อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ลิ้นบอกโรค?/

ลิ้นบอกโรค การอ่านลิ้นของแพทย์แผนจีน เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยด้วยการดู สังเกตการเปลี่ยนแปลงของลักษณะลิ้นและฝ้าบนลิ้น เป็นส่วนสำคัญในการตรวจโรคของแพทย์แผนจีน โดยศาสตร์การแพทย์แผนจีนได้กล่าวไว้ว่า เส้นลมปราณของอวัยวะภายในร่างกายล้วนแล้วเดินผ่านบริเวณลิ้นกันทั้งสิ้น ด้วยเหตุนี้ลิ้นจึงสะท้อนถึงสภาวะภายในร่างกายได้เป็นอย่างดี จากการดูลิ้นสามารถรู้ได้ถึงความสมดุลภายในร่างกาย ซึ่งแพทย์แผนจีนมองว่า ลิ้นเปรียบเสมือนกระจกเงาสะท้อนถึงภาวะสมดุลและไม่สมดุลในร่างกาย ว่าในร่างกายมีสิ่งใดผิดปกติอย่างไร โดยลักษณะของตัวลิ้นสามารถสะท้อนถึงอวัยวะภายในทั้งห้า(ปอด หัวใจ ม้าม ตับ ไต) ฝ้าบนลิ้นสามารถสะท้อนถึงอวัยวะกลวงทั้งหก(กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ ถุงน้ำดี และซานเจียว)

ลิ้น1

ความสัมพันธ์ระหว่างลิ้นกับอวัยวะภายในมีดังนี้

  • ปลายลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของหัวใจ และปอด เช่นปลายลิ้นแดงเป็นแผล แสดงว่าหัวใจมีความร้อนมาก
  • กลางลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของม้ามและกระเพาะอาหาร ถ้าลิ้นมีฝ้าหนา โดยเฉพาะบริเวณกลางลิ้น แสดงว่าระบบย่อยอาหารไม่ดี เกิดความชื้น หรือมีเสมหะสะสมอยู่ในร่างกาย
  • โคนลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของไต ถ้าฝ้าที่โคนลิ้นลอกออกจนเห็นผิวลิ้น แสดงว่าไตหยินพร่อง
  • ด้านข้างขอบลิ้น — บ่งบอกถึงความผิดปกติของตับและถุงน้ำดี เช่นด้านข้างขอบลิ้นมีจุดม่วงคล้ำ แสดงว่าลมปราณ(ชี่)ที่ตับติดขัด เลือดไหลเวียนไม่ดีการอ่านลิ้น ประกอบด้วยการดูสีลิ้น รูปร่างลักษณะของลิ้น การเคลื่อนไหวของลิ้น ลักษณะและสีของฝ้าบนลิ้น

การดูสีลิ้น โดยทั่วไปแบ่งเป็น 6 สี

  • ลิ้นสีแดงอ่อน – พบในคนปกติ หรืออาการป่วยยังเบา
  • ลิ้นสีขาวซีด – ลมปราณ(ชี่)และเลือดพร่อง หยางพร่อง
  • ลิ้นสีแดง — มีอาการร้อนแกร่ง หยินพร่องเกิดไฟ
  • ลิ้นสีแดงเข้ม — มีความร้อนอยู่ภายใน มีอาการหยินพร่อง
  • ลิ้นสีม่วง — ลมปราณ(ชี่)และเลือดไหลเวียนไม่คล่อง

การดูรูปร่างลักษณะของลิ้น

  • ลิ้นหยาบ — ผิวลิ้นหยาบด้าน สีลิ้นค่อนข้างคล้ำ แสดงว่าอาการป่วยเป็นอาการแกร่ง ภูมิต้านทานยังดีอยู่
  • ลิ้นอ่อน — ผิวลิ้นละเอียด ลิ้นบวม สีซีดอ่อน แสดงว่าอาการป่วยเป็นอาการพร่อง เช่นเลือดลมน้อย พลังหยางน้อย
  • ลิ้นบวมใหญ่ — ลิ้นบวมใหญ่และหนา เวลาแลบลิ้นจะเต็มปาก แสดงว่ามีความชื้นสะสมอยู่ภายใน
  • ลิ้นเล็กบาง — ลมปราณ(ชี่)และเลือดน้อย หยินพร่องเกิดไฟ
  • ลิ้นมีจุดแดงหรือเป็นจุดเหมือนหนามเล็กๆนูนอยู่บนลิ้น — อวัยวะภายในมีความร้อนอยู่มาก หรือในชั้นเลือดมีความร้อนอยู่มาก
  • ลิ้นมีรอยแตก — มีความร้อนมาก หยินน้อย เลือดน้อย ม้ามพร่อง
  • ลิ้นมีรอยหยักของฟัน — ม้ามพร่อง ภายในร่างกายมีความชื้นมาก

การดูลักษณะการเคลื่อนไหวของตัวลิ้น

  • ลิ้นอ่อนแรง —ชี่และเลือดพร่อง หยินพร่อง
  • ลิ้นแข็งทื่อ —ความร้อนเข้าสู่เหยื่อหุ่มหัวใจ หรือมีไข้สูง หรือมีลมและเสมหะอุดตันอยู่ที่เส้นลมปราณลั่ว
  • ลิ้นเอียงเฉ —มักเป็นอาการล่วงหน้าหรือพบในผู้ที่มีเส้นเลือดสมองตีบ หรือเส้นเลือดสมองแตก
  • ลิ้นสั่น —เป็นอาการเกิดลมในตับ หรืออาจเกิดจากหยินพร่อง เลือดน้อย หยางแกร่ง มีความร้อนมาก

การอ่านตัวลิ้น นอกจากดูผิวลิ้น ลักษณะของลิ้นแล้ว ยังสามารถดูเส้นเลือดที่อยู่ใต้ลิ้นได้อีก ถ้าเส้นเลือดใต้ลิ้นใหญ่ยาว มีสีแดงเข้ม หรือสีเขียว หรือสีม่วง หรือสีดำ ล้วนสะท้อนให้เห็นว่ามีเลือดคั่งอยู่ภายในแต่ถ้าเส้นเลือดใต้ลิ้นสั้นและเล็ก สีของตัวลิ้นก็ซีดขาว แสดงว่าลมปราณ(ชี่)และเลือดน้อย

การดูลักษณะของฝ้าบนลิ้นมีดังนี้

  • ฝ้าบาง — พบในคนปกติ หรืออาการป่วยที่ยังอาการเบา
  • ฝ้าหนา — มีความชื้นสะสมอยู่ในร่างกาย อาหารตกค้าง หรือร้อนใน
  • ฝ้าชื้น — พบในคนปกติ หรืออาการป่วยที่ยังไม่ลุกลามถึงระบบน้าในร่างกาย เช่น ไข้หวัดจากลมหนาว อาหารไม่ย่อย เลือดคั่ง
  • ฝ้าแห้ง — อาการป่วยลุกลามถึงระบบน้ำในร่างกาย เช่น มีไข้สูง อาเจียน ถ่ายท้อง
  • ฝ้าเหนียว — มีความชื้นสะสมอยู่ภายใน
  • ฝ้าร่อน — ฝ้าหนา แต่เมื่อขูดจะหลุดร่อนง่าย แสดงถึงอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ มีเสมหะสะสมอยู่ภายใน
  • ฝ้าหลุดลอก — ฝ้าบนลิ้นหลุดลอกเป็นบางบริเวณหรือทั่วลิ้น บริเวณที่ฝ้าหลุดลอกไป จะเห็นตัวเนื้อลิ้นเกลี้ยงไม่มีฝ้า แสดงถึงชี่ที่กระเพาะอาหารน้อย หยินในกระเพาะอาหารมีน้อยขาดแคลน ชี่และเลือดพร่อง ร่างกายอ่อนแอ
  • ฝ้าเต็มลิ้น — มีความชื้น เสมหะติดขัดอยู่ภายใน
  • ฝ้าไม่เต็มลิ้น — ฝ้ามีอยู่บางส่วนของลิ้น เช่น มีฝ้าอยู่เพียงบริเวณปลายลิ้น หรือโคนลิ้น หรือส่วนซ้าย หรือส่วนขวาของลิ้น ส่วนใดของลิ้นมีฝ้าแสดงว่าอวัยวะที่สังกัดบริเวณมีอาการผิดปกติ เช่น มีฝ้าอยู่บริเวณด้านข้างของลิ้น แสดงให้เห็นว่ามีความชื้นร้อนอยู่บริเวณตับและถุงน้ำดี
  • ฝ้าจริง — ฝ้าขึ้นจากตัวลิ้น ขูดออกยาก เมื่อขูดออกแล้วจะมีรอยฝ้าอยู่ เห็นผิวลิ้นได้ไม่ชัดเจน ถ้าป่วยเป็นเวลานาน ฝ้าลิ้นเป็นฝ้าจริง แสดงว่าพลังชี่ที่กระเพาะอาหารยังมีอยู่
  • ฝ้าหลอก — ฝ้าไม่ติดกับตัวลิ้นนัก เหมือนทาอยู่บนผิวลิ้น ฝ้าขูดลอกออกง่าย และเห็นผิวลิ้นชัดเจน ถ้าป่วยเป็นเวลานาน ฝ้าลิ้นเป็นฝ้าหลอก แสดงว่าอาการป่วยน่าวิตก

ลิ้น2

การดูสีของฝ้า สีของฝ้าแบ่งเป็นหลักๆได้ 3 สี คือ สีขาว สีเหลือง และสีเทาดำ

  • ฝ้าสีขาว — สามารถพบได้ในคนปกติ และในกลุ่มอาการภายนอก(เปี่ยวเจิ้ง) อาการหนาวเย็น มีความชื้นอยู่ภายใน และกลุ่มอาการร้อน
  • ฝ้าสีเหลือง — มักพบในกลุ่มอาการร้อน และเป็นอาการป่วยอยู่ภายใน
  • ฝ้าสีเทาดำ — บอกถึงมีความหนาวเย็นหรือมีความร้อนอยู่ภายในมาก

การดูลิ้นต้องดูทั้งตัวลิ้นและฝ้าบนลิ้นควบคู่กันไป เช่น ลิ้นแดง ฝ้าเหลืองและแห้ง บ่งบอกถึงมีอาการร้อนแกร่ง ถ้าลิ้นแดงและผอม มีฝ้าน้อยหรือไม่มีฝ้า บ่งบอกถึงมีหยินพร่องและมีความร้อนอยู่ภายใน ถ้าลิ้นม่วง ฝ้าขาวเหนียว บ่งบอกถึงชี่และเลือดไหลเวียนติดขัด มีเสมหะหรือความชื้นสะสมอยู่ภายใน

จากข้างต้น เราได้อธิบายลักษณะการดูลิ้นให้ท่านได้ทราบกันแล้ว ทั้งนี้ลักษณะลิ้นที่ปกติควรเป็นอย่างไร เรามาเฉลยกันค่ะ ลักษณะลิ้นที่ปกติคือ ตัวลิ้นอ่อน เคลื่อนไหวได้คล่อง สีลิ้นเป็นสีแดงอ่อน และมีความชุ่มชื้นพอเหมาะ ฝ้าบนลิ้นบางขาวและกระจายทั่วลิ้น รู้เช่นนี้แล้ว หมั่นตรวจสุขภาพลิ้นกันนะค่ะ และขอให้ทุกท่านมีสุขภาพลิ้นแข็งแรงค่ะ

ขอบคุณที่มาและรูปภาพจาก : คณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ




Create Date : 27 ตุลาคม 2557
Last Update : 27 ตุลาคม 2557 10:03:14 น. 1 comments
Counter : 2254 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:15:52:34 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.