อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
ปวดหลัง จากการขับรถ ทํางัยดี

หลายคนคงเป็นเหมือนกัน นั่นก็คืออาการ ปวดหลัง จากการขับรถ เพราะสมัยนี้รถบนท้องถนนก็มากขึ้น ทำให้ช่วงเวลาที่เราต้องขับรถเดินทางทั้งไปและกลับบ้านนั้น ยาวนานขึ้น ส่งผลให้มีความรู้สึก ปวดหลัง ขึ้นมา หรืออาจจะเป็นอาการปวดจากการขับรถทางไกลไปต่างจังหวัด เราจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร…

139593840(1)

1. ไม่ควรให้ร่างกายค้างอยู่ท่าเดียวนานๆ เพราะจะทำให้เกิดอาการปวดขึ้นมา หรือหากจำเป็นต้องอยู่ท่าเดิมนานๆ นั้นควรจะอยู่ในท่าที่เรารู้สึกสบาย

2. ไม่ควรให้หลังของเรานั้น อยู่ในท่าโค้งหรือมีการบิดตัว เพราะท่าแบบนี้ กล้ามเนื้อและเอ็นด้านหลังจะถูกยืดนานๆ หมอนรองกระดูกสันหลังจะมีแรงกดมากกว่าในท่านั่งหลังตรงหรือท่ายืนตรง เพราะฉะนั้นการนั่งควรยืดหลังให้ตรง

3. สำหรับคอ ไม่ควรก้มหรือเงยมากเกินไป เพราะจะทำให้ส่วนบ่าและไหล่ ทำงานหนักมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลไปถึงอาการปวด

4. ควรพักผ่อนสายตาเมื่อรู้สึกอ่อนล้าและลดอาการเครียด เนื่องจากความเมื่อยล้าของสายและความเครียดนั้นมีผลต่ออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ

การปรับเบาะขณะขับรถควรปรับให้เหมาะสมและตรวจดูความเหมาะสมของอุปกรณ์เหล่านี้ ทุกครั้งก่อนขับรถ โดยอาศัยหลักการดังต่อไปนี้

1. ปรับระยะนั่งใกล้ ไกล

โดยให้ขาเหยียบคันเร่งพอดีและสามารถขยับเท้ามาเหยียบเบรกได้ง่ายและรวดเร็ว และระยะห่างนี้ต้องไม่ทำให้เข่าและสะโพกงอมากนัก เพราะการงอมากของเข่าและสะโพกจะทำให้กระดูกข้อเท้าลำบากทำให้ต้องยกขาเมื่อต้องขยับเท้าไปมา ขณะเดียวกันการเหยียดขามากไปจะทำให้ตัวและขาอยู่ในรูปคล้ายตัวแอล ซึ่งมีผลต่อการเหยียบเบรกและคันเร่งเช่นกัน คือแรงจะลดลง เพราะสามารถใช้ปลายเท้าเหยียบได้เท่านั้น ไม่สามารถใช้แรงจากเข่าและสะโพกได้ ร่างกายที่อยู่ในรูปตัวแอล จะมีผลทำให้หลังส่วนล่างโค้งมาก และเส้นประสาทสันหลังและขาตึงตัวมาก จะมีผลเสียคือ กล้ามเนื้อล้าง่าย ด้านหน้าของหมอนรองกระดูกมีแรงกดมากทำให้หมอนรองกระดูกมีโอกาสปลิ้นไปด้าน หลังสูง ท่านั่งนี้จึงทำให้เกิดอาการ ปวดหลัง ได้ง่าย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงท่านั่งนี้ ที่เราอาจพบได้บ่อยในผู้ที่ใช้เก๋งเตี้ยๆ

2. การปรับความเอียงของเบาะพิงหลัง

จะมีความสัมพันธ์กับการปรับใกล้ไกล มุมการมอง และการจับพวงมาลัย คือเมื่อปรับขาให้พอดี ตัวอาจจะห่างไป ทำให้ต้องปรับเบาะพิงชันขึ้นมา แต่การปรับเบาะชันขึ้นมาอาจมีผลทำให้หลังและขาเป็นรูปคล้ายตัวแอลดังข้อ 1 แต่ก็มีข้อดีเมื่อตัวตั้งตรงคือ ทำให้ไม่ต้องงอคอมากนัก บ่าและคอจึงไม่เมื่อย ดังนั้นความเอียงของเบาะควรอยู่ในระดับที่เมื่อขับรถแล้ว ไม่มีความรู้สึกว่าต้องใช้แรงในการยกคอและศีรษะขึ้นมาตั้งตรง

3. ปรับการเอียงของเบาะนั่ง

มีความจำเป็นอีกเช่นกัน เพราะหากเบาะนั่งให้มีการชันตัวมาก จะมีผลทำให้เกิดการกดของด้านหน้าของเบาะต่อด้านหลังเข่าของผู้ขับขี่ ซึ่งด้านหลังเข่านี้ มีหลอดเลือดและเส้นประสาทจำนวนมาก หากมีการกดทับจะทำให้เกิดอาการชา และอ่อนแรงของขาได้ ดังนั้นควรปรับให้เบาะด้านหน้าสูงพอที่ระรับน้ำหนักขาได้ โดยที่ขาไม่ลอยสูงจากเบาะ แบบลักษณะเข่าชัน และเมื่อขับรถและมีการกดคันเร่งค้างนานๆ ด้านหน้าของเบาะต้องไม่กดหลังเข่า

4. ปรับความสูงต่ำของเบาะ

โดยเฉพาะรถใหม่ๆ มักจะสามารถปรับได้ หลายๆ คนอาจมองว่าไม่เกิดประโยชน์ เพราะตัวสูงอยู่แล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้วผู้ที่ตัวสูงก็ต้องใช้ เพราะถ้าเบาะเตี้ยจะทำให้ต้องปรับเบาะรถห่างจากพวงมาลัยมากขึ้นส่งผลต่อการ งอของหลัง การปรับเบาะรถให้สูงขึ้นจะมีผลทำให้ท่านั่งขับรถคล้ายกับการนั่งเก้าอี้มาก ขึ้น ดังเห็นได้จากรถตู้หรือรถ MPV ที่มักต้องนั่งขับในท่าหลังตรงๆ และแน่นอนท่านี้ศีรษะและคอก็จะอยู่ในแนวตรง ไม่จำเป็นต้องงอคอขึ้นมา และในผู้ที่ตัวไม่สูง ก็สามารถ ปรับความสูงของเบาะเพื่อให้เหยียบถนัดขึ้น

5. ปรับมุมของพวงมาลัย จะขึ้นอยู่กับการปรับเบาะต่างๆ ด้วย

ให้ปรับทุกอย่างเสร็จแล้วค่อยมาปรับพวงมาลัย แต่ถ้าปรับพวงมาลัยสุดแล้วยังรู้สึกไม่พอดี ต้องปรับจากข้อ 1 ถึง 4 ใหม่อีกครั้ง ตำแหน่งและระยะการจับพวงมาลัยมีความสำคัญมาก เพราะมีผลต่อการควบคุม พวงมาลัยของรถทำให้บังคับรถได้ง่ายหรือยากได้ ระยะและระดับที่เหมาะสมคือ ระยะที่เมื่อวางมือแล้ว สามารถหมุนพวงมาลัยได้คล่อง ไม่มีการติดขัดหรือมีความรู้สึกว่าต้องเอื้อม ขณะเดียว กัน กล้ามเนื้อบ่าและไหล่ต้องไม่เกร็งเพื่อที่จะถือแขนให้อยู่กับพวงมาลัยนานๆ

6. การปรับระยะพวงมาลัยเข้าใกล้หรือไกล

รถรุ่นใหม่ๆ อาจสามารถปรับระยะใกล้ หรือไกลของพวงมาลัยได้ คือเราสามารถดึงพวงมาลัยเข้าใกล้หรือผลักออกไปไกลได้ การปรับนี้มีข้อดี ที่เมื่อปรับระยะใกล้ ไกล และปรับพนักพิงแล้ว อาจทำให้แขนต้องเอื้อมจับหรือแขนอยู่ชิดพวงมาลัยมากเกินไป การปรับนี้จะช่วยให้เราสามารถจับพวงมาลัยได้ถนัดขึ้น

7. ปรับกระจกส่องข้างและหลัง

จะเป็นการปรับหลังสุด หลังจากปรับส่วนอื่นๆ เสร็จแล้ว โดยยึดหลักการที่ว่า เมื่อนั่งโดยไม่ต้องขยับศีรษะหรือโยกตัวเราสามารถมองเห็นในจุดที่เราต้องการ ได้ หากการมองยังมีจุดบอดแสดงว่าอาจต้องใช่อุปกรณ์ เสริม เช่น ติดกระจกส่องหลังบานใหญ่ขึ้น หรือกระจกโค้ง เพื่อให้เห็นได้ครอบคลุมขึ้น แต่อาจมีผลเรื่องการกะระยะบ้างเพราะภาพจากประจกโค้งจะหลอกตา

เทคนิคที่กล่าวมานั้นควรอยู่ภายใต้ความปลอดภัยในการขับขี่ด้วย หากปรับให้สบายตัว แต่ไม่ปลอดภัยก็ไม่ถือว่าเป็นการปรับที่ดี ที่สำคัญในการปรับนั้น ควรปรับเมื่อรถอยู่นิ่ง ไม่ควรปรับเมื่อรถวิ่งอยู่ โดยเฉพาะการเลื่อนเบาะและปรับมุมพนักพิง ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อการขับขี่ได้ค่ะ
www.nederlandsegokken.nl

ขอบคุณที่มาจาก : //www.womanplusmagazine.com




Create Date : 05 มกราคม 2558
Last Update : 5 มกราคม 2558 9:03:31 น. 1 comments
Counter : 923 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:16:30:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.