Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
10 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
5 Tips to be Young Creative



เป็นเรื่องจริงที่โลกยุคนี้และยุคหน้าต้องการความคิดสร้างสรรค์
เพื่อรักษาและแปรเปลี่ยนทรัพยากร ที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เปี่ยมคุณค่ามากที่สุด

ดังนั้นความเป็นนักคิดและครีเอทีฟ จะช่วยให้เด็กๆ รับมือกับเรื่องราวต่างๆ ได้ดี
ทั้งเป็นฟันเฟืองที่สำคัญของโลกใบนี้ด้วย

และเรื่องจริงอีกอย่างก็คือ ครีเอทีฟซึ่งมีความคิดเจ๋งๆ น่ะ
ส่วนใหญ่ได้จากแรงบันดาลจากการเล่นในวัยเยาว์ทั้งนั้น…

โจเซฟ เพีร์ซ นักพัฒนาวิวัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กผู้ที่มีชื่อก้องโลก กล่าวไว้ว่า
“เด็กที่ไม่สามารถจินตนาการได้ ไม่เพียงแต่ไม่สามารถรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นคนที่ไม่มีความหวังอะไรอีกด้วย”

พลังแห่งจินตนาการเป็นพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ค่ะ
สร้างเด็กให้ เป็นคนมีชีวิตชีวา อยู่บนโลกด้วยความหวัง และคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ได้
ซึ่งถือเป็นความท้าทายของมนุษย์โลกอย่างหนึ่ง
อย่างเช่น โทมัส อันวา เอดิสัน คิด ค้นหลอดไฟขึ้นมา เพียงเพราะว่าเขามีแรงบันดาลใจ
จากการหาหนทางขจัดความกลัวยามค่ำคืนอันมืดมิดนั่นเอง สุดท้ายหลอดไฟก็ส่องสว่างอยู่ทั่วโลก

ดังนั้น เด็กวัยซนอายุ 3-6 ปี ซึ่งเป็นช่วงแสวงหาสิ่งใหม่ๆ และอยากเรียนรู้เป็นที่สุด
ก็มักแสดงความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาการออกมาหลายอย่าง
ซึ่งบางครั้งคุณแม่อาจ ไม่เข้าใจและส่ายหน้า เพราะคิดว่านั่นคือความซน ความดื้อของลูก

…มาคิดในมุมกลับสักนิดนะคะ ว่าลูกเรากำลังเป็น Young Creative ตัว น้อยอยู่ต่างหากล่ะ
คุณพ่อคุณแม่จึงควรเชื่อมต่อพัฒนาการด้านความคิด เข้ากับไอเดียการเล่นสนุก ของลูกให้ดี
เพราะจุดนี้จะกลายเป็นพื้นฐานให้เด็กรู้จักคิดนอกกรอบ มีความคิดสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหาเป็น
และตอบสนองความต้องการของสังคมในอนาคตที่เขาต้องเติบโต และใช้ชีวิตอยู่ค่ะ

เอาล่ะ…คราวนี้ก็ลองมาดู 5 วิธี สร้าง Young Creative กัน

★ 1. อิสระเสรี
เริ่มง่ายๆ กันก่อนนะคะ ถ้าเป็นกิจกรรมที่ไม่เป็นอันตรายหรือกิจกรรมที่ลูกอยากเลือกทำเอง
เราต้องให้อิสระทางความคิดและความรู้สึกของลูก โดยไม่สกัดกั้น ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือการกระทำก็ตาม
เช่น คำพวก “อย่า” “ห้าม” เป็นต้น เพราะจะทำให้ลูกตกใจ และไม่มั่นใจในตนเอง

ส่วนสถานที่หรือกิจกรรมนั้นๆ จะต้องมีความปลอดภัย
เช่น หาพื้นที่ให้เป็นมุมของลูกพร้อมอุปกรณ์ประดิษฐ์ต่างๆ เช่น กระดาษสี กล่องกระดาษ
และกาวแป้งเปียก (แบบ non-toxic) ให้ลูกได้ฉีก แปะ สร้างผลงานศิลปะ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมา

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ เพียงเฝ้าดูห่างๆ ก็พอ จะช่วยให้เด็กๆ แตกยอดความคิดออกมาได้มาก
เพราะทุกครั้งที่คุณพ่อคุณแม่บอกว่า ทำอย่างนั้นสิ อย่างนี้สิ จะทำให้ความคิดของลูกสะดุดและขาดช่วงลงไป
ผลงานที่สร้างสรรค์มา ก็จะกลายเป็นผลงานของคุณพ่อคุณแม่ที่ทำผ่านมือลูกเท่านั้นเอง


★ 2. ต้นแบบสร้างสรรค์
คุณพ่อคุณแม่คือตัวอย่างที่ลูกสามารถเลียนแบบได้ง่าย และมีน้ำหนักมากที่สุด ทั้งการกระทำ วิธีคิด วิธีแก้ปัญหา
ดังนั้นถ้าเปิดโอกาสให้ลูกร่วมทำงาน และออกความคิดเห็นในบางเรื่อง ถือเป็นช่องทางให้ลูกจดจำ
และเรียนรู้จากพ่อแม่นำมาพลิกแพลงให้เข้ากับ สถานการณ์และสิ่งแวดล้อมที่ลูกต้องเผชิญ

เช่น ก่อนคุณพ่อจะซ่อมบ้าน
การพาลูกไปหาข้อมูลด้วยการเดินดูอุปกรณ์ ที่เหมาะสมตามร้านตกแต่งบ้านแบบ ใหม่ๆ อยู่เสมอ
ลูกจะได้ความรู้เรื่องคุณสมบัติของอุปกรณ์และวัตถุดิบต่างๆ คุณอาจจะได้ยินหรือได้ไอเดียเก๋ไก๋น่ารักของลูก
เช่น “หนูชอบลูกแก้ว เอาลูกแก้วไปฝังในปูนตามทางเดิน ที่คุณพ่อจะเทปูนได้ไหมคะ” เป็นต้น


★ 3. เชื่อมโยงกฎเกณฑ์
เราต้องสอนให้ลูกเข้าใจต้นเหตุของกฎเกณฑ์ที่เกิดขึ้นมากกว่าทำตาม กฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด
แต่ไม่รู้ความหมายเลย บางครั้งทำไปเพราะกลัวว่าจะถูกลงโทษ เด็กบางคนอาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องห้าม
ส่งผลให้เด็กไม่กล้าคิดและไม่ได้คิดเชื่อมโยงเหตุและผลไปโดยปริยาย

เช่น คุณแม่ห้ามลูกไม่ให้เอาดินน้ำมันไปแปะผนัง
ควรอธิบายด้วยว่าเพราะเนื้อดินน้ำมัน เมื่อติดเข้าไปในผนังปูน จะทำความสะอาดออกยาก
ก่อให้เกิดความเข้าใจกับลูกมากกว่าคำสั่งห้ามอย่างเดียว
จากนั้นค่อยช่วยกัน คิดว่าลูกจะแปะดินน้ำมันที่ไหนได้บ้าง


★ 4. ชวนลูกตั้งคำถาม
เราจะรู้ว่าเด็กเก่งหรือไม่ ต้องดูจากคำตอบของเขา
แต่หากอยากรู้ว่าเขาฉลาดหลักแหลมหรือไม่ ต้องดูจากคำถามของเขา คราวนี้ก็ถึงตาคุณพ่อคุณแม่แล้วค่ะ
ว่าอยากให้ลูกเก่งหรือฉลาด แต่เชื่อว่า 99% คงเลือกให้ลูกเป็นคนฉลาดแน่ๆ


★ 5. เคารพความคิด
ดุ ว่า หัวเราะ เยาะเย้ย สิ่งเหล่านี้ควรละเว้นที่สุดค่ะ เพราะเวลาลูกมีไอเดียที่เป็นไปไม่ได้หรือน่าขัน อย่างไรก็ตาม
แต่ล้วนเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกรู้ว่ามีตัวตนในครอบครัว ความคิดของเขามีค่า ซึ่งจะทำให้ลูกกล้าคิดกล้าทำ
ประสบการณ์ด้านความคิดของลูกก็จะงดงาม ด้วยกำลังใจจากคนรอบข้างค่ะ

ทั้งนี้ คนรอบข้างควรมองให้เป็นเรื่องน่าสนใจ แล้วมาชวนคิดชวนคุย
จะช่วยให้ลูกคิดสร้างสรรค์และต่อยอดความคิดได้ดี


สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่คาดหวัง มักจะเป็นชิ้นงานสุดยอดจากความคิดสร้างสรรค์ของลูก
ซึ่งความจริงแล้วการสอนลูกให้เป็น Young Creative นั้น ไม่ใช่เพียงแค่มองเห็นผลงานของลูกที่ปรากฏเท่านั้น
แต่การสร้างนักคิดตัวน้อย คือการเปิดโอกาสให้ลูกได้พบประสบการณ์ที่แตกต่าง ได้ทักษะใหม่ๆ
รวมทั้งได้บรรทัดฐานความคิดให้กับชีวิตในวันต่อไปด้วยค่ะ
ตอนนี้เวลาเห็นลูกเล่นเลอะเทอะแค่ไหนให้ท่องในใจ Young Creative …ค่ะ.


ข้อมูลจาก รักลูก
ที่มา : //www.elib-online.com
ภาพจาก : //family.go.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ



Create Date : 10 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 10 กุมภาพันธ์ 2553 21:11:07 น. 0 comments
Counter : 618 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.