อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ

รุ้แล้วอึ้งเลย ! เรื่องจริงต้นกําเนิดยาบ้าในไทย

รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย


ทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ยาเสพติด หรือที่เราเรียกกันบ้านๆว่า ยาบ้า นั้นเป็นสิ่งไม่ดี มีโทษร้ายแรงทั้งผู้ค้าและผู้เสพ ทำร้ายสุุขภาพและคนรอบข้าง ตลอดเวลาที่ผ่านมามักจะมีเหตุการณ์ร้ายๆ เกิดขึ้นจากการเสพยาบ้าอยู่ตลอดเวลา แล้วเรื่องเหล่านี้ก็ดูจะยังไม่หมดไปจากสังคมไทยซะที ดังนั้นคนในสังคม ครอบครัว จะต้องช่วยกันดูแลสอดส่องคนรอบข้างนะคะ วันนี้ทีนเอ็มไทยนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ ต้นกำเนิดยาบ้าในไทย มาฝากเพื่อนๆ กันคะ โดยความจริงแล้วจุดเริ่มต้นนั้นมาจากผู้หญฺงคนหนึ่งที่ชื่อ “กัลยาณี อร่ามเวชอนันต์“ ผู้บุกเบิกยาม้าในขณะนั้น และถึงแม้เธอจะโดนจับขังคุก แต่ความเลวร้ายที่เธอได้เริ่มก่อขึ้นนั้นมันแพร่กระจายเหมือนเชื้อโรคไปยังลูกหลานอีกหลายๆ คนเลยทีเดียว .. รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย

รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย

รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย

ก่อนที่ยาบ้าจะระบาดเหมือนทุกวันนี้ จุดกำเนิดของยาบ้ามาจากผู้หญิงไทยคนหนึ่งส่งลูกไปเรียนวิชาเคมีที่ประเทศไต้หวัน เพื่อกลับมาผลิตยาบ้ารายแรกของเมืองไทย ผู้หญิงคนนี้ปัจจุบันถูกจำคุกอยู่ที่เรือนจำลาดยาว ชื่อของเธอคือ กัลยาณี อร่ามเวชอนันต์ เธอกลายมาเป็นประวัติศาสตร์วงการค้ายาบ้า เมื่อครั้งยังใช้ชื่อว่า “ยาม้า” ชื่อของเธอถูกบันทึกไว้ในฐานะ ผู้ผลิตยาม้ารายแรกของเมืองไทย เธอถูกจับพร้อมสามีและลูกชาย 2 คน ที่เรียนจบด้านเคมีจากไต้หวัน

ที่บ้านหลังหนึ่งในพื้นที่บางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นที่ที่ครอบครัวของเธอเช่าไว้เพื่อผลิตยาม้า เธอถูกจับในเดือนพฤศจิกายน 2530 เพียงไม่กี่วันหลังจากยาม้าถูกประกาศให้เป็นยาต้องห้าม ซึ่งห่อนหน้านั้นยาม้าสามารถนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้กับม้าแข่งได้

รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย

ฟังดูแล้วเหมือนว่าเรื่องทุกอย่างจบได้ด้วยดี แต่! อย่าเพิ่งมโนโลกสวย .. แม้กัลยาณีและครอบครัวจะถูกคุมขัง แต่การผลิตยาม้านั้นไม่ได้หยุดไปด้วย คนงานที่ช่วยผลิตในโรงงานของกัลยาณีได้เรียนรู้สูตรจากลูกชาย 2 คน ของเธอที่เรียนรู้ดด้านวิชาเคมีมา และได้ขยายธุรกิจต่อ บางคนแยกไปทำเอง จนสูตรยาม้าที่กัลยาณีเคยใช้ยี่ห้อว่า “เปาบุ้นจิ้น” ในครั้งแรกนั้นได้ขยายเป็นยี่ห้อต่งๆ มากมาย แหล่งผลิตที่เคยกระจุกตัวอยู่รอบๆ กรุงเทพฯ ถูกตำรวจทลายจนหมด จนต้องกระจายไปสู่ภูมิภาค กระทั่งสุดท้ายประมาณกลางปี 2538 คนงานของกัลยาณีบางคนที่แยกมาผลิตเอง ได้ขยายไปสู่ชายแดนเขตพม่า ด้วยการจ่ายค่าคุ้มครองให้ชนกลุ่มน้อยและทหารพม่าบางกลุ่ม

โรงงานของคนไทยได้เติบโต และขยายมากในพื้นที่พม่า จนในที่สุดชนกลุ่มน้อยที่แตกตัวออกมาจากขุนส่า และกลุ่มว้า เริ่มสนใจธุรกิจม้าจึงทั้งขอและบังคับให้เจ้าของคนไทยยอมบอกสูตรให้ และสุดท้ายธุรกจยาม้าก็ได้ไปตกอยู่ในมือของชนกลุ่มน้อยต่างๆ ของพม่าทั้งหมด

รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย

รู้แล้วอึ้งเลย! เรื่องจริงต้นกำเนิดยาบ้าในไทย

การผลิตและทำการตลาดของชนกลุ่มน้อยใช้ประสบการณ์จากการค้าเฮโลอีนทำให้ยาม้าได้แพร่ระบาดในประเทศไทยอย่างรวดเร็วจนน่าเป็นห่วง ไม่น่าที่จะเชื่อว่าโรงงานผลิตยาม้าที่เกิดขึ้นมากมายในประเทศพม่าบริเวณชายแดนภาคเหนือของประเทศไทย ที่แท้ก็มีต้นกำเนิดมาจากคนไทยเรานี่เอง สถานการณ์การผลิตยาบ้าในพื้นที่ชายอดน ปฏิบัติการของตำรวจภาคเหนือ ทำได้เพียงการตรวจค้นและจับยาม้าที่นำมาซ่อนตามหมู่บ้านคนไทยตามชายแดนเพื่อรอส่งให้ลูกค้าในไทย

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมีข้อมูลระบุว่า หลายครั้งที่พวกนี้นำยาบ้าที่ผลิตแล้วมาซุกซ่อนไว้ที่หมู่บ้านอีก้อ ผาฮี้ อ.แม่สาย มีชาวเขาหลายหลังที่มีพฤติกรรมรวยผิดปกติแต่ผู้ใหญ่บ้านที่นี่ยืนยันว่า รวมเพราะทำไร่กาแฟ เพีงยไม่กี่ปีผู้ผลิตยาบ้าชาวไทยถ่ายทอดสูตรให้กับชนกลุ่มน้อยและชาวเขารวมกันผลิตยาบ้าขึ้นมาอย่างมากมาย พร้อมที่จะทะลักเข้าสู่ประเทศไทยตลอดเวลา ท่าหากเจ้าหน้าที่ปล่อยปะละเลยไม่ใส่ใจอย่างจริงจัง นี่คือเหตุการณ์ที่มียาบ้ามากมายอย่งเช่นทุกวันนี้

เรียบเรียงเขียนโดย teen.mthai.com

ขอบคุณข้อมูล ITV




 

Create Date : 19 กันยายน 2557    
Last Update : 19 กันยายน 2557 8:22:38 น.
Counter : 1396 Pageviews.  

ยาเขืยว ยาไทยที่ใช้ได้ทั้งเด็กและผุ้ใหญ่

ยาเขียวเป็นตำรับยาไทย ตามองค์ความรู้ของแพทย์แผนไทย หรือหมอพื้นบ้าน ที่มีการใช้กันมานานหลายทศวรรษ และเป็นตำรับที่ยังมีการผลิตขายทั่วไปตราบจนปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปในสมัยก่อนจะรู้จักวิธีการใช้ยาเขียวเป็นอย่างดี กล่าวคือ มักใช้ยาเขียวในเด็กที่เป็นไข้ออกผื่น เช่น หัด อีสุกอีใส เพื่อกระทุ้งให้พิษไข้ออกมา เป็นผื่นเพิ่มขึ้น และหายได้เร็ว

          ตำรับยาเขียว มีส่วนประกอบของพืชที่ใช้ส่วนของใบเป็นองค์ประกอบหลัก การที่ใช้ส่วนของใบทำให้ยามีสีค่อนข้างไปทางสีเขียว จึงทำให้เรียกกันว่า ยาเขียว และใบไม้ที่ใช้นี้ส่วนใหญ่ มีสรรพคุณ เป็นยาเย็น หอมเย็น หรือ บางชนิดมีรสขม เมื่อประกอบเป็นตำรับแล้ว จัดเป็นยาเย็น ทำให้ตำรับยาเขียวส่วนใหญ่มีสรรพคุณ ดับความร้อนของเลือดที่เป็นพิษ1 (พิษในที่นี้ มีความหมายแตกต่างจากความเข้าใจในปัจจุบัน คือ ไม่ใช่สารพิษ แต่น่าจะหมายถึง ของเสียที่เกิดขึ้นในเลือดมากกว่าปกติ และร่างกายกำจัดออกไม่หมด อาจจะตรงกับ toxin หรือ oxidative stress ที่เกิดขึ้นในภาวะโรค หรือจากการติดเชื้อบางชนิด--ผู้เขียน) ซึ่งตามความหมายของการแพทย์แผนไทยนั้น หมายถึงการที่เลือดมีพิษและความร้อนสูงมากจนต้องระบายทางผิวหนัง เป็นผลให้ผิวหนังเป็นผื่น หรือ ตุ่ม เช่นที่พบในไข้ออกผื่น หัด อีสุกอีใส เป็นต้น

583.750x0-1

          ตำรับยาเขียวที่พบในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์มีบันทึกไว้ 3 ตำรับ ได้แก่ ยาเขียวมหาพรหม ยาเขียวน้อย ยาเขียวประทานพิษพบว่าใบไม้ที่ใช้ในยาเขียว มีมากมายหลายชนิด ได้แก่ ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ใบพรมมิ ใบสันพร้าหอม ใบบอระเพ็ด ใบชิงช้าชาลี ใบมะระ ใบสะเดา ใบน้ำเต้า ใบหนาด ใบกะเม็ง ใบแคแดง ใบทองหลางใบมน ใบมะเฟือง ใบนมพิจิตร ใบแทงทวย ใบพริกไทย ใบน้ำเต้าขม ใบปีบ ใบย่านาง ใบเท้ายายม่อม ใบหญ้าน้ำดับไฟ ใบระงับ ใบตำลึงตัวผู้ ใบฟักข้าว ใบถั่วแระ ใบระงับพิษ ใบเสนียด ใบอังกาบ ใบสะค้าน ใบดีปลี ใบมะตูม ใบสมี ใบลำพัน ใบสหัศคุณ ใบกระวาน ใบผักเสี้ยนทั้ง ๒ ใบเถาวัลย์เปรียง ใบผักกาด ใบคนทีสอ ใบมะนาว ใบมะคำไก่ ใบมะยม ใบมะเฟือง ใบสลอด ใบขี้หนอน ใบสมี ใบขี้เหล็ก ใบผักเค็ด ใบพุมเรียงทั้ง ๒

          ตำรับยาเขียวหอม ส่วนตำรับยาเขียวหอม (เป็นคนละชนิดกับยาเขียวทั้ง 3 ชนิดข้างต้น) ที่ได้รับการบรรจุในบัญชียาสามัญประจำบ้านแผนโบราณตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2556 ที่บรรจุอยู่ในบัญชียาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ พ.ศ.๒๕๕๖ ประกอบด้วย ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้ ใบหมากเมีย ซึ่งมีรสเย็น แก้ไข้ ตัวยาเย็นอื่นๆที่มิใช่ส่วนของใบ ได้แก่ รากแฝกหอม มหาสดำ ดอกพิกุล สารภี เกสรบัวหลวง ว่านกีบแรด เนระพูสี ตัวยาแก้ไข้ที่มีรสขม ได้แก่ จันทน์แดง พิษนาศน์ เนื่องจากยาไทยเป็นยารักษาโดยองค์รวม ดังนั้นจึงพบตัวยาสรรพคุณอื่นๆได้แก่ ตัวยารสสุขุม เพื่อควบคุมร่างกายมิให้เย็นจนเกินไป ได้แก่ ใบสันพร้าหอม บุนนาค พร้อมกับตัวยาช่วยปรับการทำงานของธาตุลมได้แก่ จันทน์เทศ เปราะหอม ว่านร่อนทอง อย่างไรก็ดี ในสูตรตำรับยาเขียวหอมที่บรรจุในประกาศบัญชียาสามัญประจำบ้านฉบับล่าสุด ได้ตัดไคร้เครือออกจากตำรับ เนื่องจากมีข้อมูลงานวิจัยบ่งชี้ว่าไคร้เครือที่ใช้ และจำหน่ายในท้องตลาด เป็นพืชในสกุล Aristolochia ซึ่งพืชในสกุลนี้มีรายงานพบสาร aristolochic acid ก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และ องค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้พืชสกุลAristolochia เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2002

          การใช้ยาเขียวหอม บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ ควรใช้น้ำกระสายยา เพื่อช่วยละลายตัวยา ทำให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้น เช่น น้ำสุกหรือน้ำดอกมะลิเป็นน้ำกระสาย เพื่อให้ยาออกฤทธิ์แรงขึ้น ด้วยเหตุว่าน้ำดอกมะลิ มีรสหอมเย็น ช่วยเสริมฤทธิ์ของยาตำรับ

1340347160.20110328_20-MAr-11_1

น้ำลอยดอกมะลิ

          ยาเขียวยังใช้เป็นยาแก้ไข้ออกผื่น เช่น หัด อีสุกอีใส ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ทั้งวิธีกินและทา โดยละลายยา ด้วยน้ำรากผักชีต้ม ในปี 2548 มีการศึกษาฤทธิ์ของยาเขียวที่มีในท้องตลาด 3 ชนิด ในการยับยั้งเชื้อไวรัส varicella zoster ที่เป็นสาเหตุของโรคอีสุก อีใส และงูสวัด ซึ่งผลปรากฏว่า ยาเขียวทั้ง 3 ชนิดไม่แสดงฤทธิ์ดังกล่าว1 อันที่จริงการใช้ยาเขียวในโรคไข้ออกผื่นในแผนไทย ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการยับยั้งเชื้อไวรัส แต่ต้องการกระทุ้งพิษที่เกิดขึ้นให้ออกมามากที่สุด ผู้ป่วยจะหายได้เร็วขึ้น ผื่นไม่หลบใน หมายถึงไม่เกิดผื่นภายใน ดังนั้นจึงมีหลายคนที่กินยาเขียวแล้วจะรู้สึกว่ามีผื่นขึ้นมากขึ้นจากเดิม แพทย์แผนไทยจึงแนะนำให้ใช้ทั้งวิธีกินและชโลม โดยการกินจะช่วยกระทุ้งพิษภายในให้ออกมาที่ผิวหนัง และการชโลมจะช่วยลดความร้อนที่ผิวหนัง ถ้าจะเปรียบเทียบกับหลักการแพทย์แผนปัจจุบัน น่าจะเป็นไปได้ที่ยาเขียวอาจออกฤทธิ์โดยลดการอักเสบ หรือ เพิ่มภูมิคุ้มกัน หรือต้านออกซิเดชัน แต่อย่างไรก็ดี ยังไม่มีงานวิจัยใดๆสนับสนุน อีกทั้งยังไม่มีการเก็บข้อมูลการใช้ยาเขียวในผู้ป่วยไข้ออกผื่น หรืออาการไข้ธรรมดา แต่การที่มีการใช้ตั้งแต่โบราณ น่าจะเป็นคำตอบได้ระดับหนึ่งว่า การใช้ยาเขียวน่าจะบรรเทาอาการไข้ออกผื่นได้ไม่มากก็น้อย แม้จะมีความรู้ที่ว่าไข้ออกผื่นที่เกิดจากไวรัสสามารถหายได้เอง ความทรมาณที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่เป็นซึ่งอาจบรรเทาได้ด้วยยาเขียวก็เป็นที่น่าสนใจศึกษาพิสูจน์ฤทธิ์ต่อไป อนึ่ง ยาเขียวหอมเป็นตำรับที่บรรจุอยู่ในบัญชียาสามัญประจำบ้าน และบัญชียาสมุนไพรที่เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติ น่าจะเป็นคำตอบได้ว่า ยาเขียวเป็นยาที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน เป็นที่ยอมรับ แม้ยังมีการวิจัยไม่มาก การใช้สืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเรา ซึ่งอาจจะยาวนานกว่าสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็น่าจะไว้วางใจในความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง และหากเรานำมาใช้อย่างผสมผสานกับการแพทย์แผนปัจจุบันโดยพิจารณาจากคนไข้ จะทำให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ มากกว่าการหวังพึ่งการแพทย์เพียงแผนใดแผนหนึ่งเพียงอย่างเดียว

          เนื่องจากตำรับมีองค์ประกอบเป็นดอกไม้ 4 ชนิด ได้แก่ พิกุล บุนนาค สารภี เกสรบัวหลวง ซึ่งมีละอองเรณูผสมอยู่ ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงในผู้ที่มีประวัติการแพ้ละอองเกสรดอกไม้

DSCF9258_1 blog-42233-e78d7182589c3eaff238ff9ce251f7d7

                                                           ดอกบุนนาค                                                     ดอกพิกุล

OLYMPUS DIGITAL CAMERAJ4153077-37

                                                        เกสรดอกบัวหลวง                                                 ดอกสารภี

          นอกจากนี้ยังไม่เคยมีรายงานความปลอดภัยในกลุ่มคนไข้เลือดออก อีกทั้งสมุนไพรส่วนหนึ่งมักมีรายงานการยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด หรือละลายลิ่มเลือด เช่น พรมมิ2 เพื่อความปลอดภัยจึงไม่ควรใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการ

          สรุปได้ว่า ยาเขียวเป็นยาที่ใช้กันมานาน และเป็นมรดกทางการแพทย์แผนไทยที่ควรสืบทอด พร้อมกับศึกษาทางคลินิก หรือการรวบรวมข้อมูลการใช้อย่างต่อเนื่อง เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ต่อไป

ยาเขียวหอม3

ในผงยา 90 กรัม ประกอบด้วย ใบพิมเสน ใบผักกระโฉม ใบหมากผู้หมากเมีย ใบสันพร้าหอม รากแฝกหอม หัวเปราะหอม แก่นจันทน์เทศหรือแก่นจันทน์ชะมด แก่นจันทน์แดง ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง เนระพูสี พิษนาศน์ มหาสดำ ดอกพิกุล ดอกบุนนาค ดอกสารภี เกสรบัวหลวง หนักสิ่งละ 5 กรัม

ข้อบ่งใช้

บรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ

แก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส (บรรเทาอาการไข้จากหัดและอีสุกอีใส)

ขนาดและวิธีใช้  ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 กรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ  เด็ก อายุ 6 – 12 ปี ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ละลายน้ำกระสายยา ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ

น้ำกระสายยาที่ใช้

กรณีบรรเทาอาการไข้ ร้อนในกระหายน้ำ ใช้น้ำสุก หรือน้ำดอกมะลิ เป็นน้ำกระสายยา

กรณีแก้พิษหัด พิษอีสุกอีใส ละลายน้ำรากผักชีต้ม เป็นน้ำกระสายยาทั้งรับประทาน และชโลม

หมายเหตุ การชโลมใช้ยาผงละลายน้ำ 1 ต่อ 3 แล้วชโลม (ประพรม) ทั่วตามตัวบริเวณที่ตุ่มใสยังไม่แตก

ชนิดเม็ด

ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1 กรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ

เด็ก อายุ 6 - 12 ปี รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง เมื่อมีอาการ

ข้อควรระวัง

ควรระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่แพ้ละอองเกสรดอกไม้

ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากอาจบดบังอาการของไข้เลือดออก

หากใช้ยาเป็นเวลานานเกิน ๓ วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

ข้อมูลเพิ่มเติม ทางการแพทย์แผนไทย แนะนำให้ผู้ป่วยหัด อีสุกอีใส ห้ามรับประทานอาหารทะเล ไข่ และน้ำเย็น เนื่องจากผิดสำแดง


เอกสารอ้างอิง

1. ผศ.ดร. ดลฤดี สงวนเสริมศรี, ผศ.ดร. เดือนถนอม พรหมขัติแก้ว มหาวิทยาลัยมหาสารคาม . ฤทธิ์การต้านเชื้อไวรัส varicella zoster ของตำรับยาเขียว (Anti-varicella zoster virus of Ya-keaw remedies). โครงการวิจัยภายใต้ทุนสนับสนุนของ สกว.

2. Sweta Prasad, Rajpal S Kashyap, Jayant Y Deopujari, Hemant J Purohit, Girdhar M Taori and Hatim F Daginawala. Effect of Fagonia Arabica (Dhamasa) on in vitro thrombolysis. BMC Complementary and Alternative Medicine 2007, 7:36 doi:10.1186/1472-6882-7-36.

3. บัญชียาจากสมุนไพร ใน ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2554




 

Create Date : 19 กันยายน 2557    
Last Update : 19 กันยายน 2557 8:18:01 น.
Counter : 4058 Pageviews.  

5 วิธี กินมื้อเย็น ไม่ให้อ้วน!!

การอดอาหาร คือ การลดน้ำหนักแบบผิดๆ แต่ มื้อเย็น เป็นมื้อที่สาวๆ กลัวอ้วนกันที่สุด แต่วันนี้เรามีเทคนิคการกิน มื้อเย็น มาฝากค่ะ

มีประโยคหนึ่งกล่าวไว้ว่า “เช้าทานอย่างราชา กลางวันทานอย่างคนธรรมดา เย็นทานอย่างยาจก” นั่นก็เพราะว่าเราต้องให้ความสำคัญกับอาหารมื้อเช้ามากเป็นพิเศษ ส่วนอาหารเย็นนั้นควรรับประทานแต่พอดี ไม่หนักมากนัก ไม่ อยากถ้าอยากทานน้ำหนัก แต่ต้องทำตามถูกต้อง ให้ถูกกฏด้วยค่ะ ดังนั้นเราไม่ควรที่จะอดอาหารข้ามมื้ออาหารไป ลองหันมาทาน มื้อเย็น เพื่อสุขภาพกันดูค่ะ

131611750

และเป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการการพักผ่อนแล้วนั่นเอง ครั้งนี้เรามาทำความเข้าใจถึงความจำเป็นของอาหารเย็นต่อร่างกายว่ามีมากน้อย เพียงใด และหลักที่ถูกต้องในการทานอาหารเย็นว่าเราจะทานอย่างไรให้มีสุขภาพที่ดีไป นาน ๆ

1. ไม่ควรงดอาหาร มื้อเย็น

สาวๆ หลายท่านชอบลดน้ำหนักด้วยวิธีการงดอาหารเย็น ซึ่งไม่ควรค่ะ นอกจากจะหิวแล้ว ยังไม่ทำให้น้ำหนักลดเท่าไรค่ะ เนื่องจากเมื่อถึงเวลาอาหาร โดยปกติร่างกายจะหลั่งกรดออกมาเพื่อทำการย่อยอาหาร ดังนั้น เมื่อไม่มีอาหารในกระเพาะ น้ำย่อยก็จะมาย่อยกระเพาะแทน เราจึงควรลดมากกว่างด เลือกทานอาหารเบา ๆ หรืออาหารที่ให้พลังงานน้อยที่สุด อย่างเช่น เน้นผักและผลไม้ ส่วนเนื้อสัตว์ติดไขมัน ของมัน ๆ ทอด ๆ ควรงดจะดีกว่านะคะและเวลาที่ควรทานคือหกโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม ไม่ควรทานดึกกว่านี้

2. หลังทานอาหารเย็นไม่ควรออกกำลังกายต่อทันที

บาง ท่านกลัวอ้วน หลังทานอาหารเย็นจึงออกกำลังกายทันที ความจริงแล้วเป็นเรื่องที่ไม่ควรนัก ถ้าเราทานอาหารภายในเวลา 1-2 ช.ม. แล้วไปออกกำลังกายทันที อาจทำให้เราเกิดอาการจุกได้ ถ้าเป็นไปได้ควรเดินเรื่อย ๆ ไม่ต้องเร่ง เพราะเวลาเราเดินลำไส้จะมีการขยับตัว อาหารก็จะย่อยง่ายและยังเป็นการใช้พลังงานไปในตัวอีกด้วย เป็นแนวทางที่ดีในการปฏิบัติจะได้ไม่อ้วนนะคะ…ส่วนสาว ๆ ที่ต้องการออกกำลังกายหลังเลิกงาน เป็นต้นว่าไปเข้าฟิตเนส จะมีหลักการทาน มื้อเย็น อย่างไร ความจริงแล้วถ้าคิดจะออกกำลังกายในช่วงเย็น พอเลิกงานควรทานอาหารเบาๆ อาหารที่ย่อยง่าย เคี้ยวให้ละเอียด เว้นประมาณ 1-2 ช.ม. ก่อนการออกกำลังกาย งดอาหารย่อยยาก เช่น ของมัน ของทอด อาหารที่มีกะทิเหล่านี้จะย่อยยาก

3. หลังอาหารเย็นไม่ควรอาบน้ำในทันที

เพราะ เมื่อเราทานอาหาร ขณะที่อาหารกำลังย่อย กระเพาะต้องทำงาน เลือดต้องถูกไปหล่อเลี้ยงกระเพาะเพื่อช่วยในการย่อย ถ้าเราไปอาบน้ำทันทีหลังอาหาร ซึ่งโดยปกติแล้วมนุษย์เป็นสัตว์เลือดอุ่น เมื่อร่างกายโดนน้ำเย็น ๆ ก็จะทำให้เลือดจำเป็นต้องมาที่บริเวณผิวหนัง เพื่อทำให้ร่างกายอบอุ่น ดังนั้นแล้วเลือดจึงถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแน่นอนว่า มันต้องถูกแบ่งมาที่ผิวหนังก่อนเป็นอันดับแรก ทำให้เลือดส่งไปที่กระเพาะได้น้อย สิ่งที่เกิดขึ้นคือระบบการย่อยทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ท้องจะอืด แน่นท้อง จุก จึงควรเว้นอย่างน้อยที่สุด 30 นาที และทางที่ดีที่สุดต้องประมาณ 1 ชม. สำหรับอาหารที่ย่อยง่าย และ 2 ช.ม. ถ้าเรารับประทานอาหารที่ย่อยยาก

4. หากสาวๆ ต้องการลดความอ้วนด้วยให้ทานผักหรือผลไม้ใน มื้อเย็น

ผู้ ที่ต้องการลดน้ำหนัก มื้อเย็น อาจทานเป็นผักผลไม้ และจะต้องไม่เลือกผลไม้ที่เป็นกรด เพราะขณะท้องว่างร่างกายจะมีกรดมากอยู่แล้ว และเลี่ยงการทานผักหรือผลไม้ดิบขณะท้องว่าง เพราะจะทำให้ท้องอืดได้ แนะนำว่าให้ทานผักสุก เช่น การลวก การต้ม แกงจืด หรือยำที่รสชาติไม่จัดมาก เช่น ยำแตงกวา ยำวุ้นเส้น ที่ไม่เผ็ดหรือ เปรี้ยวเกินไป

5. อาหาร มื้อเย็น ที่ควรหลีกเลี่ยง

ได้แก่ อาหารที่ย่อยยาก เช่น ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ถ้าต้องทานควรทานในปริมาณเล็กน้อย อาหารที่เป็นกรดมาก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะกรดย้อนหลอดอาหารได้ สำหรับวัยผู้ใหญ่ แนะนำว่าอาหาร มื้อเย็น ควรเป็นอาหารย่อยง่าย มีโปรตีนสูง มีคาร์โบไฮเดรตบ้าง แต่ไม่ต้องมาก เช่น ข้าว ข้าวซ้อมมือ (จะทำให้อยู่ท้องกว่า) ผักลวก ผักต้ม และต้องคำนึงถึงสารอาหารที่ครบทั้ง 5 หมู่ด้วยนะคะ

อย่าคิดว่าอาหาร มื้อเย็น ไม่สำคัญนะคะ ควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับการเลือกทาน มื้อเย็น ให้มาก แต่ต้องทานแค่พอเหมาะไม่ทานจุเกินไป เพราะนอกจากจะทำให้อ้วนแล้วยังมีอีกหลายโรคตามมาจากการทานอาหาร มื้อเย็น ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือด ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ นอกจากนี้แล้วยังส่งผลถึงคุณภาพการนอนอีกด้วย

สุดท้ายนี้ อย่าลืมว่าตอนกลางคืนเราแทบจะไม่ได้ใช้พลังงานเลย อดก็เป็นโรค ทานมากเกินไปก็เป็นโรค ควรทานให้พอเหมาะพอดีนะคะ ดังคำกล่าวที่ว่า “อโรคยา ปรมา ลาภา” ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ

ขอบคุณที่มาจาก : //www.emaginfo.com




 

Create Date : 18 กันยายน 2557    
Last Update : 18 กันยายน 2557 10:23:15 น.
Counter : 1403 Pageviews.  

ก่อนสอบ คะแนนสูง ควรดีใจหรือไม่?

บทสนทนาต่อไปนี้ ขอใช้นามสมมติแทนครูผู้นำเสนองานวิจัย ส่วนวิทยากรผู้พิจารณาให้คำแนะนำคือ ดร.ไพจิตร สดวกการ  


วิทยากรฯ: ทำไมคุณครูจึงเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียนล่ะคะ วิธีเดิมที่คุณครูใช้อยู่นักเรียนเรียนแล้วได้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่สูงกว่าก่อนเรียนหรือคะ ?

ผู้นำเสนอฯ ก: คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่เรียนเรื่องนี้ที่ดิฉันสอนในปีที่ผ่านมาค่อนข้างต่ำค่ะ คิดเป็นร้อยละ 56.2 เท่านั้น ต่ำกว่าเกณฑ์คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่โรงเรียนกำหนดไว้ค่ะ

วิทยากรฯ: โรงเรียนของคุณครูกำหนดเกณฑ์ไว้เท่าไรคะ ?

ผู้นำเสนอฯ ก: ร้อยละ 60 ค่ะ ดิฉันหวังว่ากระบวนการใหม่ที่นำมาใช้ จะสามารถทำให้นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยถึงหรือสูงกว่าร้อยละ 60 ค่ะ

วิทยากรฯ: อ้าว! แล้วคุณครูไปเทียบกับก่อนเรียนทำไมล่ะคะ สมมติว่าก่อนเรียนนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 25 เพราะยังไม่ได้เรียน แต่เดาถูกบ้างถ้าเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ถ้าหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 45 แสดงว่ากระบวนการใหม่นี้ดีกว่าวิธีเดิมที่คุณครูเคยใช้หรือคะ

ผู้นำเสนอฯ ก: ไม่ใช่ค่ะ เพราะวิธีเดิมได้ถึงร้อยละ 56.2 แต่ดิฉันต้องการให้ได้ถึงหรือสูงกว่าร้อยละ 60 ค่ะ ดิฉันต้องเปรียบเทียบกับร้อยละ 60 หรือคะ

วิทยากรฯ: ถูกต้องค่ะ คุณครูต้องกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็น เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียน................................โดยใช้กระบวนการ..............................กับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม จึงจะตรงกับปัญหาที่คุณครูต้องการจะแก้

ผู้นำเสนอฯ ข: แต่ที่โรงเรียนของดิฉันไม่ได้กำหนดเกณฑ์คุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไว้ค่ะ ถ้าไม่เทียบกับก่อนเรียนแล้วจะไปเทียบกับอะไรคะ

วิทยากรฯ: อาจจะใช้เกณฑ์ของกลุ่มโรงเรียน ของเขตพื้นที่การศึกษา หรือถ้าหากการสอนโดยวิธีเดิมนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนด จะช้เกณฑ์การผ่านที่กำหนดไว้ในหลักสูตรก็ได้ หรือต้องการพัฒนาให้ได้ผลสูงขึ้นกว่าการใช้วิธีเดิม ก็นำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยวิธีเดิมมาเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบก็ได้ 

ส่วนคุณครูที่ผลิตสื่อแบบที่ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เช่น บทเรียน CAI บทเรียนสำเร็จรูป หรือชุดการสอน ซึ่งมีการหาประสิทธิภาพของสื่อและพัฒนาจนได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 แล้ว เมื่อนำมาใช้กับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ทำไมจึงลดคุณค่าของสื่อโดยนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนจากสื่อไปเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนล่ะคะ ถ้ามั่นใจว่าสื่อมีประสิทธิภาพตามนั้นจริง สามารถนำคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนของกลุ่มเป้าหมายไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มได้เลย แต่ถ้าไม่มั่นใจว่ากลุ่มเป้าหมายจะมีคุณภาพเทียบเท่ากับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหาประสิทธิภาพของสื่อหรือไม่ ก็อาจจะลดเกณฑ์ลงได้บ้างตามสภาพของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม เป็นต้น

ผู้นำเสนอฯ ค: ที่จริงพวกดิฉันก็รู้สึกถึงความไม่สมเหตุสมผลนะคะที่นำคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนจากวิธีดีๆ ที่เราอุตส่าห์พัฒนาขึ้นไปเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเพื่อแสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าใช้วิธีเดิม แต่พวกเราไม่มีความมั่นใจในความรู้สึกนึกคิดของตนเอง จึงได้แต่ทำตามๆ กันมาค่ะ อีกอย่างก็คือพวกเรารู้จักแต่สูตร t-test ที่ใช้เปรียบเทียบก่อนเรียนหลังเรียนเท่านั้น

วิทยากรฯ: t-test คือสถิติอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติจากกลุ่มตัวอย่างไปสู่ประชากร ในกรณีที่กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเป็นนักเรียนจำนวนมาก เช่น คุณครูอยากทราบว่าวิธีใหม่ที่คุณครูต้องการนำมาใช้แก้ปัญหาจะใช้กับนักเรียนชั้น ป. 5 ทั้ง 200 คนในโรงเรียนที่คุณครูสอนอยู่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าใช้วิธีเดิมหรือไม่ นั่นคือ กลุ่มเป้าหมายมีถึง 200 คน แต่คุณครูทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ป. 5 เพียงห้องเดียวจำนวน 40 คนที่มีระดับความสามารถคละกันซึ่งใช้เป็นตัวแทนของนักเรียนชั้น ป. 5 ทั้งหมดได้ ในกรณีนี้เรียกนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย 200 คนว่า “ประชากร” และเรียกนักเรียนจำนวน 40 คนในห้องที่คุณครูใช้ทดลองสอนว่า “กลุ่มตัวอย่าง” 

สมมติว่าวิธีเดิมที่คุณครูเคยใช้นั้น นักเรียนเรียนแล้วได้คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ถึงร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม แต่คุณครูต้องการให้ได้ถึงหรือสูงกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม คุณครูก็ตั้งเกณฑ์ไว้ที่ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม เมื่อทดลองใช้วิธีใหม่ สมมติว่าได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 63.25 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 60) ที่ตั้งไว้ ต้องทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติว่าถ้านำไปใช้กับนักเรียนชั้น ป. 5 ทั้ง 200 คน จะได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยใช้สูตร t-test แบบกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ (สูตรนี้มีในหนังสือสถิติเพื่อการวิจัย เช่น ของอาจารย์ชูศรี วงศ์รัตนะ หรือที่เว็บไซต์บ้านครูไผ่ //www.krupai.net ค่ะ

แต่ในกรณีที่คุณครูระบุว่า กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยเป็นนักเรียนจำนวน 40 คน ในห้องที่คุณครูทดลองใช้วิธีใหม่ หมายความว่าคุณครูไม่สนใจว่าวิธีดังกล่าวจะใช้กับนักเรียนห้องอื่นได้ผลดีด้วยหรือไม่ คุณครูก็ไม่ต้องทำการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติเพื่อสรุปผลที่ได้ไปสู่ใครที่ไหนอีก ถ้านักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 40 คนเรียนโดยใช้วิธีใหม่แล้ว ได้คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 63.25 ของคะแนนเต็มซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 60) ที่ตั้งไว้ ก็สรุปผลการวิจัยได้เลยว่า การนำวิธีใหม่มาใช้แก้ปัญหากับนักเรียนห้องที่คุณครูสอนอยู่ได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่คุณครูตั้งไว้ ไม่ต้องทำ t-test ค่ะ

ผู้นำเสนอฯ ง: แล้วมีกรณีไหนบ้างคะที่เหมาะจะเปรียบเทียบผลหลังเรียนกับก่อนเรียน

วิทยากรฯ: การเปรียบเทียบผลหลังเรียนกับก่อนเรียนเหมาะสำหรับใช้กับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนรู้ได้ตามปกติ คือใช้วิธีเดิมแล้วผลหลังเรียนไม่สูงกว่าก่อนเรียน หรือใช้กับตัวแปรที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงยาก แม้ว่านักเรียนปกติจะสามารถเรียนรู้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก็ตาม แต่ตัวแปรบางอย่าง เช่น เจตคติ พฤติกรรม ลักษณะนิสัย ทักษะบางอย่าง หรือความสามารถทางการคิดระดับสูง อาจจะยังไม่เปลี่ยน ดังนั้น ถ้าใช้วิธีใดแล้วสามารถทำให้ตัวแปรที่เปลี่ยนยากเหล่านี้ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนได้ ย่อมเป็นที่ยอมรับได้ว่าวิธีนั้นๆ มีประสิทธิภาพ น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ต้องวัดได้ตรง เช่น การวัดพฤติกรรม ต้องวัดด้วยการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอหลายๆ ครั้งในระยะเวลาที่นานพอสมควร การวัดความสามารถทางการคิดระดับสูง ต้องวัดด้วยข้อสอบที่นักเรียนไม่เคยเห็น ไม่เคยฝึกมาก่อนในระหว่างเรียน เป็นต้น




 

Create Date : 18 กันยายน 2557    
Last Update : 18 กันยายน 2557 10:20:10 น.
Counter : 1119 Pageviews.  

กินอย่างไรเมื่อมีโรคกระเพราะ

แต่ก่อนนี้ถ้าใครเป็น โรคกระเพาะ ถือว่าโชคร้ายเพราะเป็นแล้วรักษาหายยาก แต่เมื่อรู้สาเหตุที่แท้จริงแล้ว โรคกระเพาะ รักษาไม่ยาก และปัจจุบันโรคกระเพาะสามารถรักษาให้หายได้ภายในเวลา  2-4 สัปดาห์ด้วยยาปฎิชีวนะและยาลดกรดเป็นหลัก

160621907

สาเหตุของ โรคกระเพาะ

ก่อนนี้ความเครียด กินอาหารผิดเวลาอยู่เป็นนิจ และอาหารรสเผ็ดจัดจะถูกจัดเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะ แต่ปัจจุบันวงการแพทย์ปะจักษ์กันดีกว่าตัวสาเหตุที่แท้จริงคือเชื้อแบคทีเรีย ที่มีลักษณะเหมือนเกลียวจุกคอร์ก ชื่อว่าเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร  เรียกย่อๆว่าเอช.ไพโลไร (H.pylori)เป็นตัวที่ทำให้กระเพาะเป็นแผลอักเสบ

นอกจากเชื้อแบคทีเรียที่ว่ายังมีสาเหตุรองอื่นๆของโรคกระเพาะ คือการใช้ยาแก้ปวดประเภทแอสไพริน หรือยาประเภทสเตียรอยด์ซึ่งใช้รักษาโรคข้ออักเสบหรือยาประเภทต้านการอักเสบเรียกย่อๆว่า “เอ็นเสดส์” (NSAIDS) = Nonsteroidal anti-imflamatory) การใช้ยานี้เสมอๆอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะในคนที่ติดเชื้อเอช.ไพโลไรได้ นอกจากนี้ผู้ที่สูบบุหรี่จัดก็จะเพิ่มความเสี่ยงโรคกระเพาะ เพราะสารนิโคตินในบุหรี่เพิ่มปริมาณกรดและความเข้มข้นของกรดในกระเพาะ และในคนที่เป็นโรคอยู่แล้ว แต่ไม่ยอมเลิกบุหรี่ก็จะทำให้การรักษาได้ผลน้อย

โภชนบำบัดสำหรับ โรคกระเพาะ

สมัยก่อนเมื่อยังไม่ทราบสาเหตุของโรคกระเพาะ อาหารที่ใช้รักษาโรคกระเพาะคือ ซิปปี้ไดเอ็ท (Sippy diet) ซึ่งใช้นมและอาหารประเภทครีมเป็นหลัก ซึ่งแพทย์สมัยนั้นเชื่อว่าจะช่วยเคลือบแผลในกระเพาะหรือลำไส้ แต่ปัจจุบันพบว่าอาหารดังกล่าวกลับทำให้อาการโรคกระเพาะแย่ลง เนื่องจากแคลเซียมในนมกระตุ้นการหลั่งของกรดทำให้แผลในกระเพาะหายช้าเข้าไปอีก

ปัจจุบันอาหารไม่ใช่ปัจจัยหลักที่จะช่วยรักษาโรคกระเพาะ แต่จะใช้ยาเป็นหลัก อาหารจะเป็นปัจจัยเสริมที่ใช้รักษาร่วมกับยาเพื่อลดอาการ

หลักโภชนบำบัดในปัจจุบัน คือ การกินอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่อย่างสมดุล เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เพื่อช่วยรักษาเนื้อเยื่อแผลในกระเพาะให้หายเร็วขึ้น และเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการหลั่งของกรดมากเกินไป มีปัจจัยหลายประการที่เกี่ยวข้องกับนิสัยการบริโภคที่ผู้มีปัญหาโรคกระเพาะต้องปรับเปลี่ยนดังนี้

  • กินอาหาร เป็นเวลา กินน้อยๆวันละ4 ถึง 5 มื้อไม่กินจุบจิบโดยเฉพาะก่อนนอน เพราะทุกครั้งที่อาหารตกถึงท้องจะกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะ
  • ปริมาณอาหาร ไม่กินอิ่มมากเกินไป มิฉะนั้นจะมีกรดหลั่งออกมามากเกินควร
  • เลี่ยงการดื่มนมบ่อยๆ นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาการย่อยน้ำตาลในนม (แลคโตส) อาจเกิดอาการท้องอืด มีแกส ปวดท้อง ท้องเสียได้เพราะระบบย่อยขาดเอ็นไซม์แลคเตสซึ่งใช้ย่อยน้ำตาลนม
  • ระวังการใช้เครื่องเทศรสเผ็ดจัด เช่น พริกต่างๆ กินเท่าที่ระบบย่อยของตัวเองจะรับได้โดยไม่เกิดอาการ ตัวคุณเองเท่านั้นที่จะบอกได้
  • กินอาหารที่มีกากใยสูง เช่นผัก ผลไม้ และธัญพืช โดยเฉพาะใยอาหารประเภทละลายน้ำ เช่น กล้วย มะละกอ แอปเปิล ซึ่งมีใยอาหารชนิดเพคตินมาก ช่วยป้องกันโรคกระเพาะและมะเร็งในกระเพาะอาหาร  นักวิจัยพบว่าในกล้วยมีสารชนิดหนึ่งซึ่งช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลในกระเพาะอาหารทำให้กระเพาะแข็งแรงขึ้น ทนต่อกรดได้ดี
  • กินผักใบเขียวจัดให้มากขึ้น เนื่องจากผักใบเขียวจัดมีวิตามินเคสูง ช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วขึ้น ป้องกันเลือดออกในกระเพาะ ช่วยเพิ่มการดูดซึมสารอาหาร มีข้อมูลรายงานว่าผู้ที่มีโรคกระเพาะมักพบการขาดวิตามินเค ผักสีเขียวจัดบางชนิดเช่นบร็อคโคลี มีสารซัลโฟราเฟน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะอ่อนๆ นักวิจัยพบว่าสารสะกัดซัลโฟราเฟน ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้อเอช.ไพโลไร และอาจป้องกันมะเร็งได้
  • ผักผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีนสูง เช่น แครอท ฟักทอง ผักใบเขียวจัด แคนตาลูป ช่วยป้องกันเยื่อบุกระเพาะและลำไส้ เร่งให้แผลหายเร็วขึ้น การกินผักผลไม้ยังช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ซึ่งช่วยให้แผลในกระเพาะหายเร็วและป้องกันการติดเชื้อ
  • เลี่ยงกาแฟ รวมทั้งชนิดไม่มีคาเฟอีน เนื่องจากกาแฟกระตุ้นการหลั่งกรดและอาจทำให้อาหารไม่ย่อย  ชาอาจจะพอรับได้สำหรับบางคนแต่ก็ยังมีส่วนกระตุ้นการหลั่งกรดอยู่ดี แม้จะน้อยกว่ากาแฟก็ตาม
  • เลี่ยงน้ำส้มน้ำมะนาวถ้าทำให้ไม่สบายท้อง เนื่องจากกรดไหลย้อนกลับทางทำให้เกิดอาการแสบร้อนในลิ้นปี่
  • เลี่ยงอาหารทอด อาหารเค็มและน้ำอัดลม
  • เลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่ร้อนจัด ซึ่งอาจกระตุ้นให้เกิดอาการ ทำให้ไม่สบายท้องได้
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเบียร์และไวน์เพราะจะทำให้กระเพาะหลั่งกรดได้มากขึ้น
  • งดบุหรี่
  • เคี้ยวช้าๆในเวลากินไม่เร่งรีบ
  • ควรสังเกตตัวเองว่าอาหารชนิดใดที่ก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อย เพราะการตอบสนองต่ออาหารในแต่ละคนไม่เหมือนกัน แม้แต่อาหารชนิดเดียวกันถ้ากินคนละเวลาร่างกายก็จะตอบสนองต่างกัน
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ถึงแม้ความเครียดจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ แต่อาจเป็นปัจจัยร่วมที่ทำให้อาการโรคกระเพาะเลวร้ายลงไปอีก โดยทำให้หายช้า166220023

ข้อควรระวัง ไม่ควรใช้ยาลดกรดมากเกินควร เนื่องจากกรดในกระเพาะจะช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหารเช่นเพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็ก แคลเซียม วิดามินบี 12 ลดการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะ แบคทีเรียในอาหารเมื่อตกถึงกระเพาะจะถูกกรดทำลาย จึงช่วยป้องกันแบคทีเรียที่ก่อสารเกิดมะเร็ง การใช้ยาลดกรดมากจึงไม่ดีต่อระบบย่อย

สรุปแล้ว หลักใหญ่ก็คือการมีโภชนาการดี กินอาหารให้หลากหลาย เป็นเวลาสม่ำเสมอ ไม่เร่งรีบในการกิน ระวังอาหารที่กระตุ้นการหลั่งกรดมากเกินควร อย่าทำตัวเป็นคนช่างเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินยาตามแพทย์สั่งโรคกระเพาะก็จะหายได้

ตัวอย่างเมนูอาหารโรคกระเพาะ

  • เช้า         น้ำแอ๊ปเปิ้ล 180 ซีซี/ขนมปังโฮวีท 2 แผ่น/เนยเทียม 2 ช้อนชา/แยม 1 ช้อนโต๊ะ/นมถั่วเหลือง/ชาเขียว
  • ว่างเช้า     แอ๊ปเปิ้ล 1 ผลเล็ก/ขนมปังกรอบจืด 4 แผ่นเล็ก/นมขาดไขมัน 120 ซี.ซี.
  • เที่ยง       ซุปบร็อคโคลี 1 ถ้วยเล็ก/ข้าวโพดต้ม 1/2 ถ้วยตวง/ข้าวสวย 1-2 ทัพพี/ปลาซาบะย่าง (ชิ้นขนาดกล่องไพ่)/กะหล่ำ/
    แครอทต้มสุก 1/2 ถ้วยตวง/แตงโม/น้ำ
  • ว่างบ่าย    กล้วยหอม 1 ผลเล็ก  ไอศครีมโยเกิร์ตไขมันต่ำ 1 สกูป
  • เย็น         สลัดผัก 1 ถ้วยตวง + น้ำสลัดไขมันต่ำ/เนื้ออกไก่อบ 1/2 อก/ข้าวซ้อมมือ 1/2 ถ้วยตวง คลุกเนยเทียม 1 ช้อนชา/
    ขนมปังดินเนอร์โรล 1 ชิ้น/หน่อไม้ฝรั่งลวก 1/2 ถ้วยตวง/แคนตาลูป 1/4ลูก/น้ำ

ขอบคุณที่มาจาก : นิตยสาร Health&Cuisine พฤษภาคม, Issue 28




 

Create Date : 17 กันยายน 2557    
Last Update : 17 กันยายน 2557 9:58:11 น.
Counter : 1249 Pageviews.  

1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  38  39  40  41  42  43  44  45  46  47  48  49  50  51  52  53  54  55  56  57  58  59  60  61  62  63  64  65  66  67  68  

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.