Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 
1 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 

พัฒนากล้ามเนื้อ ลูกรักตามวัย



★ ทารกแรกเกิด 1 เดือน
ช่วงเดือนแรกของ ชีวิตทารกส่วนใหญ่จะกำมือแน่น เมื่อจับนอนคว่ำ
ทารกสามารถหันศีรษะไปด้านใด ด้านหนึ่งได้ และจะอยู่ในท่างอแขนขา ลำตัว
การควบคุมศีรษะยังไม่ดีพอ เมื่อจับทารกหงายแล้ว ยกแขนขึ้นศีรษะจะตกไปด้านหลัง

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ให้ลูกน้อยนอนคว่ำบนที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไป เพื่อให้ลูกให้ฝึกชันคอ


★ ทารกแรกเกิด 2 เดือน
ทารก เริ่มคลายมือที่กำลัง พยายามยกแขน ไหล่เพื่อจับสิ่งของ ยกศีรษะขึ้นเมื่อจับให้นอนคว่ำและตัวงอ
เมื่อนอนคว่ำและทรงตัวให้ศีรษะชันคออยู่ได้ไม่นาน

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
เพื่อให้ลูกนอนคว่ำบนที่นอนที่ไม่นุ่มเกินไป เพื่อให้ลูกได้ฝึกชันคอ
และอุ้มพาดบ่าเพื่อให้ลูกได้ฝึกชูคอ ขึ้นมองสิ่งต่าง ๆ


★ ทารกแรกเกิด 3 เดือน
ระยะนี้กล้ามเนื้อของทารกจะพัฒนาขึ้น เขาหรือเธอจะชอบให้จับอุ้มนั่งหรือพาดบ่านาน ๆ
เริ่มมีการเคลื่อนไหวร่างกายโดยการพยายามชันคอและจะสามารถประคองได้ 45 องศา

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ให้ลูกนอนบนที่นอนที่ไม่นุ่มจนเกินไป หรือพื้นราบเพื่อให้หัดพลิกคว่ำอย่างปลอดภัย
โดยมีคุณดูแลอย่างใกล้ชิดและควรจะอุ้มเด็กหันหน้าออก และเล่นกับลูกโดยชูของเล่นให้คว้า


★ ทารกแรกเกิด 4 เดือน
เริ่มมีการเคลื่อนไหว มีการตอบสนองทางด้านร่างกายมากขึ้น
สามารถคว่ำยกศีรษะขึ้นสูง และชันคอได้ 90 องศา โดยใช้แขนยันตัวขึ้น ยกศีรษะตั้งตรงได้

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
เล่นกับลูกโดยพยายามให้เด็กได้ใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก โดยการหยิบหรือคว้าจับ
และก็ยังคงให้แกนอนเพื่อฝึกให้ชันคอ โดยต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยด้วย


★ ทารกแรกเกิด 5 เดือน
สามารถนั่งได้เมื่อพยุงเล็กน้อย ช่วงนี้จะเริ่มคืบ พลิกคว่ำพลิกหงายได้ ชันคอได้เมื่ออุ้มนั่งตัก
หันศีรษะไปข้าง ๆ ได้ ในวัยนี้ ทารกจะเริ่มมีการพลิกคว่ำได้แล้ว มีการนอนหมุนตัวไปรอบ ๆ

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ต้องคอยระมัดระวังอุบัติเหตุตกเตียง ตกเบาะ พยายามจัดสถานที่โล่งกว้างปลอดภัยให้เด็กคืบคลาน
และหาของเล่นสีสด ๆ ชิ้นใหญ่ที่มีเสียงให้เด็กหยิบจับและคืบเข้าไปหา


★ ทารกแรกเกิด 6 เดือน
สามารถนั่งเองโดยใช้แขนยันตัวไว้กลิ้งพลิกคว่ำหงายเองได้ เมื่อวางสิ่งของห่าง 6 นิ้ว มองตาม 180 องศา
ใช้นิ้วจับของได้แต่ไม่ถนัด และเปลี่ยนมือได้ สามารถมองเห็นได้ใกล้และไกล ทั้งสองตาประสานกันได้ดี

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
จับลูกให้อยู่ในท่านั่ง และหาหมอนหรือที่นอนไว้รองรอบข้างตัว เพื่อไม่ให้ลูกล้มและเป็นอันตรายได้
เพราะช่วงนี้เด็กยังนั่งเองไม่ได้นาน


★ ทารกแรกเกิด 7 เดือน
นั่งได้ดีขึ้น คลานได้ มองตามสิ่งของหรือวัตถุได้ดีขึ้น
หากคุณจับยืนจะลงน้ำหนักทั้ง 2 ข้าง ใช้นิ้วหยิบหรือเปลี่ยนจับสิ่งของได้

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
อุ้มให้น้อยลง พยายามให้ลูกนั่งเล่นเอง โดยคุณดูแลอย่างใกล้ชิด
หัดให้หยิบของหรือถ้วยหัดดื่มเองเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก ๆ ด้วย


★ ทารกแรกเกิด 8 เดือน
ลุกจากท่านอนได้ นั่งเองได้นาน จับถือขวดนมได้ เมื่อเอาขวดนมใส่ปาก และหยิบขนมปังทานได้
ช่วงนี้แกจะคลานได้เร็วขึ้น

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเด็กเคลื่อนไหวได้แล้ว และในช่วงนี้คุณควรหัดให้เกาะยืน โดยดูแลอย่างใกล้ชิด


★ ทารกแรกเกิด 9-10 เดือน
นั่งได้มั่นคง คลานและเกาะยืนได้ ยืนท่าเท้ากาง ขากาง หัวไหล่งุ้มลง เท้ารับน้ำหนักได้
และสามารถหยิบจับสิ่งของเล็กได้โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ได้

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
หัดให้ถือช้อน ถ้วยน้ำเอง จัดสถานที่และบริเวณให้เด็กได้คลานและหัดเกาะยืนเอง


★ ทารกแรกเกิด 11-12 เดือน
ยืนเองได้ชั่วคราว เกาะยืน ก้าวขา 2 ก้าว การใช้ตาและมือ
สามารถใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของเล็ก ๆ ได้ถนัด หยิบของใส่ถ้วยหรือกล่อง

สิ่งที่คุณแม่ควรทำ
ให้โอกาสลูกหัดยืนและเดินในที่โล่งกว้าง และหัดให้ลูกหัดหยิบของกินเอง เช่น มะละกอสุก หรือมันต้ม


ข้อมูลจาก บันทึกคุณแม่
ที่มา : //women.sanook.com


สารบัญ เรื่อง แม่และเด็ก
คลิกดู ที่นี่ค่ะ




 

Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2553
0 comments
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2553 21:28:31 น.
Counter : 978 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 200 คน [?]




Friends' blogs
[Add ทุกคนไม่ได้รู้ทุกสิ่ง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.