Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
8 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
6 อันดับ สุดกังวลของแม่ลูกอ่อน

แม่และเด็ก

แม่ลูกอ่อนที่ต้องกลับไปทำงาน ย่อมมีความกังวลในการเลี้ยงลูกสารพัด ดวงใจพ่อแม่จึงได้ทำโพลล์สำรวจ
หัวข้อ “เมื่อแม่ต้องจากลูกเพื่อไปทำงาน” ผ่านทาง //www.raklukefamilygroup.com
มีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นทั้งสิ้น 483 คน สรุปอันดับความกังวล จัดลำดับจากมากไปหาน้อยดังต่อไปนี้
แถมท้ายด้วยเคล็ดลับช่วยคุณแม่จัดสรรเวลาทำงาน และเลี้ยงลูกให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่ะ



1. ทำอย่างไรให้ลูกได้กินนมแม่ 32.56%

นมมีสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูกมากที่สุด
คุณแม่ส่วนใหญ่ จึงอยากจะให้ลูกได้มีโอกาสกินนมให้นานที่สุดจริงไหมคะ

ปัจจุบันมีอุปกรณ์ปั๊มน้ำนมทั้งชนิดแบบมือและแบบแบตเตอรี่
ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่ที่ต้องไปทำงาน สามารถปั๊มนมเก็บไว้ให้ลูกดื่มที่บ้านได้
โดยอาจบรรจุใส่ขวดนมหรือถุงเก็บน้ำนมแล้วแช่ตู้เย็นไว้
เมื่อลูกหิวนมพี่เลี้ยงสามารถนำนมแม่ไปอุ่นแล้วป้อนแทนได้

● แม่ควรปั๊มน้ำนมใส่ในขวดหรือถุงเก็บไว้ในตอนเช้าก่อนไปทำงาน
ในปริมาณมากกว่าลูกดื่มเล็กน้อย เหลือดีกว่าขาดจริงไหมคะ

● สามารถเก็บนมแม่ไว้ในช่องแข็งได้

● การอุ่นนมที่ถูกต้องนั้น
คุณแม่ควรนำน้ำนมที่บรรจุอยู่ในขวดหรือถุง ลงไปแช่ลงในภาชนะที่ใส่น้ำร้อนจนกระทั่งนมอุ่น
อย่าลืมทดสอบอุณหภูมิด้วยการหยดน้ำนมลงบนผิวของแม่ ก่อนที่จะนำไปป้อนให้ลูกด้วยค่ะ




2. 19.65% พี่เลี้ยง จะเสี่ยงไหมหนอ

บางครอบครัวพบว่าการหาพี่เลี้ยงให้ลูกเป็นสิ่งยากเย็นแสนเข็น
เพราะพี่เลี้ยงนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติเลี้ยงเด็กได้ดีแล้ว
ยังต้องคำนึงว่าพี่เลี้ยงที่มาอยู่ด้วยควรเข้ากับสมาชิกคนอื่นๆ ของครอบครัวได้
ดังนั้น จึงมีครอบครัวไม่น้อยเปลี่ยนพี่เลี้ยงไปหลายคน กว่าจะได้คนที่ลงตัวถูกใจ


พี่เลี้ยงแบบนี้...ไม่เสี่ยงแน่ๆ

● ควรหาพี่เลี้ยงจากบริษัทที่เชื่อถือได้ หากเป็นคนรู้จักก็จะยิ่งดี
แต่ถ้าเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบเข้าเมืองมาทำงานก็ควรหลีกไปไกลๆ

● พี่เลี้ยงควรมีความรู้เรื่องการเลี้ยงเด็กเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ควรมีนิสัยเข้ากับคนในครอบครัวได้ เพราะเขาต้องอยู่ร่วมกับทุกคนในบ้าน

● คุณแม่ต้องแจ้งให้พี่เลี้ยงทราบตารางเวลากิน เวลาเข้านอน การซักผ้าอ้อม ล้างขวดนมประจำวันของลูก

● จดเบอร์โทรศัพท์ที่ทำงานของคุณแม่ คุณพ่อ และเบอร์ฉุกเฉิน เช่น คุณหมอประจำตัว โรงพยาบาลที่อยู่ใกล้
และเพื่อนบ้านที่พอจะช่วยเหลือกันได้ ให้พี่เลี้ยงหรือญาติที่ดูแลลูก

● แจ้งให้ทราบถึงยาประจำตัวและอาหารที่ลูกแพ้




3. พฤติกรรมของลูก... ถ้าให้คนอื่นเลี้ยง 12.92%

เป็นความวิตกกังวลเรื่องแรกที่แม่ทำงานกังวลมากที่สุด
การที่จะให้ญาติผู้ใหญ่หรือพี่เลี้ยงมาดูแล ก็อาจเกิดกังวลว่าปู่ย่าตายายอาจจะเลี้ยงหลานตามใจมากเกินไป
จนอาจทำให้ลูกกลายเป็นเด็กก้าวร้าวหรือเอาแต่ใจเกินไป


หนทางคลี่คลาย

● ทำความเข้าใจกับญาติผู้ใหญ่ ตลอดจนพี่เลี้ยงถึงแนวทางการเลี้ยงลูกของคุณ
และอย่าคิดว่าการเลี้ยงดูของปู่ย่าตายายเป็นเรื่องโบราณเสมอไป เพราะบางเรื่องได้ผลดีจึงใช้สืบต่อกันมานาน

● คุณแม่เป็นต้นแบบในการเลี้ยงลูก
ถ้าไม่อยากให้ย่ายายตามใจลูกเกินไป คุณแม่ก็ต้องแสดงให้เห็นว่าจะเลี้ยงลูกแบบไม่ตามใจ
โดยเป็นตัวอย่างให้คนอื่นๆ เห็น

● ให้เวลากับลูกคุ้นเคยกับผู้ดูแลคนใหม่ก่อนแม่ต้องกลับไปทำงานจริง
เริ่มต้นวันละ 15-20 นาทีก่อน แล้วค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ




4. เวลา ความสัมพันธ์ของแม่กับลูก 9.63%

คุณแม่หลายคนสาละวนวุ่นอยู่กับงานกลับมาบ้านอีกทีลูกก็หลับไปแล้ว
ทำให้ไม่มีเวลาเล่นป้อนข้าวหรือพาลูกเข้านอนด้วยเลย
ถ้าเป็นแบบนี้แล้วไม่ดีแน่ คุณแม่ควรจะจัดแบ่งเวลางานกับเวลาสำหรับลูกให้เหมาะสมกว่านี้


จัดสมดุลอย่างไรให้ลงตัว

* งานไหนต้องอยู่ดึกก็อาจแบ่งให้เพื่อนคนอื่นช่วยทำบ้างก็ได้ โดยอาจตกลงกันว่าจะช่วยทำงานอื่นตอบแทนให้

● แก้อาการคิดถึงลูกด้วยการโทรศัพท์ไปคุยกับเขาทุกวัน
ส่วนลูกจะรู้เรื่องหรือไม่ แค่ได้ยินเสียงที่คุ้นเคย เชื่อว่าความสัมพันธ์แม่-ลูกก็จะกระชับแน่นไม่ขาดหายแน่นอนค่ะ

● สรรหาอุปกรณ์ไฮเทคมาช่วยให้คล่องตัวบ้างก็ดี
เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ติดต่องานที่บ้าน โทรศัพท์มือถือที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ฯลฯ

● แต่ถ้าพยายามเท่าไรก็ยังยุ่งเหยิง ไหนจะดิวลูกค้าหรือถึงเวลาให้นมลูกแล้ว
คุณแม่ลองตั้งสติ ทำใจเย็นๆ แล้วก็ค่อยๆ ลิสต์รายการทีละอย่างว่ามีอะไรต้องทำก่อนทำหลัง
จากนั้นจึงจัดสรรให้ลงตัว




5. กลัวได้อาหารไม่ครบ 5 หมู่ 18.30%

ลูกน้อยต้องการอาหารเสริมตั้งแต่อายุ 4 เดือน เพื่อประหยัดเวลาและพลังงาน
คุณแม่สามารถเตรียมอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการให้ครบถ้วนไว้ สำหรับลูกในวันว่าง-วันหยุดสุดสัปดาห์
เช่น ต้มน้ำซุปหรือบดอาหารครั้งหนึ่ง ก็ทำในปริมาณมากพอสำหรับลูกกินไปตลอดสัปดาห์
จากนั้นก็ถนอมอาหารง่ายๆ โดยการนำไปแช่ช่องแข็งแล้วนำมาอุ่นให้ลูกกินวันละ 1-2 ก้อน
ซึ่งเป็นปริมาณเพียงพอสำหรับลูกวัยอุแว้

● อาหารที่สามารถนำไปบดและแช่แข็งได้ มีผัก ผลไม้ เต้าหู้ ชีส ไข่ พาสต้า ฯลฯ
และอย่าลืมเขียนชื่อเมนูและวันเวลาที่ทำไว้ด้วย

● การละลายอาหารแช่แข็งไม่ควรวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องเฉยๆ เพราะอาหารจะปนเปื้อนแบคทีเรียได้
ควรใช้ไมโครเวฟหรือการอุ่นในหม้อด้วยไฟอ่อนๆ หรือใส่ตู้เย็นชั้นล่างทิ้งข้ามคืนให้ค่อยๆ ละลายดีกว่า




6. กลัวพัฒนาการจะช้า 6.94%

แม้จะมาเป็นอันดับสุดท้ายของความกังวล แต่คุณแม่ก็อย่าชะล่าใจไปนะคะ
เพราะความที่คุณแม่ไม่มีเวลาเลี้ยงลูกเต็มร้อย คุณแม่ส่วนหนึ่งจึงรู้สึกกังวลใจว่าลูกจะมีพัฒนาการในด้านต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การพูด หรือการเรียนรู้ไม่เท่าเทียมกับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกเต็มเวลา
ซึ่งกรณีนี้นับเป็นเรื่องที่คุณแม่ working mom ต้องอย่าลืมที่จะใส่ใจ
โดยต้องหมั่นตรวจเช็กพัฒนาการของลูกเป็นประจำ
และให้ความรู้แก่คนที่เลี้ยงด้วยว่า หากพบว่ามีพัฒนาการใดผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้ทราบทันที



ข้อมูลจาก นิตยสารดวงใจพ่อแม่ ปีที่ 9 ฉบับที่ 105 กรกฎาคม 2547
ที่มา : //www.elib-online.com
ภาพจาก : //www.istockphoto.com


สารบัญแม่และเด็ก




Create Date : 08 พฤษภาคม 2553
Last Update : 12 พฤษภาคม 2553 22:44:46 น. 0 comments
Counter : 903 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.