Group Blog
 
<<
เมษายน 2553
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
4 เมษายน 2553
 
All Blogs
 
ฉลาดเลือกนมผงเพื่อลูกน้อย

เลือกนมผงเพื่อลูกน้อย

เชื่อว่าคุณแม่ทุก คนย่อมอยากให้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูก
ซึ่ง “น้ำนมแม่” ที่ พิเศษสุดสำหรับลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
เพราะน้ำนมแม่อุดมด้วยสารอาหาร ที่มีประโยชน์เปี่ยมด้วยภูมิคุ้มกันที่จำเป็น
และยังสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค่างๆ ในทารก ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีสิ่งใดสามารถาดแทนคุณของนมแม่ได้
แต่ด้วยข้อจำกัดของสภาพร่างกาย หรือสภาพสังคม วิถีชีวิตและค่านิยมที่เปลี่ยนไป
ทำให้มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยประสบปัญหาในการให้นมลูก

ดังนั้นคุณแม่หลายท่านจึงเลือกใช้ “นมผง” เพื่อให้ลูกน้อยยังคงได้รับสารอาหาร ที่พอจะใกล้เคียงกับนมแม่
ดิฉันจึงมีข้อแนะนำสำหรับการเลือกนมผงมาฝากบรรดาคุณแม่ค่ะ
ซึ่งหลักในการเลือกนมผงสำหรับเด็กที่สำคัญนอกเหนือจากคำแนะนำแพทย์ ได้แก่..

1. เลือกนมให้เหมาะสมกับวัย

สำหรับวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน :
ควรเลือกนมผงชนิดดัดแปลงสำหรับทารก (Infant formula) ในช่วงวัยที่ลูกมีพัฒนาการทางด้านสมอง
นมผงดัดแปลงสำหรับทารกที่คุณแม่เลือกใช้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
นมผงส่วนใหญ่ผ่านการคิดค้นสูตร เพื่อให้มีความสมบูรณ์และมีประโยชน์ใกล้เคียงกับคุณแม่มากที่สุด
ซึ่งสูตรนมผงที่เหมาะสมจะช่วยในการย่อยของทารก ทำให้เขาสามารถกำจัดส่วนเกินทั้งที่ไตได้ตามปกติ
ซึ่งสูตรนี้โดยทั่วไปจะประกอบด้วย

* ปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 1.5-1.8 กรัม ต่อนม 10 มล.
* คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่จะเป็นแลคโตส มีอัตราส่วนแคซีน : เวย์ ทั้งที่เป็น 40:60, 50-50 หรือ 80:20
* มีการปรับปริมาณแคลเซียม และฟอสฟอรัสให้ลดลง

* อาจมีการเติมกรดอะมิโนบางตัว เช่น เทารีน (Taurine) และธาตุเหล็ก

* อาจมีการเติม galactosyl lactose ลงไปในนมผสมบางสูตร เนื่องจากจะพบ galactosyl lactose มากในนมแม่
ซึ่งจะส่งเสริมการเติบโตของ Lactobacillus bifidus ทำให้อุจจาระเป็นกรดเพิ่มขึ้น และอ่อนนุ่มขึ้น

สำหรับทารก 6 เดือนขึ้นไปจนถึง 1 ปี :
นมสูตรต่อเนื่อง (Follow-up formula) ผลิตภัณฑ์นี้มักระบุว่าเป็นอาหารเสริมครบถ้วนสำหรับเด็ก
ซึ่งสูตรนี้โดยทั่วไปจะประกอบด้วย

* ปริมาณโปรตีนอยู่ระหว่าง 2.5-3.3 กรัม ต่อนม 100 มล.
(ตามมาตรฐาน Codex กำหนดไว้ 2.0-3.6 กรัม ต่อ 100 มล.)

* คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่เป็นน้ำตาลแลคโตส หรือพวกเด็กซตรินมาเสริม
สำหรับนมบางสูตรมีรสหวาน เนื่องจากมีการเติมน้ำตาลซูโครส (น้ำตาลทราย) กลูโคส ฟรุคโตส น้ำผึ้งลงไป

* ไขมันเป็นพวกน้ำมันพืช เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันมะพร้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน ฯลฯ

* อาจมีการเติมวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ ลงไปในสูตรนมด้วย


2. เลือกนมให้เหมาะสมเกี่ยวกับข้อจำกัดเกี่ยวกับสุขภาพ

นมสำหรับเด็กที่มีปัญหาของโรคต่างๆ โดยเฉพาะ เช่น เด็กที่มีอาการเจ็บป่วย คลอดก่อนกำหนด
น้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติหรือเด็กที่แพ้โปรตีนจากนมแม่ หรือนมวัว ฯลฯ
ซึ่งจะต้องใช้นมสูตรพิเศษ เช่น นมสำหรับทารกคลอดก่อนกำหนด นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว นมเนื้อไก่ นมแพะ
และนมถั่วเหลือง เป็นต้น
ซึ่งนมประเภทนี้คุณแม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ค่ะ


3. เลือกนมที่มีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย

ปัจจุบันมีนมผมดัดแปลงสำหรับทารกและอาหารเสริมสำหรับเด็กจำนวนมาก
ที่มีการเติมน้ำตาลหลากหลายชนิดเป็นส่วนผสม เพื่อทดแทนปริมาณน้ำตาลในนมวัวให้ใกล้เคียงกับนมแม่
ซึ่งปริมาณน้ำตาลดังกล่าวมีปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของทารก
และน้ำตาลเหล่านี้เองที่เป็นตัวการทำให้เด็กฟันผุ ติดรสหวาน และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนในอนาคต


4. เลือกนมผงกระป๋องเล็กๆ

คุณแม่ควรเลือกนมผงกระป๋องเล็กๆ ประมาณ 1 ปอนด์ เพราะจะได้หมดเร็วภายใน 3-4 วัน หรือไม่ควรเกิน 7 วัน
และเมื่อชงนมผงเสร็จแล้วก็ควรทิ้งกระป๋องทันที เพราะข้างกระป๋องอาจเริ่มมีเชื้อโรคและเชื้อราก่อต่อขึ้น
เมื่อลูกโตขึ้นจึงค่อยเปลี่ยนมาใช้กระป๋องนมผงที่ใหญ่ขึ้น
คุณแม่ไม่ควรถ่ายนมผงจากกระป๋องใหญ่มาใส่กระป๋องเล็ก เพราะนมที่เปิดไว้นานจะติดเชื้อโรคง่าย
โดยเฉพาะกระป๋องที่นมเปิดไว้นาน อาจมีเชื้อราและแบคทีเรียเกิดขึ้นได้


วิธีการเลือกนมผงจากการอ่านฉลาก
(อ่านฉลากตรงส่วนประกอบต่อสารละลาย 100 มิลลิลิตร มีขั้นตอนดังนี้)

1. ดูส่วนประกอบประเภทน้ำตาล
ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลฟลุคโตส คอร์นไซรัป น้ำผึ้ง ไม่แนะนำให้ใช้
เพราะน้ำนมวัวปกติจะมีน้ำตาลแลคโตสเป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป็นน้ำตาลธรรมชาติ

2. หากข้างกระป๋องระบุว่า “ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล (ซูโครส)” หรือ “ปราศจากน้ำตาลทราย”
ให้ตรวจดูว่า มีการเติมน้ำตาลอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ เช่น น้ำตาลกลูโคส น้ำตาลฟรุคโตส ฯลฯ หากมีไม่แนะนำให้ใช้

3. ดูปริมาณคาร์โบไฮเดรตรวม ในนมวัวปกติมีแลคโตสประมาณ 7-7.4 กรัมต่อ 100 มิลลิลิตร
แต่อาจมีการเติม เด็กซตริน หรือโอลิโกแซคคาไรด์ตัวอื่น เพื่อให้อุจจาระมีลักษณะคล้ายทารกที่กินนมแม่
ซึ่งจะทำให้ปริมาณคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย โดยทั่วๆไปไม่ควรเกิน 8 กรัม ต่อน้ำนม 100 มิลลิลิตร


โดย นพ.อุดม เพชรสังหาร
ข้อมูลจาก //www.familydirect.co.th
ที่มา : //www.elib-online.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 04 เมษายน 2553
Last Update : 4 เมษายน 2553 20:51:51 น. 1 comments
Counter : 3403 Pageviews.

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: indexfuture วันที่: 6 เมษายน 2553 เวลา:11:02:52 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.