Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
6 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
ความพิการทางสติปัญญา

ความพิการทางสติปัญญา

โบราณว่าคนเรา เกิดมามีอวัยวะครบ 32 ถือว่าเป็นบุญ แต่ในความพิการที่อาจเกิดได้ทุกขณะกับร่างกาย
เมื่อแรกเกิดนั้นดูจะเน้นหนัก ในเรื่องความพิการของสมองและสติปัญญา เพราะไม่สามารถมีสิ่งใดมาทดแทนได้
และชีวิตทั้งชีวิตก็จะต้องอยู่ในความต่ำต้อย ด้อยศึกษา เบาปัญญาอยู่ตลอดไป
ไม่สามารถแข่งขันในการยังชีพ ในการประกอบอาชีพได้ในโลก และในสังคมที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้ก้าวหน้า
ซึ่งพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และเต็มไปด้วยการแข่งขันในทุกด้านทุกมุม

สาเหตุของความพิการทางสติปัญญามี 3 ประการหลักคือ
สาเหตุทางพันธุกรรม สาเหตุทางชีวภาพ และสาเหตุทางด้านสิ่งแวดล้อม

1. สาเหตุทางพันธุกรรม
เป็นความผิดปกติที่ได้รับการถ่ายทอดมาแต่กำเนิด ทำให้เกิดความพิการทางสติ ปัญญา ร่วมกับความพิการทางกาย

สาเหตุทางกรรมพันธุ์พบไม่เกินร้อยละ 40 ของสาเหตุความพิการทางสติปัญญาและมีหลายประเภท
ความพิการทางสติปัญญา ที่เกิดจากกรรมพันธุ์ ได้แก่ ดาวน์ซินโดรม(down syndrome) เป็นโรคที่พบบ่อย
บุคคลประเภทนี้ มีความพิการทางสติปัญญาหรือปัญญาอ่อนตั้งแต่ระดับปานกลาง ถึงขนาดหนัก
ซึ่งพบบ่อยในมารดาที่อายุเกิน 45 ปีขึ้นไป และพบได้มากกว่ามารดาที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี


2. สาเหตุทางชีวภาพ
ได้แก่ สาเหตุที่เกิดจากสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อชีวิตคนเรา เป็นผลให้สมองหยุดชะงัก
ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการ เจริญเติบโตในระยะใดระยะหนึ่ง เช่น ขณะที่กำลังตั้งครรภ์ ขณะคลอด
และขณะหลังคลอด

2.1 ขณะตั้งครรภ์ สาเหตุของความพิการทางสติปัญญาในขณะตั้งครรภ์ ได้แก่

2.1.1 สุขภาพมารดาไม่ดี มีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคโลหิตจาง
โรคขาดสารอาหาร ฯลฯ สุขภาพของมารดาเป็นสิ่งสำคัญในขณะตั้งครรภ์
โรคแทรกระหว่างตั้งครรภ์มักจะทำให้เด็กคลอดก่อนกำหนด และมีโอกาสพิการทางสติปัญญาได้

2.1.2 มารดาติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เช่น เชื้อหัดเยอรมัน
การติดเชื้อในระยะ 3 เดือนแรก มักจะมีอันตรายต่อเด็กที่อยู่ในครรภ์
เป็นสาเหตุของการเกิดความพิการทางสติปัญญาได้ เชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น เชื้อซิฟิลิส ต้องรีบให้การรักษา
เพราะผ่านจากมารดาไปสู่เด็กได้โดยทางกระแสโลหิต ทำให้เด็กเกิดอาการซิฟิลิสแต่กำเนิด
และอาจทำให้คลอดก่อนกำหนด โรคนี้ป้องกันได้โดยตรวจเลือดของมารดา ถ้าพบควรรีบรักษาให้ทันท่วงที

2.1.3 มารดาได้รับสารพิษขณะตั้งครรภ์ เช่น ยาบางอย่างอาจทำให้เด็กที่อยู่ในครรภ์เกิดความพิการได้
ฉะนั้นมารดาควรระมัดระวังอย่างยิ่งในเรื่องการรับประทานยาเอง ควรหลีกเลี่ยงให้น้อยที่สุด
โดยเฉพาะยาจำพวกควินินหรือเตอร์ก๊อท ซึ่งมีฤทธิ์บีบมดลูกและขับเลือดซึ่งอาจทำให้แท้งได้
ยารักษาโรคเบาหวานและยาจำพวกคอร์ติโซมในสัตว์ทดลอง พบว่าทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้

2.1.4 ยาจำพวกสารเสพติด เช่น กัญชา เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแท้งได้
นอกจากนี้มารดา ควรหลีกเลี่ยงสารพิษจำพวกตะกั่ว สารหนู ซึ่งทำให้เกิดโรคสมองจากพิษตะกั่วได้
การป้องกันอีกทางหนึ่งคือ ต้องไม่ให้เด็กเล่นของเล่นที่พ่นสีซึ่งมีตะกั่วผสมอยู่

2.1.5 การสูบบุหรี่มาก ๆ หรือดื่มสุราเป็นประจำขณะตั้งครรภ์
เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้ง หรือมีความพิการแต่กำเนิด

2.1.6 มารดาได้รับความกระทบกระเทือนขณะตั้งครรภ์ เช่น หกล้มก้นกระแทกแรง ๆ อาจแท้งได้
อาจมีรกบางหรือรกมีการลอกตัว ทำให้เส้นโลหิตที่จะนำอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
ก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้

2.1.7 มารดาขาดสารอาหารที่มีคุณค่า โดยปกติในระยะหลังการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
เป็นระยะที่สมองทารกที่อยู่ในครรภ์กำลังเจริญเติบโต จึงต้องการอาหารที่มีคุณค่าไปบำรุงเลี้ยงสมอง
โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีน มารดาที่ตั้งครรภ์ควรจะต้องรับประทานเป็น 2-3 เท่าของคนปกติ
ถ้ามารดาสุขภาพไม่ดีและอดอาหารเหล่านี้ จะทำให้เซลล์สมองทารกหยุดการแบ่งตัว
เป็นผลให้มีสติปัญญาด้อยกว่าปกติ

2.1.8 การขาดแร่ธาตุ เช่น ธาตุเหล็ก ทำให้เกิดโลหิตจาง ร่างกายและสมองเจริญเติบโตช้า
การขาดวิตามิน โดยเฉพาะกรดนิโคตินิค (nicotenic acid) อาจทำให้พิการทางสติปัญญาได้
การขาดวิตามินบี 6 อาจทำให้ทารกเกิดการชักและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ถ้าต่ำมากถึง 40 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ จะทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาหรือปัญญาอ่อนได้


2.2 ขณะคลอด ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้โดย

2.2.1 การคลอดที่ผิดปกติ การคลอดก่อนกำหนด
ถ้าคลอดก่อนตั้งครรภ์ 37 วัน เด็กแรกเกิดจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่า 1,500 กรัม ซึ่งเกิดความผิดปกติทั้งทางร่างกาย
และสมอง เป็นผลให้มีความพิการทางสติปัญญาหรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ได้ เช่น
เด็กที่เป็นอัมพาตเนื่องจากสมองพิการ (cerebral palsy) มีความผิดปกติทางการพูด การได้ยิน และการฟัง
ยิ่งน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยยิ่งมีโอกาสที่สมองจะถูกทำลายได้

2.2.2 การคลอดเกินกำหนด จะทำให้คลอดยากและลำบาก
อาจทำให้สมองขาดออกซิเจนได้เพราะสมองเด็กถูกกดอยู่นานเกินไป

2.2.3 รกเกาะต่ำและลอกตัวก่อนกำหนด ทำให้มีการเสียเลือดมากและสมองขาดออกซิเจน

2.2.4 มารดาที่ได้รับยากล่อมประสาท หรือยาระงับความเจ็บปวดที่ทำให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
จะทำให้สมองของทารกขาดออกซิเจน หายใจไม่สะดวก ซึ่งเกิดขึ้นขณะคลอด


2.3 ขณะหลังคลอด ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้โดย

2.3.1 เด็กขาดสารอาหารที่มีคุณค่า
โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างเซลล์สมอง
ทำให้สมองเหี่ยวและตายไป เกิดความพิการทางสติปัญญาได้
ดังนั้นในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 5 ปี ควรจะได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

2.3.2 เด็กขาดภูมิคุ้มกันโรค
ถ้าสุขภาพไม่ดี อาจติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายหลังคลอด เช่น เชื้อวัณโรค นิวมอเนีย เชื้อไวรัส อาจลุกลามขึ้นสมอง
ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือเนื้อสมองอักเสบหรือเป็นฝีในสมอง
การให้ภูมิคุ้มกันโรค เช่น วัคซีนป้องกันไอกรน คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ และฝีดาษ ควรให้ในระยะที่เหมาะสม
เช่น ไม่ควรให้ในขณะที่เด็กกำลังเป็นไข้ หรือมีแผลพุพองตามตัว จะทำให้ลุกลามขึ้นสมอง
เป็นผลให้สมองอักเสบได้

2.3.3 สมองเด็กได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ
เช่น ตกจากที่สูง ๆ หรือถูกรถชน อาจทำให้กะโหลกศีรษะแตกร้าว มีเลือดออกในสมอง
และมีก้อนเลือดกดเนื้อสมอง ทำให้เนื้อสมองถูกทำลายกลายเป็นปัญญาอ่อนได้

2.3.4 อาการตัวเหลืองในทารกแรกคลอด อาจเกิดขึ้นได้ใน 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
จากภาวะนี้ทำให้มีระดับนิสิรูบินในเลือดสูง เนื่องจากมีการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดง
พบได้บ่อยในพวกที่กลุ่มเลือด แม่กับลูกไม่พึงผสมผสานกัน ถ้าทารกมีตัวเหลืองในระยะ 3 วันหลังคลอด
มักเกิดจากการติดเชื้อ เช่น สายสะดือเน่า จะทำให้มีระดับนิสิรูบินในเลือดสูง
การวินิจฉัยได้เร็ว และทำการถ่ายเลือดได้ทันท่วงทีจะช่วยลดอัตราการทำลายของสมองได้

2.3.5 เนื้องอกของสมองและเส้นโลหิต ทำให้มีการกดเนื้อสมองและมีการทำลายสมองเกิดขึ้น
เด็กอาจมีอาการชัก ทำให้เกิดความพิการทางสติปัญญาได้


3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม
ในที่นี้หมายถึงสิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยให้เกิดการเรียนรู้
ในครอบครัวที่พ่อแม่มีฐานะยากจน ขาดการศึกษาไม่มีความรู้จะสอนลูกและกระตุ้นลูก
ทำให้เด็กขาดการเรียนรู้ จึงเป็นเด็กด้อยโอกาสเพราะขาดประสบการณ์

3.1 พิการทางสติปัญญาเนื่องจากขาดการกระตุ้นทางจิตใจและสังคม (psychosocial disadvantage)
เช่น ครอบครัวอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ห่างไกลวัฒนธรรมและสังคม
พบมากในผู้พิการทางสติปัญญาที่เป็นระดับเล็กน้อย มีเชาวน์ปัญญาต่ำไม่มากนัก
มักจะพบในพ่อแม่ที่ข้างใดข้างหนึ่ง มีเชาวน์ปัญญาต่ำ
และพี่น้องในครอบครัวเดียวกันหนึ่งคน หรือมากกว่าหนึ่งคนก็มีเชาวน์ปัญญาต่ำด้วย
พบว่า มีสาเหตุมาจากหลาย ๆ อย่างด้วยกัน อาจเป็นกรรมพันธุ์ ขาดอาหารขณะตั้งครรภ์หรือหลังคลอด
พ่อแม่มีฐานะยากจน ขาดการศึกษา ไม่มีความรู้ที่จะฝึกสอนลูกให้เกิดการเรียนรู้ได้
ทำให้เด็กกลายเป็นปัญญาอ่อนได้ในที่สุด

3.2 พิการทางสติปัญญา เนื่องจากขาดการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม (sensory deprivation)
ในวัยทารกและวัยเด็กมักถูกทอดทิ้ง เช่น ถูกขังอยู่ในเปลขณะพ่อแม่ไปทำงาน
หรือเกิดจากมีความบกพร่องในการกระตุ้นประสาทสัมผัสเช่น ตาบอด หูหนวก
พวกนี้จะมีความพิการทางสติปัญญามากกว่าครอบครัว ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ.


โดย. นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ข้อมูลจาก //www.dailynews.co.th
ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //neuronarrative.files.wordpress.com


สารบัญ บทความ สุขภาพ
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 06 เมษายน 2553
Last Update : 6 เมษายน 2553 11:36:22 น. 0 comments
Counter : 677 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.