Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 ตุลาคม 2564
 
All Blogs
 
เชียงใหม่ เมื่อปลายฝน 2564 - วัดพันเตา วัดเจดีย์หลวง วัดชัยพระเกียรติ

เชียงใหม่ 17 - 21 ตุลาคม 2564

09.44 น. วันที่ 17 ตุลาคม 2564 รอบนี้หมายมั่นว่า ต้องมาวัดพันเตาอีก
คราวก่อนที่เรามาต้นปี 2563 วิหารหลวงกำลังบูรณะ เดินมาก็ลุ้น...โชคดีบูรณะเสร็จแล้วค่ะ


 
วัดพันเตา คนเมืองเชียงใหม่มักจะเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดปันเต้า” สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 ตามตำนานประวัติศาสตร์ว่ากันว่าวัดพันเตาสร้างขึ้นในสมัยเดียวกับวัดเจดีย์หลวงคือเมื่อราว 500 ปีมาแล้ว ตำนานนิทานปฐมเหตุการตั้งเมืองเชียงใหม่ สมัยลัวะปกครองเล่าว่า “เศรษฐีผู้หนึ่งหื้ออยู่กลางเวียง ทั้ง 5 คนนี้มีชื่อว่า เศรษฐีพันเท้า เขาก็ได้ตั้งคุ้มอยู่ตามคำเจ้าระสีแล” ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าแต่เดิมวัดพันเตาเป็นบริเวณบ้านของเศรษฐีคนดังกล่าว ต่อมาพระเจ้าแสนเมืองมาจึงได้ตั้งชื่อว่าวัดพันเตา ออกเสียงเป็นภาษาล้านนาว่า “ปันเต้า” ขณะที่อีกตำนานหนึ่งของวัดพันเตาซึ่งพระครูสุวรรณสารพิศิษฐ์ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญโตช่างฆ้อง กล่าวว่า “เดิมเป็นสถานที่ตั้งเส้าจำนวนพันเตาหลองทองหล่อพระพุทธรูปอัฎฐารส ซึ่งประดิษฐานในวิหารวัดเจดีย์หลวง เมื่อทำการหล่อพระเสร็จแล้ว ชาวเมืองจึงสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้นเรียกว่า “วัดพันเตา”





 

วิหารหลวงที่สร้างจากไม้สักทองทั้งหลังแกะสลักลวดลายวิจิตรบรรจงที่ว่ากันว่าเป็นวิหารที่สร้างจากหอคำหรือคุ้มเจ้าหลวงที่เหลืออยู่อย่างสมบูรณ์เพียงหลังเดียวและสวยงามที่สุดแห่งหนึ่งในล้านนา

ในอดีตวิหารวัดพันเตาหลังนี้เคยเป็น “หอคำ” ที่ประทับของเจ้ามโหตรประเทศ เจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 5 (พ.ศ.2390 – 2397) อยู่ที่พระตำหนักเวียงแก้วปัจจุบันคือบริเวณเยื้องด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือศาลากลางหลังเก่าไปจนถึงวิทยาลัยเทคนิคเชียงใหม่ ตามตำนานมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับหอคำหลังนี้ว่า พระยาอุปราชมหาวงศ์ ได้สร้างขึ้นถวายเป็นพุทธบูชาเมื่อจุลศักราช 1209 ซึ่งตรงกับ พ.ศ.2390 เนื่องจากท่านได้เลื่อนฐานันดรศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่จากพระยาอุปราชขึ้นเป็นพระยาเชียงใหม่ ท่านได้สร้างหอคำขึ้นไว้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปอันเป็นปูชนียวัตถุลํ้าค่าภายในที่อยู่ของท่าน พระยาอุปราชมหาวงศ์ได้มีการเฉลิมฉลองหลังจากที่สร้างหอคำแล้ว

ในการสร้างหอคำหลังนี้ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้ใช้ช่างพื้นเมืองและช่างพม่าผสมกัน ต่อมาพระยาเชียงใหม่มหาวงศ์ ได้รับพระราชทานเลื่อนฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นเจ้ามีพระนามในสุพรรณบัฏเป็น พระเจ้ามโหตรประเทศราชาธิบดินทร์นพีสิทรมหานคราธิษฐาน เมื่อปี พ.ศ.2396 หลังจากที่ได้รับพระราชทานฐานันดรศักดิ์ไม่กี่เดือน พระองค์ก็ถึงแก่พิราลัย

เมื่อพระเจ้ามโหตรประเทศฯถึงแก่พิราลัยแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงแต่งตั้งให้นายสุริยวงศ์ บุตรของพระเจ้าบรมราชาธิบดี (กาวิละ) ขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 6 ชื่อว่าพระเจ้ากาวิโรรสสุริยวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่มาได้ 16 ปีเศษก็ถึงแก่พิราลัยเมื่อปี พ.ศ.2413 เจ้าอุปราชอินทนนท์ รักษาการในตำแหน่งเจ้าหลวงเชียงใหม่มาร่วม 3 ปี จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้าอินทวิชยานนท์พหลเทพภักดีฯ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 7 เมื่อ พ.ศ.2416 
อ่านต่อที่ https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/839204/

 



ซุ้มประตูมองจากด้านในพระวิหารหลวง



ขวามือของพระวิหารหลวง









คนละบรรยากาศกับคราวที่แล้วเลยค่ะ สถานที่เดียวกัน ต่างวัน-เวลากันเนาะ



ซุ้มประตูไม้แกะสลักประดับกระจกเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ นกยูง นาค ลิง หงส์ ประกอบลวดลายที่กรอบประตูส่วนบนเป็นโก่งคิ้วไม้แกะสลักลายดอกไม้ใบไม้ 




ด้านในพระวิหารหลวง พระเจ้าปันเต้า (พันเท่า) พระประธานกำลังบูรณะค่ะ







ไว้มาใหม่ รอบหน้าค่ะ





สวยจริง







มองเห็นวัดเจดีย์หลวง อยู่ใกล้ ๆ กันค่ะ









เจดีย์พระเจ้าทันใจ 18 ยอด สีทองสุกอร่าม



นาน ๆ ที ไม่ค่อยมีคนบัง นาน ๆ ทีจะได้มา เก็บภาพไปเยอะเลยค่ะ







ไปแล้วค่ะ เดี๋ยวไปวัดเจดีย์หลวงต่อ



09.58 น. วัดเจดีย์หลวง



มารอบนี้ พระวิหารหลวง ปิดบูรณะ พระอัฏฐารส พระวิหารหลวง เคยอัปบล็อกไปแล้วค่ะ




 
วัดเจดีย์หลวง เป็นที่ประดิษฐานของเสาอินทขิล ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่มาช้านาน มีตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า ในสมัยก่อนบริเวณที่ตั้งของเมืองเชียงใหม่เป็นที่ตั้งเมืองของพวกลัวะ ซึ่งมักจะถูกผีร้ายรบกวนต่าง ๆ นานา จนเป็นที่เดือดร้อนทั่วทั้งเมือง พระอินทร์ทรงเล็งเห็นความเดือดร้อนของพลเมือง ก็คิดจะช่วยเหลือโดยได้บอกให้ชาวเมืองถือศีลรักษาคำสัตย์ บ้านเมืองจึงรอดพ้นจากอันตราย ชาวเมืองก็เชื่อฟังและปฏิบัติตาม เมื่อพระอินทร์เห็นว่าชาวเมืองมีสัตย์ดีแล้วจึงบันดาลให้บ่อเงินบ่อทองและบ่อแก้วขึ้นภายในเมืองและให้ชาวเมืองอธิษฐานเอาตามความปรารถนา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า “เมืองนพบุรี”

อาณาจักรลัวะหรือละว้าโบราณที่มาของตำนานเสาอินทขิลนี้ มีศูนย์กลางการปกครองหรือราชธานีอยู่ที่ เวียงเชษฐบุรี หรือ เวียงเจ็ดริน (อยู่เชิงดอยสุเทพด้านทิศตะวันออก สถานที่เลี้ยงโคนมกรมปศุสัตว์และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลปัจจุบัน) และเวียงนพบุรีในเวลาต่อมา แล้วก็ล่มสลายในสมัยขุนหลวงวิรังคะ ราชันย์แห่งขุนเขาผู้ยิ่งยงเมื่อต้องพ่ายแพ้ พระนางจามเทวี แห่งอาณาจักรหริภุญไชยในการทำสงครามเมื่อ พ.ศ.1211 (พ.ศ.1204 วาสุเทพฤาษีสร้างเมืองหริภุญไชย, พ.ศ.1206 พระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญไชย, พ.ศ.1211 เกิดสงครามกับขุนหลวงวิรังคะ, พ.ศ.1213 พระนางจามเทวีสละราชสมบัติ)







ท้าวเวสสุวรรณ



สุภาพสตรีห้ามเข้าค่ะ เราถ่ายจากด้านนอก















หอระฆัง





พระแก้วหยกเชียงใหม่





หอธรรมและพิพิธภัณฑ์วัดเจดีย์หลวง









ราวบันไดนาค





ช่วงที่เราไป ลุ้นฟ้าฝนทุกวัน ดีว่าไม่เจอฝนตกหนัก ๆ ค่ะ





































พระสงฆ์องค์เจ้า ต่างก็ New normal





วันนี้เรามีเวลาเหลือเฟือ ไม่รีบร้อน เดินไปถ่ายรูปไป 



ช่วงนี้สาละลังกาออกดอกแทบทุกวัด



บูรณะแล้ว สีใหม่เลยค่ะ





ดอกคูณ















หอพญามังราย



11.19 น. วัดชัยพระเกียรติ




 
วัดชัยพระเกียรติ แต่เดิมชื่อ วัดชัยผาเกียรติ์ โคลงนิราศหริภุญไชยกล่าวถึงพระอารามแห่งนี้เอาไว้ว่า สร้างขึ้นในช่วงที่ราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่ (กลางสมัย) และได้รับการทำนุบำรุงโดยกษัตริย์เชียงใหม่ทุกพระองค์เรื่อยมาจนถึงสมัยพระเมกุฏิวิสุทธิวงศ์ กษัตริย์องค์ที่ 16 ของราชวงศ์มังราย องค์สุดท้ายของเชียงใหม่ยุคแรกเริ่ม

ปูชนียสถานต่าง ๆ ภายในได้รับการบูรณะ และสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด เนื่องจากของเดิมมีสภาพทรุดโทรม และเสียหายไปตามกาลเวลา แม้อาคารสถานต่าง ๆ จะเป็นของใหม่ แต่อายุอานามของพระอารามแห่งนี้ไม่น้อยเลย เรียกได้ว่าอยู่คู่เมืองเชียงใหม่ เป็นประจักษ์พยานรู้เห็นการเปลี่ยนแปลงของเมืองมาหลายร้อยปี

พระวิหารดั้งเดิมสร้างขึ้นในสมัยพระมหาเทวีจิระประภา กษัตริย์ลำดับที่ 14 แห่งราชวงศ์มังราย สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครือญาติกัน หรือไม่ก็เพื่อถวายพระเกียรติต่อพระไชยที่ไม่ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงใหม่) ส่วนพระวิหารองค์ปัจจุบัน เป็นของใหม่ หน้าบันประดับด้วยลายปูนปั้นพรรณพฤกษาสีทองบนพื้นกระจกสีน้ำเงิน กลางหน้าบันเป็นรูปเทพพนม บันไดมีสิงห์ปูนปั้นสองตัวตั้งไว้เป็นทวารบาล
 




ภายในประดิษฐานพระประธาน “พระพุทธรูปเมืองราย” รู้จักกันทั่วไปในชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” หล่อด้วยโลหะผสมทองหนัก 5,000 กิโลกรัม ประทับอยู่ในซุ้มโขง ชื่อ “พระเจ้าห้าตื้อ” มาจากน้ำหนักขององค์พระที่หนัก 5 ตื้อ (1 ตื้อ เท่ากับ 1,000 กิโลกรัม) ที่ฐานพระเจ้าห้าตื้อมีจารึกอักษรพม่า ส่วนด้านหลังเป็นอักษรธรรมล้านนา เชื่อกันว่าผู้ใดมาสักการะกราบไว้พระเจ้าห้าตื้อ จะรอดพ้นจากภัยอันตรายต่าง ๆ และมีชัยในสิ่งที่สมหวังทุกประการ ฝาผนังพระวิหารมีภาพจิตรกรรมเรื่องราวจากชาดก
 













ความเดิม

วัดเชียงมั่น - วัดดวงดี




Create Date : 31 ตุลาคม 2564
Last Update : 1 พฤศจิกายน 2564 5:32:27 น. 0 comments
Counter : 1688 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณจอมใจจอมมโน, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณกะว่าก๋า, คุณทนายอ้วน, คุณtoor36, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku, คุณหอมกร, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณKavanich96, คุณRinsa Yoyolive, คุณEmmy Journey พากิน พาเที่ยว, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณlovereason, คุณเจ้าหญิงไอดิน, คุณเนินน้ำ, คุณSertPhoto, คุณเริงฤดีนะ, คุณnewyorknurse, คุณตะลีกีปัส, คุณtuk-tuk@korat, คุณnonnoiGiwGiw, คุณชีริว, คุณจันทราน็อคเทิร์น, คุณผู้ชายในสายลมหนาว


สายหมอกและก้อนเมฆ
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 165 คน [?]




เป็นคุณแม่ของ 1 ลูกสาว และ 1 ลูกชายค่ะ

เป็นแม่บ้านฟูลทาม อาชีพ ขสมก.
(แปลว่า...ขอสามีกิน อ่านเจอที่ไหนไม่รู้ ชอบค่ะ เลยยืมมาใช้หน่อย)

เมื่อไหร่ที่พอจะจัดสรรเวลาได้...
จะไปเที่ยวด้วยกันทั้งครอบครัวเสมอค่ะ...

โลกนี้แสนกว้างใหญ่ มีอะไรให้เราเรียนรู้อีกมากมาย พบเจออะไรดี ๆ ที่พอจะมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ไม่มากก็น้อย เลยเอามาแบ่งปันกัน

ลิขสิทธิ์...เป็นของบุคคลที่อยู่ในภาพ
ขอบคุณค่ะ

Friends' blogs
[Add สายหมอกและก้อนเมฆ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.