Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 
13 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ความจำ...ของเด็กวัยขวบแรก

แม่และเด็ก
โดย: ปาจรีย์

คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ท่านอาจสงสัยว่าช่วงขวบแรกของลูกนั้น จะสามารถจำอะไรได้ไหม
ยิ่งกว่าจำได้อีกค่ะ เพราะพัฒนาการด้านนี้เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว


Step 1 ตั้งต้นการจำ

พัฒนาการด้านการเรียนรู้ และความสามารถจดจำของลูกเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วค่ะ

ในช่วง 23 - 29 สัปดาห์ขณะที่ลูกอยู่ในครรภ์ พัฒนาการด้านความจำจะเริ่มก่อตัวขึ้นแล้วค่ะ
โดยเมื่อลูกได้ยินเสียงหัวใจของแม่เต้นหรือได้ยินเสียงของแม่ ลูกจะเกิดอาการตื่นเต้นเพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน
แต่ต่อมาเมื่อลูกได้ยินบ่อยครั้งขึ้น ก็จะเริ่มจำเสียงดังกล่าวจนรู้สึกชิน
ระหว่างตั้งครรภ์นี้หากแม่ฟังเพลงที่ชอบอยู่บ่อยๆ ฟังแล้วรู้สึกผ่อนคลาย เจ้าตัวเล็กในท้องก็จะคุ้นชินไปด้วย
แล้วแสดงออกด้วยการดิ้นให้คุณแม่รู้สึกทุกครั้งที่ได้ยินเพลงนี้
เมื่อลูกคลอดออกมาแล้ว และมีอาการงอแงหงุดหงิดโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ
ลองเปิดเพลงที่ลูกเคยฟังตั้งแต่อยู่ในท้องสิคะ ลูกจะมีอาการสงบให้เห็นทีเดียว
วิธีนี้ล่ะค่ะที่เขาใช้พิสูจน์ และสรุปว่าลูกมีความสามารถจดจำตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว

ดังนั้นการพูดคุยกับลูกบ่อยๆ ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์ หรือการคุยกันของคุณพ่อคุณแม่ด้วยน้ำเสียงที่อบอุ่น
จะทำให้ลูกคุ้นเคยและยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดีอีกด้วยค่ะ




Step 1 วัยเริ่มจำได้

ในช่วง 3 - 5 เดือน เป็นช่วงที่ลูกเริ่มจำหน้าของแม่ได้ และเริ่มมีความผูกพันธ์ใกล้ชิดกับแม่
โดยลูกจะยิ้มให้แม่ทันทีถ้าได้เห็นหน้า แต่หากลูกเห็นหน้าคนอื่นๆ ที่ไม่คุ้นเคย ลูกก็จะยิ้มน้อยกว่า
มีการเฝ้าสังเกตค่ะพบว่า หากมีเหตุการณ์ที่เด็กไม่สบายใจหรือเกิดความไม่แน่ ใจ
เช่น เวลาที่คุณหมอจะฉีดวัคซีนหรือตรวจร่างกาย ถ้าเด็กได้มองหน้าแม่แล้วแม่ยิ้มให้พร้อมทั้งพยักหน้า
และทำสีหน้าที่มั่นคง เด็กจะไม่ร้องไห้เลยค่ะแม้จะถูกฉีดยาก็ตาม


วัยนี้ลูกจะเริ่มจำของเล่นและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวได้ ซึ่งสังเกตได้เพราะลูกจะเริ่มแสดงอาการเบื่อของเล่นชิ้นเก่า
แต่ถ้าเจอของเล่นชิ้นใหม่หรือสภาพแวดล้อมใหม่ๆ ลูกจะรู้สึกตื่นเต้นขึ้นมาทันที
นั่นแสดงว่าลูกจำได้ว่าอะไรใหม่และอะไรเก่า โดยลูกจะต้องเห็นสิ่งนั้นก่อนนะคะ
แต่ถ้าไม่เห็นก็จะไม่นึกถึงของสิ่งนั้น หรือถ้าเห็นอยู่แล้วของสิ่งนั้นหายไปจากสายตา
ในเด็กเล็กๆ จะคิดว่ามันหายไปค่ะเลยเลิกสนใจ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถทดสอบได้
โดยการปล่อยของเล่นจากมือของเราลงพื้น ส่วนมากหากลูกอายุน้อยกว่า 5 เดือน มักจะไม่มองตามของที่ตกค่ะ



Step 1 จำเพราะสนุก

ราวอายุ 5 - 8 เดือน ลูกจะเริ่มมองตามสิ่งของที่ตกลงบนพื้น
แต่ขณะที่ลูกเล่นของเล่นอยู่ แล้วเรานำผ้ามาคลุมของเล่น
แม้จะคลุมให้ลูกเห็นก็ตาม ลูกจะเลิกสนใจของเล่นชิ้นนั้นเลย เพราะคิดว่ามันหายไปแล้ว

แต่ลูกวัยนี้จำหน้าคุณพ่อคุณแม่ และคนใกล้ชิดได้ดีขึ้นกว่าเดิมแล้วค่ะ
จำได้ว่าใครที่เขาเล่นด้วยแล้วรู้สึกสนุกและตื่นเต้น เช่น ลูกจะจำได้ว่าเวลาเล่นกับคุณพ่อจะสนุกกว่าคุณแม่
ลูกก็จะอยากเล่นกับคุณพ่อมากกว่า ซึ่งเมื่อเห็นคุณพ่อลูกจะทำท่ากระตือรือร้นที่จะเข้าหา

ขณะเดียวกันความที่ลูกสามารถจำคนใกล้ชิดได้แล้ว
ลูกจึงเริ่มกลัวคนแปลกหน้าและติดผู้เลี้ยงดูที่ใกล้ชิดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องปกตินะคะ



Step 1 นักฟัง(จำ) คนเก่ง

วัย 8 - 12 เดือน ลูกมีความสามารถจดจำการคงอยู่หรือหายไปของสิ่งของได้แล้วค่ะ
โดยลูกจะรู้ว่าของนั้นยังอยู่แม้จะไม่ได้อยู่ในสายตาก็ตาม
เช่น ถ้าลูกเห็นว่าคุณกำลังเอาผ้ามาคลุมของเล่น ลูกก็จะเปิดผ้าออกดูเพื่อจะเอาของเล่นออกมา

การพูดคุยกับลูกบ่อยๆ หรือการอ่านหนังสือนิทานให้ลูกฟัง จะช่วยให้ลูกจดจำคำศัพท์ได้ค่ะ
ซึ่งเป็นการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาที่ดีทางหนึ่ง

โดยเฉพาะในวัย 9 เดือน ลูกจะเริ่มจดจำท่าทางและเลียนแบบได้ด้วยค่ะ

อย่างไรก็ตาม ลูกวัยนี้ยังติดผู้เลี้ยงดู และมีการร้องหาอยู่เรื่อยๆ นะคะ
ซึ่งอาการติดนี้จะหายไปเมื่อถึงวัยเข้าโรงเรียนคืออายุ 3 ปี
ซึ่งเป็นช่วงที่ลูกสร้างความผูกพันที่มั่นคงกับคุณพ่อคุณแม่ได้แล้ว

จะเห็นว่าความสามารถในการจดจำของลูกนั้น เริ่มตั้งแต่อยู่ในท้องแม่แล้ว
และมีการพัฒนามาตามลำดับเมื่อลูกเจริญเติบโตขึ้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้องนะคะ
เมื่อลูกลืมตาดูโลกก็จะมีความพร้อมในการเรียนรู้ทุกสิ่ง
ที่สำคัญการพูดคุย โอบกอดจะทำให้ลูกรู้สึกได้ถึงความมั่นคงในใจ ทำให้สมองของลูกเติบโตและพัฒนาค่ะ
และเมื่อลูกเกิดความผูกพัน มีความเชื่อใจไว้วางใจคุณแล้ว
การฝึกพัฒนาการในด้านต่างๆ จะเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลยค่ะ




Step 1 ความทรงจำในวัยเด็ก... อยู่ไหน

เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เชื่อว่าการที่เราไม่สามารถจำเหตุการณ์ในวัยเด็กได้
เนื่องจากว่าความทรงจำในช่วงแรกๆ ของเรานั้นโดนกดเอาไว้
หรือไม่ก็ถูกแทนที่ด้วยความจำที่มากมาย และซับซ้อนกว่าในช่วงเวลาต่อมา
และความทรงจำที่ถูกกดไว้นั้น ก็ได้แสดงออกเป็นลักษณะตัวตนของเราเมื่อโตขึ้น
แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับสมองที่พบว่าการที่เราไม่สามารถจดจำเรื่องราวในวัยทารกได้
เนื่องจากสมองที่เกี่ยวกับความทรงจำระยะยาวนั้น ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่
แต่ทารกก็สามารถเรียนรู้และจดจำในช่วงเวลาสั้นๆ ได้


การที่เราเรียนรู้และพัฒนาทักษะบางอย่างในช่วงวัยทารก
ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน หรือส่งเสียงเพื่อการสื่อสารนั้น ต้องอาศัยความจำทั้งสิ้น
นั่นคือจำว่าเดินอย่างไรหรือส่งเสียงอย่างไร ซึ่งเป็นเสมือนฐานที่ทำให้เราเติบโตและมีพัฒนากการต่อๆ มาค่ะ

Baby ได้มีการศึกษา
โดยให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 6 สัปดาห์ก่อนคลอด อ่านหนังสือเรื่องเดิมโดยอ่านออกเสียงถึง 67 ครั้ง
พบว่าหลังคลอดได้ 3 วัน ช่วงที่ทารกน้อยได้ฟังหนังสือเล่มเดิม ทารกจะดูดนมแรงขึ้นอย่างชัดเจน
เมื่อเทียบกับทารกที่ไม่ได้ฟัง



จาก: นิตยสารรักลูก
ที่มา : //www.momypedia.com


สารบัญแม่และเด็ก



Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 13 พฤษภาคม 2553 21:41:41 น. 0 comments
Counter : 780 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.