อ่านเรื่อยๆ มาเรียง ๆ ทุกวันของ หนี่งหน่อง นะครับ
การฝังเข็มรักษาอาการ ปวดประจําเดือน

ความรู้เบื้องต้นของอาการ ปวดประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือนเริ่มพบตั้งแต่วันที่มีประจำเดือนครั้งแรกในชีวิต คือ อายุประมาณ 12 ปีขึ้นไป โดยร้อยละ 50 ของเด็กหญิงจะมีอาการปวดท้องเล็กน้อย และร้อยละ 40 มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ขณะที่ร้อยละ 10 เป็นอาการปวดที่เกิดจากภาวะผิดปกติในช่องท้อง อาทิ เนื้องอก ผังผืดในมดลูก เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ และมะเร็ง
เป็นต้น

ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง แต่ก็เป็นที่น่ารำคาญ และทรมานไม่น้อยเลยทีเดียวสำหรับผู้ป่วยบางคน สาเหตุของอาการ ปวดประจำเดือน นั้น เข้าใจว่าเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศในช่วงมีประจำเดือน ทำให้มีการคั่งของเลือดภายในมดลูก รังไข่ และผนังอุ้งเชิงกราน

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือน

ผู้ป่วยจะมีอาการปวดเริ่มต้นบริเวณท้องน้อย ปวดร้าวไปยังบริเวณบั้นเอว ส่วนใหญ่มักปวดในช่วงก่อนประจำเดือนจะมาสัก 1-2 วัน และปวดอยู่ตลอดในช่วงที่ยังมีประจำเดือนอยู่ จนกระทั่งประจำเดือนหยุด อาการปวดจึงค่อยทุเลาหายไป อาการปวดจะกำเริบทุกเดือนคล้าย ๆ กัน ความรุนแรงของอาการปวดในผู้ป่วยแต่ละรายอาจแตกต่างกันไป บางรายปวดแค่หน่วง ๆ พอทนได้ บางคนต้องกินยาแก้ปวดร่วมด้วย และบางรายปวดรุนแรงมากจนไม่สามารถไปทำงานได้ หรือมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น

การรักษาอาการ ปวดประจำเดือน โดยทั่วไป

อาศัยการประคบอุ่นบริเวณท้องน้อย รับประทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการเป็นครั้งคราว ในรายที่รุนแรง อาจต้องใช้ยาฮอร์โมนเพศรักษา ซึ่งก็ยังได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร

ทำไมถึงแนะนำการฝังเข็มมากกว่าการทานยา

เพราะการใช้ยาที่ออกฤทธิ์กดสมองส่วนกลางไม่ให้รู้สึกถึงความปวดที่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถทำให้การไหลเวียนของเลือดสะดวกขึ้น ดังนั้น เมื่อหมดฤทธิ์ยาก็จะกลับมาปวดอีก ทำให้ต้องทานยาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาแก้ปวด ขณะที่การฝังเข็มจะช่วยกระตุ้นการทำงานของจุดต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก มดลูกคลายตัวจากการบีบรัดโดยไม่ต้องใช้ยา

การฝังเข็มช่วยลดอาการ ปวดประจำเดือน ได้อย่างไร

ในด้านการแพทย์ทางเลือกนั้นเราสามารถใช้การฝังเข็มมารักษาอาการ ปวดประจำเดือน ได้ เนื่องจากการฝังเข็มมีฤทธิ์ปรับการทำงานของฮอร์โมนเพศภายในร่างกายให้กลับสู่สภาพสมดุล ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีมดลูกและรังไข่อยู่ภายในให้ไหลเวียน ดีขึ้น ลดการคั่งของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อผนังมดลูกและรังไข่คลายตัว จึงช่วยลดอาการ ปวดประจำเดือน ได้ กระทั่งทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งสามารถหายเป็นปกติได้

AcupuncturePain-1

บริเวณจุดสำคัญและขั้นตอนหลัก ที่ใช้ในการฝังเข็มเพื่อบรรเทาอาการ ปวดประจำเดือน

ในการรักษานั้น แพทย์จะใช้เข็มเล็กๆ ปักกระตุ้นจุดรับสัญญาณประสาท บริเวณแขนขาและท้องน้อย กระตุ้นประมาณ 30 นาที โดยทั่วไปจะทำการรักษาในช่วงก่อนประจำเดือนจะมาประมาณ 2 สัปดาห์ กระตุ้นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อยับยั้งมิให้เกิดอาการ ปวดประจำเดือน ขึ้นมาหรือบรรเทาอาการไม่ให้รุนแรง  อย่างไรก็ตาม จำนวนเข็มและจำนวนครั้งในการฝังเข็มรักษานั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค หากอาการปวดเพียงเล็กน้อยใช้วิธีฝังเข็ม 1-2 ครั้ง อาการก็จะดีขึ้น แต่หากเป็นอาการปวดจากโรคร้ายจะต้องรักษาด้วยวิธีการให้ยาปรับฮอร์โมน หรือผ่าตัดส่องกล้อง จึงจะเป็นการดีที่สุด

“ ผลการรักษาอาการ ปวดประจำเดือน ด้วยการฝังเข็มนั้น ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ผู้ที่ต้องการแก้ปัญหา ปวดประจำเดือน จึงสามารถพิจารณาทางเลือกใหม่โดยการฝังเข็มรักษาได้”

การเตรียมตัวของผู้ป่วยก่อนและหลังรับการรักษาด้วยการฝังเข็ม

  • การเตรียมตัวก่อนการรักษา
  • นอนหลับให้เต็มที่ในคืนก่อนมารับการฝังเข็ม
  • ควรรับประทานอาหารก่อนมารับการรักษา แต่อย่าให้อิ่มเกินไป
  • สวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ เพื่อความสะดวกในการฝังเข็ม

ระหว่างการปักเข็มผู้ป่วยอาจเกิดความรู้สึกได้ 2 แบบ ดังนี้

  • รู้สึกหนักๆ หน่วง ๆ ตื้อๆ ในจุดฝังเข็มในระหว่างที่เข็มปักคาอยู่
  • มีความรู้สึกเหมือนมีกระแสไฟฟ้าแล่นแปลบๆ   ไปตามเส้นลมปราณ เนื่องจากแพทย์จะปักเข็มไว้ข้างๆเส้นประสาทบางเส้น    เพื่อผลการรักษาที่ดีแพทย์จะปักเข็มไว้ประมาณ 20-30 นาที    โดยอาจกระตุ้นด้วยมือหรือกระแสไฟฟ้า (ไฟฟ้าที่ใช้มีต่างศักย์ต่ำ จึงไม่มีโอกาสเกิดไฟซ๊อตจนเกิดอันตราย)    จากนั้นจะถอนเข็มออก   ในระหว่างการคาเข็ม   ผู้ป่วยต้องพยายามอย่าขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ฝังเข็มเพราะเข็มจะบิดในกล้ามเนื้อ   แม้ไม่เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เจ็บมากขึ้นและมีเลือดออกตอนถอนเข็ม  ผู้ป่วยสามารถขยับตัวได้บ้างเล็กน้อย   พยายามผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะสบายที่สุด   แต่ถ้าหากมีอาการผิดปกติใดๆ   เช่นรู้สึกหวิวๆ    หน้ามืดจะเป็นลม แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก   ให้แจ้งแพทย์ที่รักษาทราบทันที

การดูแลตนเองหลังจากการฝังเข็ม

  • ควรดื่มน้ำอุ่นหลังการฝังเข็ม
  • สำรวจร่างกายตนเองบริเวณฝังเข็ม ถ้ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น  มีเลือดออก มีรอยบวม รู้สึกเจ็บปวด ต้องแจ้งให้แพทย์ที่รักษาทราบทันทีเพื่อแก้ไขให้เป็นปกติก่อนกลับบ้าน
  • งดการอาบน้ำเป็นเวลา 2 ชั่วโมงหลังการฝังเข็ม
  • พักผ่อนให้เต็มที่อีก 1 วัน
  • ถ้ามีไข้ให้รับประทานยาลดไข้ตามปกติ อาการจะหายไปเองภายใน 24-48 ชั่วโมงโดยไม่มีอันตรายใดๆ

ข้อควรระวังในการฝังเข็ม

  • ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ต้องให้การรักษาอย่างระมัดระวัง
  • ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการตรวจรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบัน)
  • ผู้ป่วยโรคเลือดที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด
  • ผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
  • โรคที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างแน่นอน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ ปวดประจำเดือน

1. เมื่อไหร่ถึงจะรู้ว่าผิดปกติ

ตอบ  อาการปวดเป็นมากขึ้นกว่าเดิม จากเดิมปวดพอทำงานได้ ต่อมาอาจจะปวดจนทำงานไม่ไหวจนต้องไปฉีดยา
และต่อมาก็ต้องฉีดยาในปริมาณมากขึ้น หรือจากการรับประทานยาแก้ปวดธรรมดา ก็ต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้น
หรือต้องพึ่งยาแรงขึ้น ครับ

2. การฝังเข็มช่วยอาการ ปวดประจำเดือน ได้และสามารถหายขาดได้หรือเปล่า

ตอบ  ฝังเข็มมีฤทธิ์ปรับการทำงานของฮอร์โมนเพศภายในร่างกายให้กลับสู่สภาพสมดุล ช่วยกระตุ้นการไหลเวียน
ของเลือดในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งมีมดลูกและรังไข่อยู่ภายในให้ไหลเวียน ดีขึ้น ลดการคั่งของเลือด และทำ
ให้กล้ามเนื้อผนังมดลูกและรังไข่คลายตัว จึงช่วยลดอาการ ปวดประจำเดือน ได้ กระทั่งทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่ง
สามารถหายเป็นปกติได้

3. การรักษาด้วยการฝังเข็มบ่อยๆ จะเป็นอันตรายหรือเปล่าคะ

ตอบ  ไม่เป็นอันตรายครับ

4. การรักษาแต่ละครั้งใช้เวลานานหรือเปล่าคะ

ตอบ   ใช้เวลาต่อครั้งประมาณ 20-30 นาทีครับ แต่บาง case อาจจะต้องดูอาการของคนไข้ว่าเป็นมากน้อยเพียงใด
ประกอบด้วยครับ

5. ในระหว่างมีประจำเดือนสามารถรักษาด้วยวิธีฝังเข็มได้หรือเปล่าคะ

ตอบ   สามารถฝังเข็มก่อนช่วงประจำเดือนมาสัก 2-3 วันก่อน และมาฝังอีกครั้งในช่วงระหว่างมีประจำเดือนครับ
เพราะจะเป็นการบรรเทาอาการปวดให้ลดน้อยลงได้ครับ

บทความโดย พจ. ธีรวัฒน์ ตั้งอร่ามวงศ์
แพทย์แผนจีนและการฝังเข็ม ศูนย์ไลฟ์เซ็นเตอร์ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท
ขอบคุณที่มาจาก : โรงพยาบาลสมิติเวช

c b Sushada.ch Z วิธีรักษาสุขภาพ



Create Date : 16 ธันวาคม 2557
Last Update : 16 ธันวาคม 2557 8:30:42 น. 1 comments
Counter : 1299 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ขิง น้ำมันมะพร้าว ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: สมาชิกหมายเลข 3773459 วันที่: 27 มีนาคม 2560 เวลา:16:22:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนี่งหน่อง
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 33 คน [?]




pub-1485477287124314
Group Blog
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add หนี่งหน่อง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.