Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
8 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
"ขโมย" กับ "หยิบของคนอื่น"



หากผู้ปกครองเปิดกระเป๋านักเรียนของลูก แล้วเคยเจอของใช้ชิ้นใหม่ๆ
เช่น ดินสอ ยางลบ กระเป๋าใส่ดินสอ ฯลฯ ที่ไม่ใช่ของที่ซื้อให้บ้าง
ความคิดแรกที่คุณคิดคงหนีไม่พ้น ลูกไปเอามาจากไหน หรือไปขโมยของเพื่อนมา

ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง ผู้ปกครองจะจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร

คำว่า ขโมย คือพฤติกรรมที่จงใจหรือตั้งใจ ที่จะเอาสิ่งของของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกๆ วัยและมีความแตกต่างกัน เช่น เด็กเล็ก 2-3 ขวบไปหยิบของผู้อื่นมา
เพราะเด็กไม่รู้เรื่องว่าเป็นของผู้อื่น เป็นความอยากได้ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของมนุษย์
หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองก็ยังอยากมีอยากได้เหมือนผู้อื่น
แต่ผู้ใหญ่ไม่หยิบของผู้อื่น เพราะรู้ว่าไม่ถูกไม่ควร ไม่ใช่ของเรา

สำหรับเด็กเล็กไม่ได้เรียนรู้การใช้คำพูดระหว่างขโมยกับหยิบ ซึ่งมีความหมายที่ต่างกัน
เด็กจะสะเทือนใจมากเมื่อถูกมองว่าเป็นขโมย แม้เด็กจะนำสิ่งของไปคืนเจ้าของแล้วก็ตาม
แต่เด็กจะรู้สึกผิดไปตลอด และมองตัวเองในด้านลบแม้เด็กจะเติบโตขึ้นก็ตาม

สาเหตุที่เด็กมีพฤติกรรมขโมย อาจมาจาก
- ขโมย เพราะความอยากได้
- ขโมย เพราะไม่มี

ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็ก 12 ปี หยิบของๆ คนอื่น ต้องเข้าใจในพฤติกรรมของเด็กว่าทำไมเด็กถึงยังไปหยิบของผู้อื่น
เพราะ "อยากได้" แสดงว่า ไม่มี ไม่พอ (ใช้ได้กับทุกเรื่อง ไม่ว่าจะอยากได้ของ) อยากได้เพราะไม่มี

วิธีแก้ คือต้องให้แต่ไม่ใช่ให้แบบสุดโต่ง แต่ให้เพราะตอบสนองในสิ่งที่เด็กต้องการมี
เช่น เด็กวัยรุ่นเห็นเพื่อนมีของสวยๆ งามๆ แต่ตนเองไม่มี ต้องอยากได้เพราะเป็นไปตามวัย

แต่ถ้าอยากได้เพราะไม่พอ แล้วพ่อแม่ให้ไปเรื่อยๆ
เด็กจะไม่รู้จักคำว่า "พอ" จะเรียกร้องอยากได้อยากมีไปเรื่อยๆ ต้องแก้ให้ถูกทาง

สังเกตได้อย่างไรว่าต่างกัน
ถ้าอยากได้เพราะไม่มี เมื่อให้แล้วหยุด แสดงว่าพอ
แต่ถ้าอยากได้แล้วไม่พอ เมื่อมีการให้แล้วกลับอยากได้มากขึ้นเรื่อยๆ พ่อแม่ต้องหยุดความต้องการของเด็ก
ให้เด็กเรียนรู้จัก "พอ" โดยที่ยังให้เด็กรับรู้ว่า ถึงแม้จะไม่ได้ของตามที่ต้องการแต่พ่อแม่ยังรู้สึกดีๆ กับเด็กอยู่
ไม่ได้โกรธหรือเกลียดเด็กแต่อย่างใด

เพราะจริงๆ แล้วสิ่งที่เด็กอยากได้นั้นมีอยู่ 2 แบบ คืออยากได้สิ่งของกับอยากได้ใจ
เด็กมักจะสับสนอยู่ระหว่างเรื่องสิ่งของกับเรื่องความรู้สึก เช่น แม่ไม่ซื้อของให้แสดงว่าไม่รักหนูแล้วใช่มั้ย
ต้องรู้และบอกเด็กว่าไม่ซื้อให้แล้ว เพราะมีหลายอันแล้วแต่แม่ยังรักหนูอยู่นะ
บางครั้งเราเองก็เชื่อมโยงให้เด็กเข้าใจเองว่า แม่รักลูกนะถึงซื้อของให้
ต้องเชื่อมโยงให้เด็กเห็นว่าความรักอยู่ในหลายๆ แบบ ไม่ใช่รักด้วยการซื้อของให้ เพียงอย่างเดียว

ขโมยอีกประเภทหนึ่งคือ ขโมยเพราะอิจฉา โกรธ
บางครั้งเด็กใช้พฤติกรรมบางอย่างในการสื่อความรู้สึก เพราะเด็กยังเล็ก
ผู้ใหญ่ตัวโตและมีอำนาจมากกว่า ขณะที่เด็กไม่มีอำนาจ ผู้ใหญ่เป็นคนสั่ง เด็กเป็นคนรับ
บางครั้งเด็กมีความรู้สึก โดยเฉพาะความรู้สึกต่อต้าน ขัดแย้ง โกรธ
เป็นความรู้สึกของเด็กที่รู้สึกยากเกินที่จะบอกต่อผู้ใหญ่ หรือคนที่มีอำนาจมากกว่า
จึงแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ เช่น ก้าวร้าว ต่อต้าน เถียง เป็นต้น


วิธีการจัดการหลักๆ มี 4 วิธี คือ
1. ทำอย่างชัดเจน บอกให้ชัดเจน เช่น ถ้าหยิบของไป จะให้เอาไปคืนหรือชดใช้อะไร อย่างไร
2. บอกแล้วต้องทำได้จริง
3. ต้องทำสม่ำเสมอ
4. ต้องสงบนิ่ง ไม่ใช้อารมณ์

ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่พ่อแม่ ถ้ารู้ว่าลูกเป็นอย่างไรแล้วยังเฉย ไม่พูด ไม่สอน
เด็กจะไม่รับรู้ว่าสิ่งที่เด็กทำไปเป็นสิ่งที่ไม่ควร
ต้องพูดคุยกับเด็ก ให้เด็กมีโอกาสได้คิดได้ตัดสินใจเอง
พ่อกับแม่ต้องให้เด็กชดเชยกับสิ่งที่เด็กทำ ด้วยการสอนให้เด็กรับผิดชอบต่อสิ่งที่เด็กกระทำ

สนใจข้อมูลการเลี้ยงดูลูกอย่างสร้างสรรค์ และปลอดภัยหรือปรึกษาปัญหาพฤติกรรมเด็ก
ติดต่อ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก โทร. 0-2412-0738,0-2412-9834


ข้อมูลข่าวโดย : //www.matichon.co.th/khaosod/
ที่มา : //www.dmh.go.th
ภาพจาก : //novictims.wordpress.com


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 08 กรกฎาคม 2553
Last Update : 8 กรกฎาคม 2553 21:17:53 น. 0 comments
Counter : 3163 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.