Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 
16 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
อารมณ์แม่ สัมพันธ์กับลูกในท้อง



ในระหว่างที่คุณแม่ตั้งท้อง เป็นช่วงที่สภาพร่างกายของคุณแม่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย
ไม่เฉพาะรูปร่างเท่านั้น แต่เซลล์ในร่างกาย การสร้างฮอร์โมนสารเคมีต่างๆ ในร่างกายก็เปลี่ยนแปลงไป
และด้วยสภาพแวดล้อม ฮอร์โมน รวมถึงสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
อาจทําให้คุณแม่หลายท่านอารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล หรือมีความเครียดเกิดขึ้น


อารมณ์แม่มีผลต่อลูกในท้องอย่างไร?
ในปัจจุบันแม้ว่าความเข้าใจและข้อพิสูจน์เกี่ยวกับภาวะความเครียด และอารมณ์ของแม่ท้อง
ที่ส่งผลต่อทารกในท้องจะเริ่มมีมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าอารมณ์ของแม่ในระหว่างตั้งท้องนั้น
มีผลต่อพฤติกรรมของลูกเมื่อคลอดออกมาแล้วโดยตรงจริงหรือไม่
แต่เมื่อคุณแม่อารมณ์แปรปรวน มีความเครียด หงุดหงิด หรือโมโห
ย่อมทําให้ร่างกายของคุณแม่อยู่ในภาวะไม่สบายตัวและไม่สบายใจ
ซึ่งเป็นสาเหตุให้ฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนไป
และทารกในท้องก็ได้รับผลจากการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนนี้เช่นกันค่ะ

ความสัมพันธ์ทางอารมณ์ของแม่ท้องต่อทารกในท้องนั้น
ในระหว่างที่ตั้งท้องถ้าคุณแม่ที่มีความสุข ก็มักจะได้ทารกที่อารมณ์ดี เลี้ยงง่าย ร่าเริง แจ่มใส
ทั้งนี้เนื่องจากฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (endorphine) จะหลั่งออกมา
ทําให้คุณแม่มีหน้าตาที่สดใส อวัยวะต่างๆ ทํางานได้ดี
สารอาหารและฮอร์โมน ถูกลําเลียงผ่านรกถ่ายทอดไปสู่ทารกได้อย่างสม่ำเสมอและราบรื่น

ถ้าในภาวะที่ร่างกายของแม่ท้องมีความเครียด ความกดดันทั้งทางกายและจิตใจ เช่น มีบาดแผล ได้รับการผ่าตัด
ออกกําลังกาย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นไข้ วิตกกังวล หรือซึมเศร้านั้น
ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลินออกมาเพิ่มขึ้น ส่งผลทําให้หัวใจสูบฉีดเลือดแรงขึ้น ระดับความดันโลหิตสูงขึ้น
กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดการเกร็งตัวของมดลูกถี่กว่าปกติ เครียด รูม่านตาขยาย
สารเคมีและฮอร์โมนถูกหลั่งออกมาเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติ ซึ่งจะทําให้ตัวคุณแม่เองก็จะเปลี่ยนแปลงไป
มีอาการนอนหลับยาก ตื่นบ่อย กินไม่ลง ไม่สบายกายและใจ
เป็นผลให้สารอาหารต่างๆ ลําเลียงผ่านรกไปยังทารกได้ไม่ราบรื่น และหากอยู่ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้นานๆ แล้ว
อาจส่งผลให้ต้องคลอดก่อนกําหนด ทารกที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักตัวน้อย ไม่แข็งแรง
และเด็กบางคนโตขึ้นมาแล้วอาจมีอาการของโรคไฮเปอร์แอคทีฟ (Hyperactive) อยู่ไม่นิ่ง เคลื่อนไหวตลอดเวลา
สมาธิสั้น อารมณ์แปรปรวน และมีความสามารถในการควบคุมตัวเองต่ำ
และเด็กจํานวนไม่น้อยที่ต้องรับการรักษาด้วยยาแก้โรคซึมเศร้า หรือยาระงับประสาทเพื่อเด็กโรคสมาธิสั้น

นอกจากนี้ ภาวะความเครียดในระหว่างตั้งท้องยังเป็นสาเหตุให้พัฒนาการต่างๆ ของทารกในท้องด้อยลงไป
ทั้งยังเกี่ยวเนื่องถึงการพัฒนาที่ไม่สมบูรณ์ของระบบประสาท ที่จะทําให้เกิดปัญหาต่อการรับรู้ ความคิด ความจํา
รวมถึงไอคิวของเด็กบางคนยังต่ำด้วย


ดูแลสุขภาพใจและกายตั้งแต่เริ่มตั้งท้อง
ถึงแม้อารมณ์ของแม่ท้องมีความสําคัญ และมีอิทธิพลต่อการสร้างพื้นฐานทางอารมณ์ของทารก
แต่นอกจากอารมณ์และสุขภาพที่แข็งแรงของแม่ท้อง จะมีผลต่อพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกเมื่อออกมาแล้ว
การอบรมเลี้ยงดู การให้ความรัก ความอบอุ่น และสภาพแวดล้อมหลังจากที่คลอดแล้ว
ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสําคัญที่จะทําให้ทารกมีร่างกายที่แข็งแรง อารมณ์ดี และเลี้ยงง่ายค่ะ


จากหนังสือ Mother&Care Vol.4 No.44 August 2008
ที่มา : //www.motherandcare.in.th


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 16 มิถุนายน 2553
Last Update : 16 มิถุนายน 2553 20:40:04 น. 0 comments
Counter : 1060 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.