อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ปรับพฤฒิกรรมเสี่ยงเลื่ยง ออฟฟิคซินโดรม


การดำเนินชีวิตของคนในสังคมเมือง มีการแข่งขันกันสูงมากขึ้น ทำให้คนเรามองข้ามการดูแลสุขภาพร่างกาย แพทย์ชี้ 10 เปอร์เซ็นต์ของคนเมือง มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นออฟฟิศซินโดรมเพิ่มขึ้น

นายแพทย์อดุลย์ บัณฑุกุล รองผู้อำนวยการด้านอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า คนส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดว่า ออฟฟิศซินโดรมเป็นโรค และเวลาพูดถึงออฟฟิศซินโดรม คือคนที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเน้นหนักในเรื่องท่าทางการทำงาน แต่ที่จริงแล้วออฟฟิศซินโดรมนั้นเป็นกลุ่มของอาการที่เกิดจากโรคหลายชนิด มีสาเหตุมาจากอากาศในออฟฟิศ กระบวนการทำงาน ท่าทางการทำงาน เครื่องมือที่มีอยู่ในออฟฟิศ เป็นต้น

ความเป็นจริงออฟฟิศซินโดรมเกิดจากหลายปัจจัย เช่น อากาศที่อับทึบ การระบายอากาศไม่ดีทำให้มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งค้าง ส่งผลให้เกิดอาการปวดมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน หากแสงสว่างจ้าเกินไป หรือมีแสงสะท้อนจากหน้าจอจนเกิดอาการแสบตาต้องหยีตา ปวดกล้ามเนื้อตา จะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และหากแสงสว่างน้อยเกินไป

คนที่สายตายาวหรือสายตาสั้นต้องเพ่งตามากขึ้นจะส่งผลให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อตาเช่นกัน รวมทั้งการมีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องถ่ายเอกสารภายในสำนักงานมากจะส่งผลให้มีสารเคมีในห้องเพิ่มขึ้น เพราะนอกจากคาร์บอนไดออกไซด์จากตัวคนทำงานแล้ว ยังมีสารระเหยบางประเภททำให้มีอาการแสบตา แสบจมูก แสบคอ ไอ แน่นหน้าอก

นอกจากนี้สารเคมีเหล่านี้ยังเกิดโรคผื่นคันตามตัวอีกด้วย โดยเฉพาะถ้ามีใครในออฟฟิศสูบบุหรี่ ก็จะยิ่งเกิดมลพิษในห้องมากขึ้น ด้วยเหตุนี้พนักงานออฟฟิศจึงต้องไปพบแพทย์บ่อยครั้งด้วยเรื่องเจ็บคอและเป็นหวัด สาเหตุสำคัญมาจากพฤติกรรมการทำงาน คือ มีอิริยาบถในการทำงานไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน าทิ การนั่งหลังค่อม การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน โดยไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถ และยังส่งผลให้เกิดความเครียดสะสม สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ และปวดเมื่อยตามอวัยวะต่างๆ อาทิ หลัง ไหล่ บ่า แขน หรือข้อมือและสายตา โดยท่าทางการทำงานที่ถูกวิธี คือ เวลานั่งพิมพ์งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ควรนั่งเก้าอี้ที่มีพนักพิง มีที่รองแขน เท้าสามารถแตะพื้นได้ หลังสามารถพิงลงไปโดยตัวอยู่ในท่านั่ง หลังตรง คอตรง มองตรง

นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องพักสายตา คือมองไปทางอื่นเป็นระยะหลังทำงานสักพักหนึ่ง และบางคนจะทำงานเพลินจนลืมกระพริบตาทำให้ตาแห้ง เมื่อทำงานสัก 15 นาที ถึงครึ่งชั่วโมง ควรมีการยืนขึ้น บิดหรือเหยียดตัวเพื่อแก้อาการเมื่อย และควรปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊คทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน เพื่อลดระยะเวลาในการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และถ้ามีความจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จะต้องเงยหน้าขึ้นมองออกไปไกลๆ ทุก 20 นาที เพื่อบรรเทาความเมื่อยล้าของสายตา และควรหาต้นไม้ในร่ม มาปลูก เพื่อช่วยดูดซับสารพิษและเป็นที่พักสายตาที่อ่อนล้า

ดังนั้น เพื่อป้องกันกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม ควรปรับพฤติกรรม ลดความเครียดจากการทำงานให้มีความพอดี รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายและตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงส่ง ผลให้งานออกมามีประสิทธิภาพตามไปด้วย


ขอขอบคุณบทความจาก สสส.




Create Date : 11 กันยายน 2557
Last Update : 11 กันยายน 2557 5:06:57 น. 1 comments
Counter : 1195 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:14:47:06 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.