาเรื่องผิวพรรณเช่นกัน คือผิวแห้งจัด

แหม...เราอยู่ในวัยคล้ายๆ กันเลยนะลูก อะไรอย่างนี้เป็นต้น เหตุการณ์ที่อาจพบได้อีก
เช่น ลูกเริ่มแต่งตัวหัวตั้งย้อมสีผม เจาะลิ้นหรือสักกุหลาบที่ท้ายทอย
ต่อมาก็เริ่มไปเที่ยวบ้านเพื่อนแล้วกลับดึกกว่าที่ตกลงกันไว้
ต่อมาก็เริ่มมีแฟนแล้วโกหกพ่อแม่เพื่อจะได้ขับรถไปเที่ยวไกลๆ ด้วยกันโดยที่แฟนยังขับรถไม่แข็ง
หรือมีเพื่อนชวนไปปาร์ตี้ที่มีเหล้าเบียร์

โอย....ทำไงดี ไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะมันคือถนนสายหนึ่งของชีวิตที่มักจะต้องแล่นผ่านกันไป

งั้นเรามาหาทางออกกันเถอะค่ะ
ตามแนวทาง positive discipline ของท่านรองศาสตราจารย์ ดร.โจน อี เดอร์แรนท์
นักจิตวิทยาคลินิกเด็กและนักวิชาการสังคมศาสตร์ครอบครัว ประเทศแคนาดา
ได้นำเสนอสถานการณ์ที่ท้าทายของพ่อแม่ที่มีลูกเป็นวัยรุ่นเต็มตัว ดังต่อไปนี้ค่ะ

แต๊นแต่น!!!! เมื่อลูกเริ่มแต่งตัวหัวตั้งย้อมสีผม เจาะลิ้นหรือสักกุหลาบที่ท้ายทอย ทางเลือกที่เรามีคือ
ทางเลือกที่หนึ่ง คือ อธิบายความรู้สึกของท่านให้ลูกฟัง แล้วต่อรองหาทางประนีประนอมกัน
สอง. ห้ามลูกออกจากบ้าน
สาม. กล้อนผมเขาและเอาห่วงที่คิ้วโยนลงในโถส้วม อูย....อยากจะเลือกทางที่สองกับสามใช่ไหมคะ สะใจดี

แต่คำตอบที่เราๆ ท่านๆ ต้องพยายามฝึกฝนด้วยการคิด 4 ขั้นตอน
จากท่านรองศาสตราจารย์ ดร.โจน อี เดอร์แรนท์ นั้นท่านบอกว่าให้เราพยายามโต้ตอบในทางเลือกที่หนึ่งค่ะ

สถานการณ์ต่อไปคือ ลูกเริ่มไปเที่ยวบ้านเพื่อนแล้วกลับดึกกว่าที่ตกลงกันไว้ ทำไงดี
ทางเลือกที่มีคือ หนึ่ง. บอกลูกว่าต่อไปนี้ท่านจะไม่ไว้ใจเขาอีกแล้ว
ตั้งกฎใหม่ว่าทุกวันเมื่อเขากลับถึงบ้านจะต้องโทรบอก
และลงโทษว่าเดือนหน้าทั้งเดือน เขาจะไม่มีสิทธิออกจากบ้านในวันสุดสัปดาห์

สอง. ขอให้เขาอธิบายว่าทำไมจึงทำผิดกฎ ฟังเหตุผลของเขา
พิจารณาว่ากฎที่ท่านตั้งไว้นั้นยุติธรรมสำหรับเด็กวัยนี้หรือไม่
ให้เขามีส่วนร่วมในการกำหนดกฎใหม่ที่ยุติธรรม และจะเป็นการช่วยให้เขาปลอดภัย ด้วย

สาม. ตีเขาอย่างหนักเพื่อเป็นการลงโทษที่ไม่เคารพกฎของท่าน

ใช่แล้วค่ะ พ่อแม่ควรเลือกข้อสองค่ะ

สถานการณ์ต่อไป คือต่อมาก็เริ่มมีแฟนแล้วโกหกพ่อแม่เพื่อจะได้ขับรถไปเที่ยวไกลๆ ด้วยกัน
โดยที่แฟนยังขับรถไม่แข็ง น่าเป็นห่วงมาก ทำไงดี
ระหว่างข้อหนึ่ง บอกลูกว่าท่านรู้สึกเหมือนถูกทรยศ
และต่อไปนี้ท่านจะไม่ไว้ใจเขาอีกแล้ว บอกลูกว่าห้ามคบกับแฟนคนนี้อีกเพราะเขาจะพาลูกไปในทางเสื่อมเสีย

สอง. บอกลูกว่าการโกหกพ่อแม่เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดที่ลูกจะทำได้
และต่อไปนี้ความสัมพันธ์ของท่านกับเขาจะไม่มีวันเหมือนเดิม
และสั่งให้ลูกเข้าห้องนอนไป และห้ามออกจากบ้านเป็นเวลาสองเดือน

สาม. บอกลูกว่า ความปลอดภัยจากอันตรายเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลกสำหรับท่าน

อธิบายให้ลูกฟังว่ากฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ท่านตั้งขึ้นมาล้วนมาจากความรัก และความห่วงใยของท่านที่มีต่อลูกทั้งสิ้น
บอกลูกว่าหากเป็นเรื่องของความปลอดภัยแล้วท่านจะผ่อนปรนไม่ได้ และถามลูกว่าทำไมถึงทำผิดกฎและโกหก
จากนั้นฟังคำอธิบายและพยายามเข้าใจเหตุผลของลูก
ช่วยกันคิดกับลูกว่าจะมีวิธีไหนบ้าง ที่จะช่วยตอบสนองความต้องการเป็นอิสระ ของลูก

แต่ในขณะเดียวกันก็เพื่อความปลอดภัยของลูกด้วย
แล้วก็ไปพูดกับแฟนของลูกและอธิบายกฎเกณฑ์และเหตุผลของท่านให้เขาฟัง
ขอให้เขารับปากว่าจะไม่พยายามเชิญชวนลูกสาวท่านนั่งรถไปกับเขาอีก

คุณจะเลือกตอบโต้กับเหตุการณ์นี้อย่างไร
ตามแนวคิด positive discipline นี้ แนะนำทางเลือกคือ ข้อสามนั่นเองค่ะ


อีกสถานการณ์ชวนให้คิดก็คือ เมื่อลูกอายุ 17 ของเราไม่กลับมาบ้านตามที่ตกลงกันไว้ว่า
จะรีบกลับให้ทันสี่ทุ่มหลังจากไปงานปาร์ตี้กับเพื่อน
ท่านรู้มาว่าในงานอาจมีวัยรุ่นคนอื่นๆ ที่ดื่มสุรากันในงานอีกด้วย เราควรทำไงดีเอ่ย?

ถ้าตามละครไทยก็คงโดนสักเปรี้ยงสักปร้าง

แต่ทางเลือกตามแนวคิดนี้คือ
หนึ่ง. ห้ามลูกไม่ให้ออกจากบ้านหนึ่งเดือนเป็นการลงโทษ
และบอกว่าถ้าทำอย่างนี้อีกจะ ล็อกประตูและไม่ให้เข้าบ้าน

ทางเลือกที่สอง. ตบหน้าเพื่อสอนให้ลูกรู้ว่า ท่านจะไม่ทนกับพฤติกรรมที่ขาดความเคารพท่านเช่นนี้

สาม. บอกลูกให้รู้ว่าท่านกังวลใจขนาดไหน
อธิบายให้ลูกฟังว่าเวลาที่เราจินตนาการว่า คนที่เรารักกำลังตกอยู่ในอันตราย นั้นเรารู้สึกอย่างไร

จากนั้นอธิบายให้ลูกเห็นถึงความเสี่ยงของลูก
พร้อมถามลูกว่าจะทำอย่างไรบ้างเพื่อให้พ่อแม่ และตัวเขามั่นใจได้ว่าจะได้รับ ความปลอดภัย
และกลับบ้านตรงเวลาในครั้งต่อไป ช่วยกันคิดกฎขึ้นมาสักชุดหนึ่งที่ทั้งลูกและพ่อแม่ยอมรับได้
บอกลูกว่าท่านจะยอมให้ลูกออกจากบ้านได้ดึกขึ้น หลังจากที่ลูกทำตามกฎที่ตกลงกัน

คำตอบก็คือข้อสามนี้แหละค่ะ ไม่ง่ายแต่ก็ไม่ยากถ้าเรามีคนมาชี้ทางไว้ล่วงหน้าเช่นนี้นะคะ
ตัวของลอร่าเอง ก็มีลูกสาวที่เพิ่งจะอายุแค่ 7 ขวบ ยังไม่ได้ทดลองวิธีเหล่านี้
แต่อีกไม่ช้าก็คงได้ฝึกปฏิบัติจริงกันแล้วละค่ะ เด็กเดี๋ยวนี้โตเร็วจะตายไป


หลักการและเหตุผลของแนวคิด positive discipline นี้อาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน
แต่อาจเป็นเรื่องที่หลายท่านมองข้ามไปเช่นกัน แต่เมื่อได้ทดลองคิดไปตาม 4 ขั้นตอนแล้ว
ก็จะพบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับคุณลูกและตัวเราด้วยค่ะ
หลายเหตุการณ์ที่ได้เขียนไปฉบับก่อนๆ แล้วนั้นก็เป็นจริงในชีวิตของลูกสาวที่รักของลอร่าเช่นกัน
จึงได้ทดลองใช้วิธีคิดนี้แล้วค่ะ

ในช่วงแรกนั้นลูกอาจมีเหมือนเป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง และพรั่งพรูอาการง้องแง้งออกมามากมาย
เฉกเช่นพายุใหญ่ที่โหมกระหน่ำเข้ามา แต่เมื่อเราอยู่ใกล้และรอเวลาให้พายุพัดผ่านไป
ก็จะเป็นช่วงเวลาที่เราพ่อแม่ ลูก มานั่งหาข้อตกลงที่ดีร่วมกันได้ง่ายขึ้น
เมื่อเราใจตรงกันแล้วเราจะพบว่าเราดุลูกน้อยลง ให้กำลังลูกและตัวเองมากขึ้น มองไปข้างหน้าถึงอนาคตมากขึ้น

แม้หนทางยังอีกยาวไกล แต่เชื่อว่าเราๆ ท่านๆ จะเดินไปด้วยกันอย่างมั่นคงและสดใส
กับความสุขความสำเร็จที่รอคอยอยู่ข้าง หน้าค่ะ เป็นกำลังใจให้แก่กันและกันนะคะ


ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ
ที่มา : //women.sanook.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 03 กุมภาพันธ์ 2553
1 comments
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2553 21:27:06 น.
Counter : 2012 Pageviews.

 

จะดีหรอค่ะ เพราะเราก็พึ่งผ่านช่วงวัยรุ่นมา การตั้งกฎและตบตีไม่ใช่ทางออกที่ดีเลย ทางออกที่ดีเราคิดว่ามีหลายทางนะอย่างเช่นกับเรา แม่จะเข้ามามีบทบาทในทุกระยะอยู่แบบพี่สาว เพื่อนสาวคนสนิทและในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นทั้งแม่ของเรา ทำให้เราไว้ใจกล้าที่จะพูดทุกอย่างกับแม่และแม่เขาก็จะรู้เองว่าเราดูแลตัวเองได้แค่ไหน ถ้ายิ่งตั้งกฎและตบตีอาจทำให้เราเป็นใครสักคนที่น่ากลัวสำหรับลูกไม่ใช่คนที่ลูกเจอแล้วผ่อนคลายอยากปรึกษาเวลามีปัญหา แม่เราเขาจะให้ความไว้ใจกับเรา และทำให้เราเคารพด้วยคำพูดของเขา เหมือนโบราณว่าไว้ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุยังใช้ได้เสมอและตลอดไป ไม่รู้สินะ มีหลายทางเหมือนกัน แต่ทางนี้ก็อาจจะดีก็ได้ค่ะ ขอบคุณที่นำข้อความดีๆมาลงให้อ่านนะค่ะ

 

โดย: ลูกที่แย่ อยากเป็นแม่ที่ดี 4 กุมภาพันธ์ 2553 13:35:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.