ซื่อสัตย์ต่อตัวเอง
Group Blog
 
All Blogs
 
ลูก รวยแค่ไหนก็ต้อง “จน”

ออสเตรเลียจัดเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ แต่ทว่า ชาวออสซี่ที่ร่ำรวยกลับศรัทธาคำว่า “ ลูก รวยแค่ไหนก็ต้อง “จน” เหตุผลของพวกเขาคือ เด็กที่ถูกตามใจจนเหลิงนั้นจะขาดการควบคุมตนเองและไร้ศักยภาพในการใช้ชีวิตอย่างอิสระตามลำพัง เมื่อเติบใหญ่แล้วจะต้องลำบากแน่
“ เด็กควรที่จะนุ่งห่มให้น้อยกว่าผู้ใหญ่ ” นี่คือคำพูดของเพื่อนบ้านชาวออสซี่ขณะที่เห็นฉันห่อหุ้มตัวลูกจนดูคล้าย “ ม้วนสำลี ” เรื่องจริงก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แม้ในเดือนที่หนาวที่สุด ก็น้อยนักที่จะเห็นลูกชาวออสซี่สวมใส่เสื้อกันหนาว อย่างมากก็มีเสื้อคลุมผ้าขนหนูสี่กรมท่าสวมทับชุด “ขาสั้นแขนสั้น” เท่านั้น เดินอยู่ท่ามกลางลมหนาวเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น และพอดวงอาทิตย์ส่องแสงมาก็ถอดเอาเสื้อขนหนูออก เหลือเพียงขาสั้นแขนสั้นหรือกระโปรงสั้น มีโรงเรียนพลศึกษาแห่งหนึ่งใกล้ ๆ กับคอนโดที่พักของเรา ทุกเย็นหลังสิ้นสุดการฝึกซ้อมแล้ว มักจะเห็นผู้ปกครองอยู่กับเด็กที่เดินเท้าเปล่า ไม่ใส่หมวก เด็ก ๆ ที่เดินออกจากโรงเรียนสวมเพียงเสื้อกล้ามกางเกงขาสั้น ถึงแม้ความเหน็บหนาวจะคุกคามผู้คนเพียงใด แต่น้อยนักที่จะเห็นผู้ปกครองตื่นเต้นตกใจหิ้วเสื้อผ้า รองเท้า หมวกมาให้เด็ก แม้ว่าฤดูหนาวในออสเตรเลียจะไม่หนาวมาก แต่อุณหภูมิตอนกลางวันกับกลางคืนแตกต่างกันมาก อุณภูมิมักจะต่ำกว่าสิบองศาเซลเซียส ในสายตาลูกชาวเอเชียอย่างเราเห็นเด็ก ๆ ที่สวมพียง ”ขาสั้นแขนสั้น” เท่านั้นรู้สึกว่าน้อยไปจริงๆ
“ ลูกหลานชาวออสซี่ “ อึด ” ดีจริง ๆ นี่คือหัวข้อสนทนาของพ่อแม่ชาวเอเชียที่มักจะพูดกันไม่รู้จักเบื่อเวลาพบปะกัน มิน่าเล่าที่พวกเรารู้สึกทอดถอนใจเพราะว่าเพื่อนชาวออสซี่ข้าง ๆบ้านที่มีสภาพครอบครัวที่สะดวกสบายแต่ล้วนเลี้ยงลูกอย่าง “ อึดและทรหด ”ด้วยกันทั้งสิ้น มลภาวะในออสเตรเลียไม่ถือว่ามาก แต่แสงอาทิตย์กล้าผิดปกติ ผู้ที่มาอยู่ใหม่ ๆ หากไม่สนใจก็จะถูกแดดเผาจนผิวเกรียมปริแตก แต่ว่าเวลาเดินบนท้องถนน มักจะได้เห็นผู้ที่เป็นแม่เข็นรถเด็กเล็กภายใต้แสงแดดแผดจ้าอบู่บ่อย ๆ------บนรถหาใช่ว่าไม่มีที่บังแดด แต่ว่าไม่กางออกต่างหาก คุณอาจจะบอกว่า “ ชาวออสซี่ชอบอาบแดด.......” คำพูดนี่ไม่ผิด แต่ถ้าคำนึงถึงอุณภูมิที่สูงถึง 39 องศาเซลเซียสแล้วก็ไม่อาจปฏิเสธว่าคุณแม่เหล่านี้ต้องมี “ เจตนาอื่น” แน่เลย
เคยเห็นฉากเช่นนี้ที่แผนกสูติในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในซิดนีย์ สามีภรรยาคู่หนึ่งมาตรวจครรภ์ท้องที่สอง ภรรยาเข้าห้องตรวจพบแพทย์ไปแล้ว สามีพาลูกสาววัยสองขวบรออยู่ที่ห้องโถงใหญ่ ครู่หนึ่ง ลูกสาวร้องอยากดื่มน้ำ ดังนั้นผู้เป็นพ่อจึงหยิบถ้วยกระดาษข้าง ๆ เครื่องขายน้ำอัตโนมัติซึ่งเป็นถ้วยแจกฟรีมาใบหนึ่ง เดินเข้าห้องน้ำไปกดเอาน้ำประปามาถ้วยหนึ่งส่งให้ในมือลูกสาว ( น้ำประปาผ่านการกรองแล้ว สามารถดื่มได้ ) -------ผู้เป็นพ่อหาใช่ไม่มีเงินซื้อเครื่องดื่ม เครื่องขายน้ำอัตโนมัติกำลังขายน้ำโค้กและน้ำส้มแก้วละหนึ่งดอลลาร์ และเขาก็ใช่จะซื้อไม่ไหว ได้ข่าวว่าเขาเป็นถึงผู้บริหารบริษัทเครื่องใช้กีฬาแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือนปีละ หนึ่งแสนห้าหมื่นดอลลาร์
ความจริง ลักษณะการปฎิบัติต่อเด็กอย่าง “ จน ” เช่นนี้ของชาวออสซี่หาใช่เป็นเพียงส่วนน้อย ทุกครั้งที่ตรงกับวันที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้เด็กที่สถานีอนามัยในท้องถิ่นก็จะต้องเข้าแถวกันยาวเหยียด ระหว่างเข้าแถว มักจะเห็นผู้ปกครองทิ้งเด็กที่ยังเดินไม่เป็นไว้บนพื้น (ที่ปูพรม ) ปล่อยให้เด็กคลานบ้าง กัดแทะเล่นบ้าง กลิ้งไปกลิ้งมาบ้าง เมื่อเด็กร้องไห้เรียกหาก็เพียงพูดจาปลอบไปสองสามคำ จะไม่เห็นปรากฎการณ์ที่ร้องปุ๊บรีบเข้าไปอุ้มเป็นอันขาด ชาวออสซี่คลั่งไคล้กีฬาของคนกล้า------โต้คลื่น ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อนหรือฤดูหนาว พ่อแม้ล้วนมักพาเด็กไปที่ชายหาด เด็กเล็กก็จะเปลือยเท้าไปเล่นทรายเล่นน้ำอย่างอิสระไร้การ “ ผูกมัด ” ที่โตหน่อยก็ตามพ่อแม่ลงทะเลไปโต้คลื่น ปรากฎการณ์สำลักน้ำมีให้เห็นอยู่บ่อย ๆ แต่อย่างมากพ่อแม่ก็เพียงช่วยตบที่หลังเบา ๆ แล้วให้กำลังใจลูกลงทะเลไปสู้กับคลื่น มีอยู่วันหนึ่งได้ไปเดินเล่นที่ชายหาด มองไปแต่ไกลเห็นเด็กคนหนึ่งตกลงไประหว่างหมุนตัวโต้คลื่น ฉันร้องตะโกนอย่างลืมตัวว่า “ ช่วยเด็กด้วย ” แต่ในขณะที่พ่อและแม่ของเด็กที่อยู่ใกล้ ๆ นั้นกลับไม่รีบไม่ร้อน
“ ที่นั่นน้ำตื้น ไม่จมตายหรอก.....รอให้เขาลุกขึ้นมาเอง ”
พูดถึงเรื่องกิน ไม่อาจปฎิเสธว่าก็มีส่วนตั้งใจให้เด็ก “ จน ” เช่นกัน โรงเรียนชั้นประถมและมัธยมในออสเตรเลียจะไม่ปล่อยนักเรียนออกมาตอนเที่ยง อาหารกลางวันสามารถซื้อได้ที่ห้องอาหารของโรงเรียน (ก็มีเพียงแแฮมเบอร์เกอร์และอาหารง่าย ๆไว้ขายเท่านั้น ) แต่สามารถพกพาเอาไปเองได้ คนที่นำอาหารไปเองมีจำนวนมากกว่า ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำโค้กขวดหนึ่ง แฮมเบอร์เกอร์อันหนึ่งและผลไม้หนึ่งลูก พวกเด็ก ๆ เวลาไปเที่ยวข้างนอก หากว่าจะต้องกินอาหารข้างนอกก็เพียงแต่ซื้อเอาประเภทที่ราคาถูกและอิ่มท้องอย่าง “ แม็คโดนัล ” หากจะวินิจฉัยจากอาหารที่เด็ก ๆ พกพาแล้ว ต่อให้คุณวินิจฉัยอย่างไรก็ไม่อาจตัดสินได้ว่าครอบครัวของเด็กร่ำรวยหรือยากจน
ความจริง สำหรับชาวออสซี่แล้ว “ ลูก รวยแค่ไหนก็ต้อง “จน หาได้ทำอย่างสุดจิตสุดใจดังชาวญี่ปุ่นไม่ หากพูดอย่างพวกเขาแล้วก็เพียงเพื่อ “ คิดเผื่ออนาคต ” --------ลูกเมื่อเติบโตขึ้นช้าหรือเร็วก็ต้องจากพ่อแม่ไปสร้างอาณาจักรของตนเอง กับการที่ปล่อยให้พวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคและความหวาดกลัวอย่างช่วยไม่ได้ สู้ให้พวกเขาถูกเคี่ยวกรำตั้งแต่เล็ก เบื้องหน้ามโนสำนึกที่ไม่นับว่าใหม่นักเช่นนี้ “ จน ” ฉันต้องครุ่นคิดพิจารณาอย่างลึก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับออสเตรเลียที่ได้ก้าวเข้าสู่สโมสรของความมั่งคั่งไปแล้ว เราจะประคบประหงมเอาอกเอาใจเด็กของเรามากไปแล้วหรือไม่
***เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว วิธีการของเราคือ “ ลูก จนแค่ไหนก็ต้อง “รวย” ” ไม่ปฎิเสธว่า พวกเรามีลูกเพียงคนเดียว จึงทนุถนอมเป็นพิเศษ แต่ว่าในที่สุดเมื่อพวกเขาเติบใหญ่แล้วต้องไปแข่งขันกับผู้อื่นเพื่อความอยู่รอด
*****



Create Date : 29 มิถุนายน 2554
Last Update : 29 มิถุนายน 2554 7:39:53 น. 3 comments
Counter : 501 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันสิ่งดีๆ ค่ะ


โดย: J J IP: 198.53.83.82 วันที่: 29 มิถุนายน 2554 เวลา:18:44:05 น.  

 
เอ่อ สะอึกไปเลยค่ะ
แตกต่างกันจริง ๆ


โดย: นิ (นินะนิ ) วันที่: 1 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:28:46 น.  

 
เห็นด้วยกับคำที่ว่ารวยแค่ไหนก็ต้องจนค่ะ
ขอแสดงความคิดเห็นหน่อยหนึ่งนะคะเรื่องแจ็คเกตที่ออสเสื้อผ้าเขาเเมททีเรียลไม่เหมือนของบ้านเราใส่ตัวเดียวก็อุ่นได้เนาะ ถ้าหอบจากบ้านเราไปใส่ที่ออสเนี่ยสี่ตัวยังต้านลมหนาวมะไหวเลยค่ะ


โดย: aoiobake วันที่: 27 ธันวาคม 2554 เวลา:15:20:22 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

syrubbocaboro
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add syrubbocaboro's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.