Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
 
21 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
เลี้ยงลูกอย่างไรให้คิดเป็น



เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนสนิทที่ไม่ได้พบปะกันมาเป็นเวลานานได้เล่านิทานให้ฟังเรื่องหนึ่ง
นัยว่าได้มาจากการเข้ารับการอบรมการส่งเสริมกระบวนการคิดขององค์กรเอกชนแห่งหนึ่ง

นิทานมีอยู่ว่า มีเด็กผู้ชายเล็กๆ คนหนึ่งเป็นเด็กที่ชอบดูละครสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ
วันหนึ่งมีคณะละครสัตว์มาแสดงในเมืองที่เด็กคนนี้อาศัยอยู่ คุณพ่อคุณแม่ก็พาเด็กคนนี้ไปดูละครสัตว์เหมือนเช่นที่
เคยปฏิบัติมา ละครสัตว์ครั้งนี้สนุกมากเพราะมีสัตว์ต่างๆ มาร่วมแสดงมากมาย แต่สิ่งที่เด็กผู้ชายสนใจเป็นพิเศษ
คือช้าง เพราะช้างเป็นสัตว์ที่มีพลังมากมายมหาศาล และสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย
เมื่อการแสดงละครสัตว์เสร็จสิ้นลง เด็กผู้ชายก็รีบวิ่งเข้าไปดูข้างหลังโรงละคร ด้วยอยากรู้ว่า ช้างอาศัยอยู่อย่างไร
สิ่งที่เด็กผู้ชายเห็นก็คือ ช้างตัวโตถูกล่ามโซ่และผูกติดไว้กับหลักดินอันเล็กนิดเดียว
เด็กผู้ชายเห็นดังนั้นจึงเกิดความสงสัยว่า
“ทำไมช้างซึ่งมีพละกำลังมากมายมหาศาลจึงไม่ดึงหลักดินให้หลุดออกและวิ่งหนีไป จะได้เป็นอิสระ
ไม่ต้องถูกมนุษย์ใช้งานหนักๆ อีกต่อไป”

เด็กผู้ชายได้แต่เก็บงำความสงสัยดังกล่าวไว้ในใจ จนเมื่อเวลาผ่านไปหลายสิบปี
เด็กผู้ชายผู้นี้ได้เติบโตขึ้นเป็นชายหนุ่มเต็มตัวพร้อมกับความสงสัยที่ยังคงค้างคาอยู่ในใจ
วันหนึ่งชายหนุ่มได้มีโอกาสพบกับนักปราชญ์ก็เลยถือโอกาสถามข้อสงสัยที่ค้างคาในใจเป็นเวลาหลายสิบปีว่า
“ทำไมช้างซึ่งมีพละกำลังมากมายมหาศาลจึงไม่ดึงหลักดินให้หลุดออก และวิ่งหนีไป”
นักปราชญ์อธิบายให้ชายหนุ่มฟังว่า
“ช้างถูกเลี้ยงดูให้อยู่ในสภาพเช่นนั้นตั้งแต่แรกเกิด จนทำให้ช้างมีความเชื่อว่า ถึงตัวมันจะมีพละกำลังมากมาย
มหาศาลเพียงใด แต่ก็คงไม่สามารถดึงหลักดินให้หลุดออกได้”

นิทานที่เพื่อนเล่าให้ฟังจบลงเพียงแค่นี้ ทำให้อดคิดเชื่อมโยงไปถึงวิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กไม่ได้ กล่าวคือ
ถ้าพ่อแม่และคุณครูกำหนดกรอบในการอบรมเลี้ยงดูเด็กมากจนเกินไป บังคับให้เด็กเดินตามเส้นที่ขีดไว้เป๊ะๆ
จะบิดเบี้ยวออกนอกเส้น หรือนอกกรอบไปบ้างไม่ได้เลย
เด็กก็คงเติบโตมามีสภาพที่ไม่แตกต่างอะไรจากช้างในคณะละครสัตว์เป็นแน่
กล่าวคือไม่สามารถคิดแตกต่างจากกรอบที่กำหนดให้คิดได้ ต้องเดินไปตามเส้นที่กำหนดไว้อย่างเดียว
ซึ่งสภาพดังกล่าวดูจะไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมในยุคโลกาภิวัตน์ ที่เต็มไปด้วยข้อมูล ข่าวสาร
และการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้เด็กที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคตนั้นต้องเป็นคนที่สามารถคิดเป็น
และสามารถปรับตัวในสังคมวัตถุที่เต็มไปด้วยการรีบเร่ง แข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายได้



ทุกวันนี้ คุณพ่อคุณแม่จำนวนไม่น้อยมักเชื่อมโยงคำว่า ‘คิดเป็น’ กับคำว่า ‘เรียนเก่ง’ เข้าด้วยกัน
โดยเชื่อว่า ถ้าลูกเรียนหนังสือเก่งแล้วลูกจะสามารถคิดเป็นด้วย ซึ่งในความเป็นจริง คำว่า ‘เรียนเก่ง’กับคำว่า
‘คิดเป็น’ นั้นอาจเป็นสองคำที่ไม่ได้ไปด้วยกันในรูปแบบของสมการตามที่คุณพ่อคุณแม่คิด หรือนึกไว้ก็ได้
กล่าวคือ คนที่เรียนเก่งอาจไม่จำเป็นต้องคิดเป็น หรือคนที่คิดเป็นอาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่เรียนเก่งก็ได้
ซึ่งตัวอย่างก็มีปรากฏให้พบเห็นอยู่ไม่น้อยในสังคมไทยปัจจุบัน เช่น การที่บุคคลที่มีการศึกษาสูงซึ่งเรามักยกย่อง
ว่าเป็น คนเรียนดี เรียนเก่งแล้วแก้ปัญหาชีวิตของตนโดยการเบียดเบียน หรือทำร้ายชีวิตทั้งของตนเองและผู้อื่น
ดังนั้น คำถามสำคัญสำหรับคุณพ่อคุณแม่คงไม่ใช่คำถามที่ว่า
“ทำอย่างไรให้ลูกเรียนเก่ง” แต่น่าจะเป็นคำถามที่ว่า“ทำอย่างไรให้ลูกคิดเป็น และสามารถใช้ชีวิตในการอยู่
ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่ มีแต่ความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข” มากกว่า

เมื่อพูดถึง ‘เด็กที่คิดเป็น’ ก็ทำให้นึกไปถึงเด็กที่คิดได้อย่างลึกซึ้ง กว้างไกล
สามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ต่างๆ ที่พบเห็นในชีวิตประจำวันได้ รู้และเข้าใจความต้องการของตนเอง
เอื้ออาทรต่อความรู้สึกของผู้อื่น ขณะเดียวกัน ก็สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำรงชีวิต และการทำงานได้
สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข การที่เด็กจะพัฒนา และเติบโตเป็นบุคคลที่คิดเป็นได้นั้น
ส่วนหนึ่งย่อมขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ โดยมีหลักการสำคัญๆ ดังนี้


เปิดโอกาสให้ลูกคิด และตัดสินใจด้วยตนเองบ้าง
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรคิด หรือทำสิ่งต่างๆ ให้ลูกไปเสียทุกอย่าง แต่ควรส่งเสริมให้ลูกได้คิดเพื่อตัวของลูกเองด้วย
เมื่อคุณครูมอบหมายงานให้ลูกทำ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ใช้ความสามารถ และจินตนาการของตนเอง
ในการทำงานดังกล่าว ไม่ควรช่วยคิดหรือทำแทนลูก




เปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหาหรือความยากลำบากในชีวิตบ้าง
คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปิดกั้นปัญหา หรือความยากลำบากที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตของลูก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ
เปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญกับปัญหา และเรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหาด้วยตัวของลูกเอง
โดยที่คุณพ่อคุณแม่คอยเฝ้าดู และให้คำแนะนำ ปรึกษาอยู่ห่างๆ
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านไม่ต้องการให้ลูกประสบกับปัญหาใดๆเลยในชีวิต โดยจะคอย ปกป้องลูกจากปัญหาต่างๆ
ที่อาจกล้ำกรายเข้ามา เช่น เมื่อลูกขึ้นชั้นเรียนใหม่ คุณพ่อคุณแม่ก็พยายามที่จะเลือกห้องเรียนที่ดีที่สุด ให้กับลูก
เพื่อให้ลูกได้อยู่ท่ามกลางเพื่อนที่เรียนเก่ง เป็นเด็กดีหรือสนิทกับลูกมาก่อน
โดยไม่ยอมให้ลูกได้พบกับเพื่อนใหม่ๆ หรือเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงในชีวิตบ้าง
คุณพ่อคุณแม่หลายท่านมักอ้างเหตุผลว่า กลัวลูกจะไม่มีเพื่อนบ้าง กลัวลูกจะถูกเพื่อนแกล้งบ้าง
ซึ่งในความเป็นจริงของชีวิตนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องไม่ลืมว่า เราไม่อาจติดตามลูกไปในทุกหนทุกแห่ง
หรือช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ทุกปัญหาที่เข้ามาในชีวิตของลูกได้ ด้วยเหตุนี้
คุณพ่อคุณแม่ก็คงจำเป็นต้องเปิดโอกาสให้ลูกได้เผชิญก ับอุปสรรคต่างๆ ด้วยตนเองบ้าง
เพื่อให้ลูกได้ฝึกความอดทน ได้รู้จักกับความผิดหวังเมื่อสิ่งต่างๆ ไม่เป็นไปอย่างที่ใจคิด หรืออยากให้เป็น
ได้มีภูมิคุ้มกันที่ทำให้สามารถทนต่อแรงกดดันต่างๆ จากภายนอกและภายในตนเองได้
ขณะเดียวกัน ก็ต้องพยายามหักห้ามใจ อย่าสงสารลูกโดยการทำทุกสิ่ง หรือบันดาลทุกอย่างให้กับลูก
เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้การต่อสู้ชีวิต เห็นความไม่แน่นอน และความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ


ส่งเสริมให้ลูกมีความรับผิดชอบ
ในปัจจุบันคุณพ่อคุณแม่ จำนวนมากไม่ค่อยเปิดโอกาสให้ลูกเรียนรู้ที่จะรับผิดชอบสิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง เช่น
ถ้าคุณครูมอบหมายงานให้ลูกทำเป็นการบ้าน คุณพ่อคุณแม่ยุคใหม่มักจะขอร้องให้คุณครูช่วยบอกคุณพ่อ หรือ
คุณแม่เป็นรายบุคคลอีกครั้งหนึ่ง หรือเขียนเป็นจดหมายบอกคุณแม่เป็นการส่วนตัว โดยอ้างเหตุผลว่า
ลูกไม่ค่อยรับผิดชอบ ไม่ยอมจดสิ่งที่คุณครูสั่ง หรือไม่ยอมบอก ทำให้ไม่ได้ทำงานที่ได้รับมอบหมาย
อันที่จริงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรใช้โอกาสดังกล่าวในการฝึกความรับผิดชอบของลูก
ถ้าลูกลืม หรือไม่ทำสิ่งที่ได้รับมอบหมาย ลูกจะได้เรียนรู้บทเรียนด้วยตนเอง
และครั้งต่อไปลูกจะได้เรียนรู้วิธีการจัดการกับปัญหา ว่าควรทำอย่างไร เป็นต้น




ฝึกให้ลูกได้ช่วยงานบ้าน หรืองานในกิจวัตรประจำวันบ้าง
เช่น ถูบ้าน ล้างจาน รดน้ำต้นไม้ทั้งนี้เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสทำสิ่งต่างๆ เพื่อผู้อื่นบ้าง ฝึกการลงมือปฏิบัติจริง
เรียนรู้ที่จะช่วยตนเอง และได้บทเรียนจากการทำงาน รวมตลอดถึงเปิดโอกาสให้ลูกได้อยู่กับตนเอง
ทั้งนี้เพื่อเรียนรู้ และชื่นชมความงามของธรรมชาติรอบตัว


ส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของลูก
โดยเปิดโอกาส ให้ลูกได้ซักถาม หรือแสดงความคิดเห็น
ขณะเดียวกัน ก็อาจชี้ชวนให้ลูกสังเกตความเปลี่ยนของสิ่งต่างๆ รอบตัว

หลักการต่างๆ ข้างต้นเป็นเพียงแนวทางที่นำไปสู่การพัฒน าการคิดของลูก อย่างไรก็ตาม หัวใจที่สำคัญที่สุด คือ
สัมพันธภาพที่อบอุ่นในครอบครัวเพราะจะช่วยให้เด็กอยู่ในสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข



Create Date : 21 มีนาคม 2552
Last Update : 21 มีนาคม 2552 9:58:36 น. 1 comments
Counter : 1266 Pageviews.

 
ชวนไปเที่ยว
เติมพลังชีวิต
ห้องใหม่....
ห้องโน้ตอุดม


โดย: พลังชีวิต วันที่: 23 มีนาคม 2552 เวลา:22:22:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.