Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 
21 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
สอนลูกให้แบ่งปันตั้งแต่วัยเตาะแตะ



เรื่องเล่าน่าเอ็นดูจากครอบครัว ด.ช.ทะเล
“ทะเล ครับ แบ่งวิตามินซีให้แม่เม็ดหนึ่งได้ไหมครับ”
“ได้คับ” (ขณะนั้นในมือพีพี มีวิตามินซีอยู่ 4 เม็ด พอพูดจบก็หยิบเข้าปากตัวเอง 1 เม็ด)

“คุณแม่รออยู่นะครับ คุณแม่อยากกินวิตามินซีแบบทะเลบ้าง”
(ทำท่าจะยื่นให้ แต่ก็บังเอิญมือลูกหยิบเข้าปากแบบหยุดไม่ได้)

“คับ” (ว่าแล้วก็หยิบเข้าปากตัวเองอีก 1 เม็ด เท่ากับว่าตอนนี้ในมือทะเลมีวิตามินอยู่ 2 เม็ด)

“ทะเล คุณแม่ยังไม่ได้วิตามินซีเลย ไหนทะเลบอกว่าจะให้แม่ไงครับ”
ทะเลมองวิตามินซีในมือตัวเอง แล้วไม่พูดว่าอะไร
เดินเข้ามาใกล้แม่อีกนิดอย่างลังเล แล้วก็หยิบ 1 เม็ดเข้าปากตัวเอง

“อ้าว ทะเลยังแม่ยังไม่ได้กินเลย เม็ดนั้นคุณแม่ขอได้ไหมครับ”
ทะเล เงยหน้าขึ้นมองคุณแม่ จากนั้นก็รีบเคี้ยวและกลืนวิตามินซีที่อยู่ในปาก
และหย่อนเม็ดสุดท้ายเข้าปากทันที...... “มินชี หมดแล้วคับ”

จากเรื่องเล่าด้านบน ฟังแล้วอาจจะขำๆ กับความน่ารักของเด็กวัยนี้
แต่คุณแม่ของน้องทะเลกลับรู้สึกว่า น้องทะเลน่าจะแบ่งวิตามินซีให้แม่สัก 1 เม็ด
เพราะตัวแม่ก็พูดกับลูกบ่อยๆ ว่า มีอะไรก็ต้องรู้จักแบ่ง แต่แม่ก็ไม่เคยทดสอบลูกอย่างจริงๆ จังๆ
ทะเลเป็นลูกชาย หลานชายคนเดียวของบ้าน ดังนั้นไม่มีผู้ใหญ่คนไหนถือเป็นเรื่องจริงจังอยู่แล้ว
อะไรๆ ทะเลก็กินได้โดยไม่ต้องแบ่ง แล้วแบบนี้ต่อไปด.ช.ทะเล จะเป็นเด็กงกหรือเปล่า??
แม่ของทะเลยังสงสัย....


การเลี้ยงลูกย่อมมีความคาดหวังเสมอ
ในเบื้องต้นเชื่อว่า คุณแม่คงอยากให้ลูกเป็นเด็กดีของครอบครัว และเป็นคนดีของสังคมในอนาคตข้างหน้า
ดังนั้นนิสัยใดที่เป็นพื้นฐานที่ดี พ่อแม่ย่อมอยากปลูกฝังลูกตั้งแต่เล็กๆ อย่างเรื่องการแบ่งปันก็เช่นกัน
เรามักบอกลูกว่า “มีอะไรก็แบ่งกัน” เวลาพูด ลูกก็พยักหน้า (เหมือนจะ) เข้าใจ
แต่พอถึงเวลาจะให้แบ่งจริง ก็กลายเป็น ด.ช.ทะเลไปซะแล้ว...ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีเทคนิค....


รู้จัก รู้ใจ เจ้าหนูวัยเตาะแตะ
ธรรมชาติของเจ้าหนูวัยเตาะแตะ จะมีพัฒนาการ...
- เด็กยังมีความต้องการที่จะให้ได้อะไรอย่างใจทันที
- รู้จักแยกตัวเองจากสิ่งแวดล้อม และจากผู้เลี้ยงดู
- มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น
- ทักษะทางภาษาดีขึ้นมาก สามารถใช้คำพูดบอกแทนการกระทำให้พ่อแม่เข้าใจได้
ดังนั้นเด็กจึงบอกความต้องการของตัวเอง ที่แสดงออกถึงความเป็นเจ้าของ
และการเป็นตัวของตัวเองให้ผู้ใหญ่ได้รับรู้และเข้าใจมากยิ่งขึ้น


เจ้าหนูวัยเตาะแตะ งกจริงหรือ
ข้อสงสัย : คงมีพ่อแม่หลายท่านที่คิดว่า ตัวเองคอยสอน คอยบอกให้ลูกแบ่งปันสิ่งของกับผู้อื่นเสมอ
แต่พอถึงเวลาจริงๆ ลูกกลับไม่ยอมให้
จึงสงสัยว่า เป็นเพราะตัวพ่อแม่สอนผิดวิธีหรือเปล่า หรือว่าลูกเรามีนิสัยแบบนี้
เฉลย :
เด็กวัยนี้เป็นแบบนี้ทุกคนค่ะ เนื่องจากเป็นการพัฒนาการทางอารมณ์ จิตใจ ความรู้สึก และความต้องการของเด็ก
ซึ่งจะพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาการการเคลื่อนไหวและภาษา เรียกว่าเป็นพัฒนาการปกติในเด็กวัยนี้ทุกคน


เจ้าหนูวัยเตาะแตะ สอนอย่างไรให้แบ่งเป็น
ข้อสงสัย : จะเริ่มสอนลูกได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ และใช้วิธีไหนในการสอนลูกวัยนี้
เฉลย : การสอนเรื่องการแบ่งปัน ควรเริ่มอย่างจริงจังเมื่อลูกอายุประมาณ 4 ขวบ
วิธีที่ดีที่สุดของการสอนคือ พ่อแม่ทำเป็นแบบอย่างให้ลูกเห็นตั้งแต่เล็ก จนเป็นเรื่องที่คุ้นตาและเคยชินของเด็ก
และขณะเดียวกันก็ให้ลูกได้มีโอกาสแบ่งปัน


ตัวอย่างง่ายๆ สอนลูกแบ่งปัน
- เวลาคุณแม่จะเอาของไปฝากเพื่อนบ้าน ให้ชวนลูกไปด้วย ให้ลูกช่วยถือของ ส่งของฝากให้พร้อมกับคุณแม่
- เวลาซื้อขนมหรือของมาให้ลูก ก็หยิบให้ลูกชิ้นหนึ่ง
แล้วก็บอกลูกให้หยิบของหรือขนมอีกชิ้นไปให้พี่ น้อง หรือเพื่อนๆ ด้วย

เมื่อลูกแบ่งปันของให้คนอื่น คุณแม่ก็ต้องรู้จักแสดงความชื่นชมด้วยคำพูด และสีหน้า
เช่น “หนูเป็นเด็กมีน้ำใจ แม่ภูมิใจในตัวหนูมากเลย” แล้วในที่สุดลูกก็จะรู้จักแบ่งปัน
โดยการเลียนแบบและการส่งเสริมพฤติกรรมด้วยคำชมของคุณแม่ เหมือนตัวอย่างที่ยกขึ้นมาข้างต้น
สิ่งที่สำคัญคือ ถ้าลูกยังไม่ยอมแบ่ง (คุณแม่อาจจะรู้สึกขัดเคืองเป็นอย่างมาก) ก็ไม่ควรว่ากล่าว
เพราะลูกอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ทำไมต้องให้ในสิ่งที่ตัวเองยังต้องการอยู่ ในเมื่อของชิ้นนั้นเป็นของเขา
เมื่อลูกโดนว่าจะยิ่งเพิ่มความรู้สึกที่ไม่ดีเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นควรรอให้ลูกค่อยๆ เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
อาศัยความใจเย็น และค่อยๆ ให้ลูกได้เห็น ได้มีประสบการณ์เพิ่มขึ้นจะดีกว่าค่ะ


ข้อสงสัย : เลี้ยงลูกตามสบาย ปล่อยไปตามธรรมชาติ โตขึ้นรู้ความเอง ได้หรือไม่
เฉลย : ถึงแม้ว่าอาการหวงของจะเป็นธรรมชาติของเด็กวัยนี้
แต่การปล่อยไปโดยไม่ฝึกหรือปลูกฝังในเรื่องการแบ่งปัน เพราะคิดว่าโตขึ้นก็จะหายไปเองได้นั้น ไม่ถูกต้องค่ะ
เพราะการแบ่งปันไม่ได้เป็นธรรมชาติของคน การแบ่งปันเป็นสิ่งที่เกิดจากการเลี้ยงดู
ดังนั้นพ่อแม่จึงจำเป็น ที่จะต้องฝึกอบรมให้ลูกรู้จักแบ่งปันด้วยตนเอง
ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นในการดำเนินชีวิตของลูกต่อไป
จะทำให้ลูกเป็นที่ยอมรับ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข


ข้อสงสัย : ปลูกฝังเรื่องการแบ่งปันของให้ผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าลูกเป็นเด็กใจอ่อน จนกลายเป็นแบ่งมากเกินไป
หรือกลายเป็นเด็กไม่กล้า พ่อแม่ควรมีวิธีการวางพื้นฐานให้ลูกแบ่งปันแบบถูกวิธีได้อย่างไร
เฉลย : ถ้าลูกรู้จักที่จะแบ่งปันด้วยตัวของลูกเอง โดยไม่ถูกบังคับจากคนอื่น
ลูกจะพัฒนาเป็นคนที่มีน้ำใจ เป็นที่รักของคนที่ได้รู้จัก ไม่กลายเป็นคนยอมคนอื่น หรือไม่กล้า
เพราะสิ่งเหล่านี้เกิดจากความคิดการตัดสินใจจากลูกเองว่า จะแบ่งปันหรือไม่
และเมื่อโตขึ้นวุฒิภาวะการตัดสินใจย่อมมีมากขึ้น ถ้าลูกได้รับการอบรมได้เห็นตัวอย่างที่ดี
ลูกจะมีความคิดเป็นของตัวเองในวิถีทางที่ถูกต้อง
สำหรับวิธีการวางพื้นฐานให้ลูกรู้จักการแบ่งปันนั้นสามารถทำได้นั้น ก็อย่างที่อธิบายไปแล้วข้างต้นนั่นเองค่ะ


ข้อสงสัย : อาการหวงของในเด็กบางคน บางครั้งจบด้วยการทำร้ายคนอื่นโดยไม่ตั้งใจ
เช่น ผลัก แบบนี้เป็นพฤติกรรมปกติหรือไม่และควรแก้ไขอย่างไร
เฉลย : อย่างที่บอกไปแล้วว่าการหวงของเป็นเรื่องปกติของเด็กวัย 2-6 ปี
แต่เด็กก็จำเป็นต้องเรียนรู้ ที่จะควบคุมตัวเองที่จะไม่ทำร้ายผู้อื่น
โดยสอนให้ลูกสามารถพูดบอกกับเพื่อน เช่น “อันนี้เป็นของทะเล น้องปัน เอาไปไม่ได้นะ”
ถ้าเพื่อนยังเอาไปอีก ก็ต้องให้ลูกไปบอกผู้ใหญ่ให้มาจัดการให้ ไม่ใช่การใช้กำลังทันที
แต่เรื่องแบบนี้ บางครั้งเด็กอาจมีพลั้งเผลอกันบ้าง
คราวนี้ก็เป็นหน้าของผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดที่จะค่อยๆ พูด ค่อยๆ บอก อธิบายให้เด็กเข้าใจ
เพราะวัยนี้ยังเป็นวัยที่ไม่เข้าใจในเรื่องซับซ้อนหรอกนะคะ


ขอบคุณสำหรับคำเฉลยดีๆ จาก พ.ญ.อมรรัตน์ ภัทรวรธรรม
จากหนังสือ : Mother&Care Vol.4 No.43 July 2008
ที่มา : //www.motherandcare.in.th


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 21 มิถุนายน 2553
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 20:52:51 น. 0 comments
Counter : 1068 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.