อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
โอเมเก้ 3 ในปลา ก็มีโทษ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.พญ.ปรียานุช แย้มวงศ์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ บอกว่า น้ำมันปลาเริ่มเป็นที่สนใจมาประมาณ 30 ปี เมื่อมีข้อมูลว่าชาวเอสกิโม ที่บริโภคปลาในปริมาณสูง จะมีปัญหาเส้นเลือดอุดตันน้อย ระดับไขมันในเลือดต่ำ และการเกาะตัวของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์กซึ่งกิน เนื้อสัตว์มากกว่า นอกจากนี้ ยังพบว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านชาวประมง ที่บริโภคปลาในปริมาณมาก จะมีโรคหลอดเลือดหัวใจ การเกาะตัวของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดน้อยกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านเลี้ยงสัตว์


กลุ่มกรดไขมันที่เรียกว่า โอเมก้า 3 คือ ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดหนึ่ง พบมากในปลาทะเลน้ำลึก เป็นไขมันจำเป็น ต้องได้รับจากอาหารเนื่องจากร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้สารอาหารที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ อีพีเอ และ ดีเอชเอ ปลาทะเลน้ำลึก ที่ให้สารอาหารโอเมก้า 3 ได้แก่ ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน และปลาทูน่า ปลาในอ่าวไทย ที่มีปริมาณโอเมก้า 3 สูง ได้แก่ ปลาทู และที่มีในปริมาณน้อย ถึงปานกลาง ได้แก่ ปลาอีกา ปลากะพง ปลาตาเดียว ส่วน ปลาน้ำจืดบางชนิด เช่น ปลาช่อน ปลานวลจันทร์ จะพอมีโอเมก้า 3 บ้าง ซึ่งมากกว่าปลาน้ำจืดอื่น ๆ

สำหรับความสำคัญของโอเมก้า 3 ในเด็ก กรด DHA มีความสำคัญต่อการเจริญพัฒนาสมองและดวงตาของเด็กทารก โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนก่อนคลอด การขาดของ DHA จะมีความสัมพันธ์กับโรคสมาธิสั้น โดยเด็กที่มีระดับ DHA ต่ำจะมีปัญหาด้านพฤติกรรม อารมณ์ การนอนและการเรียนรู้มากกว่าเด็กกลุ่มที่มีระดับ DHA ปกติ และเมื่อได้รับ DHA เสริม อาการต่าง ๆ จะดีขึ้น

ส่วนความสำคัญของโอเมก้า 3 ในผู้ใหญ่และคนสูงอายุ จะช่วยลดระดับไตรกลี เซอไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับไขมันชนิดดีซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดได้ ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น ช่วยลดความดันโลหิตได้เล็กน้อย ลดอุบัติการของโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันโรคความจำเสื่อม ชะลอหรือป้องกันการเจริญของเซลล์มะเร็ง

นอกจากโอเมก้า 3 แล้ว ปลายังเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย และในปลาทะเลยังมีไอโอดีน ซึ่งช่วยป้องกันปัญหาเรื่องคอพอก และช่วยการเจริญพัฒนาของสมองเด็กในช่วงปีแรกด้วย

ข้อควรระวังในการกินโอเมก้า 3 เนื่องจากน้ำมันปลาลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นการกินปลาในปริมาณมากต่อเนื่องกัน หรือกินผลิตภัณฑ์เสริมอาหารน้ำมันปลา จะทำให้มีปัญหาเรื่องเลือดออกหยุดยากโดยเฉพาะหากกินร่วมกับยาต้านเกล็ดเลือด เช่น แอสไพรินหรือโคลพิโดเกรล

หากกินปลาทะเลมากกว่า 8 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากจะมีปัญหาเรื่องเลือดหยุดยากแล้ว ยังจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลงด้วย สิ่งที่ควรระวังอีกอย่างในการบริโภคปลาทะเลปริมาณมาก คือ การปนเปื้อนโลหะหนัก โดยเฉพาะสารปรอท ดังนั้นหากบริโภคมากเกินไป จะเกิดการสะสมและเป็นพิษได้.


ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลโดย นิตยสารสยามดารา




Create Date : 14 ตุลาคม 2557
Last Update : 14 ตุลาคม 2557 7:51:31 น. 2 comments
Counter : 1129 Pageviews.

 
สวัสดีค่า คุณหนึ่งหน่อง ^^
มาอ่านเรื่องราวดีๆค่ะ

ปกติชอบปลาน้ำลึก
แต่ก็ไม่ได้ทานบ่อยเท่าไหร่
คงไม่เป็นไร T T

ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่า



โดย: lovereason วันที่: 15 ตุลาคม 2557 เวลา:0:15:05 น.  

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:15:05:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.