Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
7 กรกฏาคม 2553
 
All Blogs
 
ข้อควรระวังเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่



1. การเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี เพราะจำกัดการโต้ตอบกับเด็กไว้เพียงการอุ้มลูกมาดูดนมแม่เท่านั้น
คุณแม่มือใหม่หลายท่าน จะมีความรู้สึกเป็นห่วงกลัวลูกไม่อิ่ม
ดังนั้น เมื่อลูกตื่นหรือร้อง จะคอยเอาลูกมาอุ้มและให้กินนมแม่
โดยลืมปล่อยลูกวางไว้กับเบาะเพื่อให้ฝึกคืบหรือพลิกคว่ำพลิกหงาย
รวมถึงไม่ได้ฝึกให้ลูกคว้าของ จับของ หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว
ดังนั้น ความฉลาดที่ลูกได้มาจากพ่อแม่ และได้เสริมจากการกินนมแม่
เมื่อไม่ได้รับการฝึกฝน ก็จะไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามที่ควรจะเป็น
ทำให้ดูเหมือนเด็กกินนมแม่บางคนพัฒนาการช้ากว่าปกติ



2. หัวนมแตก ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะท่าอุ้มไม่ถูกวิธีขณะให้ลูกดูดนม
คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ แล้วพบว่า ต่อมาเกิดมีแผลที่หัวนม
ให้ระวังว่าจะเกิดจากการให้ลูกดูดนมโดยปากลูกงับไม่ถึงลานนม
ทำให้เกิดการเสียดสีของเหงือกลูก กับผิวหนังที่นมแม่ขณะที่ลูกดูดนมแม่

วิธีแก้ คือประคองคอลูก แล้วส่งศีรษะลูกมาให้ชิดกับหน้าอกแม่เพิ่มขึ้น เพื่อให้ปากลูกงับลานนม
จะช่วยลดโอกาสการมีแผลเพิ่มที่หัวนม

สำหรับผิวหนังแม่ที่เป็นแผลไปแล้วนั้น รักษาโดยเอาน้ำนมแม่มาป้ายที่แผล แล้วผึ่งให้แห้ง
ทำซ้ำได้เป็นระยะ จนกว่าแผลจะหาย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาทาหรือยากินแก้อักเสบ



ข้อควรรู้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1. การเติบโตของเด็กกินนมแม่ จะแตกต่างจากเด็กกินนมผสม
ทั้งนี้ เด็กที่ได้กินนมแม่อย่างเหมาะสม จะเติบโตเร็วในช่วงแรก โดยเฉลี่ยประมาณ 6 เดือน
จากนั้น การเติบโตของเด็กกินนมแม่หลายคนจะช้ากว่าเด็กที่กินนมผสม
อย่างไรก็ตาม ขณะที่กำลังเขียนข้อมูลนี้ กำลังอยู่ในระหว่างที่องค์การอนามัยโลก
และบุคลากรทางสาธารณสุขในประเทศไทยหลายท่าน กำลังดำเนินการรวบรวมข้อมูล
เพื่อนำมาทำแผนผังการเติบโตของเด็กกินนมแม่ (Growth Chart) ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน
(แผนผังการเติบโตของเด็กที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นแผนผังการเติบโตของเด็กที่กินนมผสม)


2. แม่ทุกคนมีปริมานน้ำนมมากพอที่จะเลี้ยงลูก
อย่ากังวลหากแม่บีบน้ำนมแม่ไม่ออกใน 2-3 วันแรกหลังคลอด เพราะในระยะนี้ น้ำนมแม่ยังมีปริมาณมากนัก
แต่จะมีมากพอสำหรับลูก ขอเพียงแค่คุณแม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เชื่อมั่นว่าตนเองต้องมีน้ำนมพอ
ทำตัวเองให้ผ่อนคลายไม่เครียด พยายามอดทนต่อความเหนื่อยที่ให้ลูกดูดนมทุก 2- 3 ชั่วโมง
อดทนต่ออาการเจ็บหรือเสียวมดลูกขณะลูกกำลังดูดนม
เพราะฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน ที่ช่วยเพิ่มสัญชาตญานความเป็นแม่ จะส่งผลทำให้มดลูกหดตัวเช่นกัน


3. เทคนิคสำคัญสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
คือให้ลูกดูดเร็ว โดยให้ลูกดูดทันทีในห้องคลอด ดูดบ่อยทุก 2-3 ชั่วโมง ดูดถูกวิธี คือปากลูกงับให้ถึงลานนม
สังเกตได้จากปากลูกจะบาน คางลูกแนบหน้าอกแม่ ดั้งจมูกชิด หรือเกือบชิดหน้าอกแม่


4. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนแรก ไม่ต้องกินน้ำหรืออาหารอื่น
เป็นข้อแนะนำของ องค์การอนามัยโลก ร่วมกับ องค์การยูนิเซฟ ซึ่งได้จากการรวบรวมผลวิจัยจากประเทศต่างๆ
และสรุปเป็นข้อแนะนำในคู่มือการให้อาหารทารก ( Global Strategy of Infant and Young Child Feeding )
เมื่อปี 2546 ว่า ทารกแรกเกิดทุกคนควรได้กินนมแม่อย่างเดียวไปจนอายุครบ 6 เดือน
แล้วจึงให้นมแม่ร่วมกับน้ำ และอาหารอื่นที่เหมาะสมตามวัย จนลูกอายุ 2 ปี หรือนานกว่านั้น
โดยอาหารเสริมที่จัดให้ลูกควรเป็นอาหารที่ผลิตเองในครัวเรือน
สำหรับการให้นมแม่โดยไม่ให้น้ำ ซึ่งขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติของแม่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้น
เหตุผลสำคัญที่ไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินน้ำ คือในนมแม่มีน้ำเป็นจำนวนมากพอที่เด็กต้องการ
และการให้เด็กกินน้ำหลังจากกินนมแม่ จะลดสารต้านการอักเสบที่มีในนมแม่
เพราะน้ำจะไปล้างสารต้านการอักเสบที่ลูกได้รับจากการกินนมแม่ ที่เคลือบในปากลูกหลังจากลูกกินนมแม่


5. ไม่จำเป็นต้องเช็ดถู ทำความสะอาดหัวนมก่อนให้ลูกดูดนมแม่
แต่ควรจะดูว่าหัวนมตนเองมีขนาดสั้น ยาว หรือใหญ่กว่าปกติ ขณะตั้งครรภ์
เพราะหัวนมที่สั้น ยาว หรือใหญ่กว่าปกติอาจทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ไม่ค่อยถนัด
ทั้งนี้หากแม่มีความยาวหัวนมสั้นกว่าปกติ สามารแก้ไขได้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายหลังคลอด
( ความยาวหัวนมปกติ คือ 0.5-1 เซนติเมตร)


6. แม่ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ควรให้ลูกกินนมแม่ เพื่อลดโอกาสการผ่านเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก


7. การใช้มือบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูก ดีกว่าใช้เครื่องปั๊มนม เพราะนอกจากจะสะดวกและประหยัดแล้ว
การบีบน้ำนมด้วยมือ จะทำให้ได้ปริมาณน้ำนมที่มากกว่าการใช้เครื่องปั๊ม


8. โดยทั่วไปแม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ จะมีรูปร่างและน้ำหนักกลับมาเป็นปกติเหมือนตอนก่อนท้อง
เมื่อลูกอายุประมาณ 6 เดือน ดังนั้น แม่ไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก
แต่หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่จะทำให้แม่อ้วนเท่านั้น


โดย : แพทย์หญิงสุวิมล ชีวมงคล กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก
ที่มา : //www.thaihealth.or.th
ภาพจาก : //www.newbiemommy.com


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 07 กรกฎาคม 2553
Last Update : 7 กรกฎาคม 2553 21:19:18 น. 1 comments
Counter : 1474 Pageviews.

 
ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ค่ะ


โดย: ไหมพรมสีสวย วันที่: 23 ตุลาคม 2553 เวลา:12:17:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.