อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
รุ้ไหมว่า...ทําไมหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หลายคนอาจจะไม่คุ้นกับโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ แต่เชื่อแน่ว่าหลายคนคงคุ้นกับชื่อโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ แล้วรู้หรือไม่ว่าอาการดังกล่าวเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร ส่งผลร้ายแรงต่อหัวใจและชีวิตแค่ไหน หาคำตอบเรื่องของหัวใจเหล่านี้ได้จาก “ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร” นักวิทยาศาสตร์ดีเด่นปีล่าสุดและเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องไฟฟ้าของหัวใจรายแรกของไทย

 

แบบจำลองหัวใจที่ติดตั้งอุปกรณ์ช็อคหัวใจ

 


ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ ฉัตรทิพากร ประธานกรรมการบริหารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมสาขาโรคทางไฟฟ้าของหัวใจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่าหัวใจเป็นอวัยวะที่มีการทำงานของไฟฟ้าเยอะมาก และเมื่อเกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Heart Attrack) ผู้ป่วยมักเสียชีวิต โดยสาเหตุของการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงของหัวใจ

การเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงของหัวใจนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเนื่องจากหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ซึ่ง ศ.นพ.ดร.นิพนธ์ กล่าวว่า เส้นเลือดหัวใจที่มักพบการอุดตันบ่อยคือหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจห้องล่างซ้าย เมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดไม่พอ ผิวกล้ามเนื้อหัวใจมักมีการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า สร้างไฟฟ้าขึ้นเอง ทำให้หัวใจเต้นอย่างผิดจังหวะ และบีบตัวไม่ได้ ทำให้หมดสติเพราะเลือดสูบฉีดไปสมองไม่ได้

“สมองเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบเร็วที่สุดเพราะเป็นส่วนที่ขาดเลือดไปเลี้ยงได้ในเวลาที่สั้นมาก เมื่อเลือดไม่ได้เลี้ยงสมองทำให้ผู้ป่วยหมดสติ และไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงมักเสียชีวิตในเวลา 2-3 นาที อาการเดียวกันนี้ยังพบได้ในคนที่ถูกไฟฟ้าดูดรุนแรง ซึ่งผู้ถูกไฟฟ้าดูดไม่ได้เสียชีวิตเนื่องจากได้รับกระแสไฟฟ้าแต่เสียชีวิตเนื่องจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ” ศ.นพ.ดรนิพนธ์

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางไฟฟ้าของหัวใจกล่าวอีกว่า ทราบกันมาเป็นเวลา 100 ปีแล้วว่าเมื่อหัวใจหยุดเต้นหรือเต้นผิดจังหวะ จะต้องใช้ไฟฟ้าแรงสูงชาร์จกระตุ้นหัวใจ แต่ปัญหาคือเราไม่ทราบว่าหัวใจจะเต้นผิดจังหวะเมื่อไร จึงต้องฝังอุปกรณ์เครื่องช็อคหัวใจแบบอัตโนมัติในตัวผู้ป่วย เครื่องดังกล่าวจะวัดการเปลี่ยนแปลงไฟฟ้าในหัวใจ เมื่อพบความผิดปกติก็จะชาร์จไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจ

นอกจากนี้ในการชาร์จหัวใจจากภายนอกด้วยไฟฟ้าแรงสูง แม้ผู้ป่วยจะฟื้นหรือรอดตายจากอาการหัวใจหยุดเต้น หัวใจก็ได้รับความเสียหายจากการกระตุ้น ศ.นพ.ดร.นิพนธ์จึงทำวิจัย เพื่อหาวิธีที่จะลดความแรงของไฟฟ้าที่ใช้ชาร์จหัวใจ หนึ่งในงานวิจัยที่กำลังศึกษาอยู่คือ การศึกษาผลจากยาบางชนิดต่อการลดความแรงไฟฟ้าในการชาร์จหัวใจ ซึ่งผู้ปวยโรคหัวใจมักมีโรคเบาหวานร่วมด้วย และพบว่ายาเบาหวานบางตัวสามารถลดความแรงไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจลงได้ 30% แต่ยาบางอย่างกลับไปเพิ่มความแรงในการกระตุ้นหัวใจได้ รวมถึงโอเมกา 3 และกระเทียมก็มีส่วนช่วยลดโอกาสการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ซึ่งทั้งหมดกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา

 

ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์

 


สำหรับ ศ.นพ.ดร.นิพนธ์นั้นเพิ่งได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2555 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับ ศ.ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล

ขอบคุณที่มา ภาพและข่าวจากผู้จัดการออนไลน์




Create Date : 25 กันยายน 2557
Last Update : 25 กันยายน 2557 11:51:26 น. 2 comments
Counter : 1143 Pageviews.

 


โดย: teawpretty วันที่: 29 กันยายน 2557 เวลา:19:45:34 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:14:54:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.