Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2552
 
 
25 ธันวาคม 2552
 
All Blogs
 
เคล็ดลับ…สร้างเจ้าสัวน้อย



พ่อแม่หลายคนบ่นกันเหลือเกินว่า ลูกใช้เงินเปลือง เห็นหน้าพ่อแม่เหมือนเห็นตู้เอทีเอ็มแบมือขอตังค์จังเลย
แต่แหม…เห็นบ่นๆ อย่างนี้ก็เถอะครับ สุดท้ายก็ใจอ่อนยอมควักให้ทุกที

คุณพ่อมืออาชีพเห็นแล้วส่ายหน้าอย่างอ่อนใจ " ไม่ไหวครับ ลูกเสียนิสัยกันพอดี"

ใครๆ ก็ออกปากชมเจ้าปลั๊ก ลูกชายวัย 14 ของคุณพ่อว่าเป็นเด็ก ใช้เงินเป็น
นอกจากจะรู้จักจัดการกับการใช้จ่ายของตัวเองแล้ว ยังเก็บเงินได้เดือนละตั้งหลายบาท
คอมพิวเตอร์เอย เครื่องเล่นเอย ซื้อมาด้วยเงินเก็บของปลั๊กทั้งนั้น

ฟังแล้ว ต่อมใคร่รู้ก็พองโตขึ้นมาทันทีเลยเชียวครับ อยากรู้จริงว่า คุณพ่อบ้านนี้เขามีเคล็ดลับอะไร


เงินๆ ทองๆ …เรื่องที่ต้องคุยกัน

การจัดการเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ นั้น ถือเป็นทักษะชีวิตสำคัญที่ต้องเรียนรู้
ลองคิดทบทวนดูนะครับว่า พ่อแม่เคยพูดถึงเรื่องพวกนี้กับลูกบ้างหรือไม่
" อู๊ย! บ่อยค่ะ อะฮั้นน่ะ พูดกรอกหูลูกทุกวัน ว่าบ้านเราไม่ได้พิมพ์แบ็งค์ใช้เองนะลูกจ๋า…าาาา"

ฮั่นแน่! อย่าปฏิเสธนะครับว่าหลายบ้านไม่ได้เป็นอย่างนี้ นั่นคือบ่น 3 เวลาหลังอาหาร
จนลูกแทบจะจำไดอะล็อกได้ แต่ที่จะพูดหรือสอนกันจริงๆ จังๆ นั้นกลับมีน้อยมาก

ในเมื่อไม่เคยเรียนรู้ แล้วลูกจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ที่มีความรับผิดชอบทางการเงินได้ยังไงละครับ
ฉะนั้น หน้าที่ของพ่อแม่จึงไม่ใช่แค่ให้เงินลูกใช้ แต่ควรเป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องพวกนี้ให้กับเขาด้วย

แต่อย่างว่าครับ วัยรุ่นก็ยังเป็นวัยรุ่นอยู่วันยังค่ำ ที่ไม่ชอบให้ใครมาบอกมาสอนตรงๆ มีคำแนะนำว่า
พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ด้วยตัวเองครับ วิธีที่มักใช้และได้ผลก็คือ
ให้ลูกรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตัวเอง เป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน
(จะเป็นเท่าไรนั้น ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่พ่อแม่และลูกตกลงร่วมกัน)
ซึ่งนอกจากจะเป็นการสอนเรื่องการจัดการด้านการเงินแก่เขาแล้ว
พ่อแม่หลายคนยังยืนยันว่า เดือนๆ หนึ่งประหยัดเงินไปได้โขเชียวละครับ


สอนลูกใช้เงิน (ให้เป็น)

ใช้เงินน่ะไม่ต้องสอนครับ แต่จะทำยังไงให้เขาใช้เป็น…ใช้แบบรู้คุณค่านี่สิสำคัญ
ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับบางอย่าง ที่คุณพ่อหนุ่มปลั๊กแนะนำมา

▲ กำหนดเวลาการจ่ายเงินให้แก่ลูก และปฏิบัติตามตารางอย่างเคร่งครัด
อาจเริ่มจากรายสัปดาห์ และค่อยๆ ขยายเมื่อเขาโตขึ้น ละพ่อแม่เห็นว่าเขาสามารถรับผิดชอบได้ดี

▲ ปล่อยให้เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์
ถ้าลูกใช้เงินหมดก่อนเวลา หรือทำหนังสือเรียนหายและต้องซื้อใหม่ ให้เขาลองจัดการด้วยตัวเองก่อน

▲ การเบิกเงินล่วงหน้า สามารถทำได้ในบางครั้ง
แต่อย่าปล่อยให้เขาทำจนกลายเป็นนิสัย หากเห็นว่าชักถี่ อาจมีการคิดดอกเบี้ย (พอเป็นพิธี)


สอนให้ลูกทำบัญชีค่าใช้จ่าย

▲ เงินที่ให้แก่ลูกนั้น โดยทั่วไปพ่อแม่มักคำนวณจากความเหมาะสมในการใช้จ่ายอยู่แล้ว
จึงไม่ควรใช้วิธีตัดเงินเป็นการลงโทษเมื่อเขาทำผิด

▲ บางโอกาส อาจใช้วิธีจ้าง ให้ลูกทำงานนอกเหนือไปจากหน้าที่รับผิดชอบที่ตกลงกันไว้
เป็นการเพิ่มรายได้ให้เขาและให้ได้เรียนรู้โลกของความจริงที่ว่า การจะได้เงินมานั้นต้องแลกกับการทำงาน

▲ มอบหมายให้ลูกช่วยจัดการบัญชีค่าใช้จ่ายภายในบ้าน
เพื่อให้เขารู้ว่าในแต่ละเดือน ลูกไม่เคยร้องขอนาฬิกาเรือนใหม่หรือยีนส์แพงๆ อีกเลย

▲ ช่วยลูกวางเป้าหมาย (ทั้งระยะสั้นและยาว) ว่าจะเก็บเงินไปเพื่ออะไร
ทั้งนี้ควรเป็นเป้าที่มีความหมายกับเขา เช่น ซื้อเสื้อตัวใหม่ หรือเก็บไว้ใช้ตอนเรียนมหาวิทยาลัย

▲ สร้างแรงจูงใจในการออม เช่น ตกลงกันว่าถ้าลูกเก็บเขาจะเอาไปใช้อะไรก็ได้ อย่าวิพากษ์วิจารณ์
แม้เห็นว่าเป็นการใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง เพราะนั่นคือสิ่งที่เขาต้องเรียนรู้เอง


ย้ำกับลูก (และตัวเอง) บ่อยๆ ว่า…

▲ อย่าพกเงินเยอะๆ เข้าห้างสรรพสินค้า

▲ มองให้ไกล จะซื้ออะไรถามตัวเองก่อนว่า "คิดว่ามันคุ้มค่ากับเงินไหม ?" "ทนทานแค่ไหน ?"
"ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลต่อไปอีกเท่าไร ?" "มันจะหดไหมเนี่ย ?"

▲ ลองเปรียบเทียบราคาและคุณภาพของสินค้าจากหลายๆ ร้าน
▲ "ของมียี่ห้อน่ะ เขาคิดค่ายี่ห้อไปกว่าครึ่งของราคานะจ๊ะลูก"

▲ ซื้อของเซลไม่ใช่เรื่องน่าอาย
แต่เห็นแล้วอย่าเพิ่งมือไม้สั่น ดูคุณภาพให้ดีเสียก่อน เดี๋ยวจะเข้าตำรา เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

▲ ประเมินคุณค่าสิ่งของ ไม่เพียงแต่ในแง่ตัวเงิน แต่รวมถึงในแง่พลังงานที่ต้องใช้ไป
เช่น เสื้อตัวใหม่ที่มีราคาถึง 40 ชั่วโมงของการทำงานพิเศษ!…คุ้มไหมเอ่ย ?

▲ ก่อนจะซื้อของชิ้นใหญ่ๆ ที่มีราคาแพง
เช่น เครื่องเล่นซีดี อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ต้องทำการบ้าน เช็กราคาและหาข้อมูลก่อน

เห็นวิธีดีๆ และเข้มข้นของคุณพ่อคนเก่งแล้ว ไม่ข้องใจเลยว่า
เหตุไฉนแวว เจ้าสัวน้อย จากตัวเจ้าปลั๊กถึงทอประกายได้ขนาดนี้
บ้านไหนอยากจะหยิบยืมไปใช้บ้าง คุณพ่อไม่สงวนลิขสิทธิ์ครับ


ข้อมูลจาก life & family
ที่มา : //www.elib-online.com
ภาพจาก : //www.istockphoto.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 25 ธันวาคม 2552
Last Update : 25 ธันวาคม 2552 21:25:42 น. 0 comments
Counter : 830 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.