Group Blog
 
<<
มกราคม 2553
 
19 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
ออกกำลังกายสมอง เพิ่มความฉลาดให้ลูก



ยุคนี้ เชื่อว่าคุณแม่ทุกท่านคงต้องรู้จัก ‘น้องเดียว’ หนูน้อยคนเก่งแห่งเกมทศกัณฑ์เด็ก
และก็คงอยากให้ลูกมีความจำเป็นเลิศได้อย่างน้องเค้า ซึ่งความเฉลียวฉลาดของน้องเดียว
แต่คุณแม่รู้ไหมคะ นอกจากการฝึกฝน หมั่นอ่านและค้นหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติม
การออกกำลังกายให้กับสมองก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง
เพราะความจำของเด็กมีหลักการทำงานอยู่บนพื้นฐานหลัก 3 ประการง่ายๆ ดังนี้

★1. การเชื่อมโยง
การเชื่อมโยงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ลูกน้อยใช้ปะติดปะต่อ ใช้ในการสื่อสารระหว่างตัวเขา
ความจำ ประสบการณ์ที่ได้รับ กับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ที่มีความแตกต่างกันอย่างมากมาย
เช่น เชื่อมโยงลูกบอลกับของเล่น รอยยิ้มเชื่อมโยงกับความสุข
ยิ่งลูกมีการเชื่อมโยงมากขึ้น เขาก็จะจดจำสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้นค่ะ

★2. ความโดดเด่น
สมองของลูกจะสามารถจดจำสิ่งที่โดดเด่น ไม่เหมือนใครได้ง่าย อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเป็นครั้งแรก
เช่น การได้ขึ้นเครื่องบินครั้งแรก หรือโดนสุนัขกัดเป็นครั้งแรก จะทำให้เด็กจดจำได้แม่นกว่า
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ที่เจอเหตุการณ์เช่นเดิมซ้ำ รวมไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด เช่น ครั้งล่าสุดที่ได้เจอคุณปู่คุณย่า

★3. การทำซ้ำและทบทวน
ประสบการณ์ที่ได้พบบ่อยๆ ซ้ำๆ จะช่วยให้เหตุการณ์นั้น ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำระยะยาว
(Long Term Memory) ซึ่งจะทำให้จำได้ตลอดชีวิต
ตัวอย่างเช่น การเรียนรู้ภาษาของเด็กๆ การท่องศัพท์ การอ่านหนังสือ ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ เป็นสิบๆ ครั้ง


วิธีฝึกความจำ

1. กระตุ้นการรับรู้ของลูกทุกๆ ด้าน เพื่อให้ลูกได้เก็บเกี่ยวข้อมูลข่าวสารรอบๆ ตัว
เป็นการสร้าง ‘ตะขอเกี่ยวความจำ’ สำหรับลูก เช่น กลิ่นบางกลิ่น สัมผัสจากพ่อแม่ เป็นต้น

2. ให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ได้มากที่สุด
การมีประสบการณ์ครั้งแรกเกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง จะทำให้ลูกมีความจำเพิ่มขึ้น

3.สร้างประสบการณ์ในครั้งต่อมาในทางบวก เช่น
การจากลาอย่างอบอุ่น จะทำให้ลูกไม่กลัวการจากลา และเชื่อมโยงกับการพบกันใหม่ด้วยความรู้สึกดีด้วย

4. ฝึกลูกใช้ความจำบ่อยๆ เหมือนเป็นงานอดิเรก และนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียน ที่โรงเรียน
เช่น เล่นเกมคำศัพท์ เกมจับคู่ เป็นต้น

5. พยายามทบทวนความจำของลูกเป็นประจำ
เช่น ให้ลูกเล่าว่าวันนี้ตอนไปโรงเรียนทำอะไรมาบ้าง โดยผลักกันเล่าเหตุการณ์เด่นๆ หรือน่าตื่นเต้นประจำวันนั้น

6. ทบทวนความจำของลูกอย่างสม่ำเสมอ ตามพื้นฐานของการทำซ้ำและทบทวน
ถ้าจะได้ได้ผลอย่างดีเยี่ยม ต้องทำอย่างน้อย 5 ครั้ง


ความจำระยะสั้น (Short-Term Memory, STM)
ความจำระยะสั้น หมาย ถึง ข้อมูลจำนวนไม่มากที่เราเก็บไว้ในลักษณะเตรียมพร้อมที่จะใช้งาน ในช่วงเวลาสั้นๆ
หรือจะกล่าวได้ว่า เป็นการจำสั้นๆ ที่เราสามารถใช้ครอบคลุมถึงข้อมูลทั้งหมด ที่เรานึกถึงได้ในระดับจิตสำนึก

ความจำระยะยาว (Long-Term Memory, LTM)
ความจำระยะยาว หมาย ถึง การที่ข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกบันทึกไว้ได้นาน
บางครั้งอาจถูกบันทึกไว้ในสมองตลอดชีวิต
เป็นการเปลี่ยนแปลงมาจากความจำระยะสั้น ที่มีการเชื่อมโยงกับประสบการณ์ การทำซ้ำๆ
โดยการทำงานอย่างสมดุลของสมอง 2 ซีก เช่น การว่ายน้ำ การขับรถ เป็นต้น


ข้อมูลจาก แม่และเด็ก
ที่มา : //women.sanook.com
ภาพจาก : //www.filmpublic.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 19 มกราคม 2553
Last Update : 19 มกราคม 2553 20:54:27 น. 1 comments
Counter : 1069 Pageviews.

 
มีข้อมูลดีๆ อีกแล้ว ขอบคุณนะค่ะ


โดย: tanoy~ตะนอย วันที่: 20 มกราคม 2553 เวลา:0:02:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.